ข่าวฟุตบอลโลก

จับตา สมาคมทีวีดิจิทัลฯ ยื่นร้อง กสทช. วันจันทร์นี้ ปมถ่ายบอลโลก

สมาคมทีวีดิจิทัล เตรียมยื่น กสทช. วันจันทร์นี้ ไม่เห็นด้วย ทรูถ่ายบอลโลก 32 คู่จาก 64 คู่ แถมเลือกคู่ก่อน แม้สนับสนุนค่าลิขสิทธิ์ 300 ล้าน แต่ กสทช. ก็จ่าย 600 ล้านบาท

จากกรณี ปัญหาการแบ่งคู่ถ่ายทอดสดศึกฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน โดยล่าสุดภายหลังจากการประมูลลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดมาให้คนไทยได้รับชมครบทั้ง 64 แมตช์ได้ไม่นาน ต่อมาประเด็นความไม่ลงตัวในการแบ่งคู่ถ่ายทอดสดการแข่งขันผ่าน 17 ช่องสถานีโทรทัศน์ ที่จะแบ่งกันถ่ายทอดสดก็มีเรื่องให้ต้องมาถกกันอีกครั้ง

โดยเมื่อวันที่ 19 พ.ย.65 ที่ผ่านมา นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการสมาคมทีวีดิจิทัล และที่ปรึกษา บริษัท เนชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เคลื่อนไหวผ่านบัญชีโซเชียล ระบุ วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2565 สมาคมทีวีดิจตอลตัวแทนสมาคมทีวีดิจิทัลฯจะไปยื่นหนังสือกับกสทช.เพื่อวินิจฉัยการดำเนินการของกกท.ว่าผิดไปจากเจตนารมณ์ของมติกสทช.ที่เน้นการเผยแพร่อย่างทั่วถึงหรือเท่าเทียมหรือไม่

ก่อนหน้านี้ นายอดิศักดิ์ ในฐานะกก.สมาคมทีวีดิจิตอล ได้โพสต์เฟซบุ๊กกล่าวถึงสาเหตุที่ต้องไปยื่นเรื่องร้องเรียนครั้งนี้ว่า

“กกท.ควรแถลงข่าวโดยพูดให้ชัดว่า ช่องทีวีดิจิทัล​ 17​ ช่อง ที่แสดงความจำนงค์ร่วมถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก​ (ตามสิทธิ์พื้นฐานที่มาจากเงินกองทุน กทปส.600​ ล้านบาทที่ให้มา ทาง กสทช.มอบให้ กกท.ไปซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก ) ยังไม่เห็นชอบการจับฉลากถ่ายทอดสด​ ที่ให้ TRUE เลือกคู่ถ่ายทอดสดในรอบรองก่อนให้ช่องทีวีดิจิทัลที่เหลือเอาไปแบ่งกัน​

ต่อมา นายอดิศักดิ์ โพสต์เพิ่มเติมว่า“ประชุมถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกกาตาร์ ระหว่างการกีฬาแห่งประเทศไทย กับ สมาคมทีวีดิจิทัลแห่งประเทศไทย และข่องทีวีสาธารณะ ยาวนานจากเวลา​10.00-16.00 น.​ ตารางการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก​ 64​ นัดมีการจับฉลากหมดแล้ว ปวดหัวมากๆ​ วันหยุดต้องมาประชุมในฐานะตัวแทนสมาคมทีวีดิจิทัลฯ เรื่องลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลก​ ร่วม​ 7​ ชั่วโมงติดต่อกัน

โดยสาระคือสมาคมทีวีดิจิทัลฯ ขอสงวนสิทธิ์ยังไม่เห็นด้วยกับเงื่อนไขถ่ายทอดสดของกกท.​ทั้งหมด แต่เพื่อให้การดำเนินการถ่ายทอดสดที่จะเริ่มคู่แรกในวันอาทิตย์ที่​ 20​ พ.ย.2565​ เวลา​ 23.00 น.ดำเนินการต่อไป​ได้ ไม่กระทบคนดู จึงยินยอมร่วมจับฉลากไปก่อน​ โดย กกท.รับปากว่าหาก กสทช.มีคำวินิจฉัยตามคำร้องเรียนของสมาคมทีวีดิจิทัลแบบไหน​ พร้อมจะดำเนินการแก้ไข​ทันที เพราะเนื่องจากกกท.ได้ตกลงเรื่องลิขสิทธิ์ของ True ไปแล้วในวงเงิน​ 300​ ล้านบาท , ผู้ร่วมสนับสนุนคือปตท. 100 ล้านบาท, ไทยเบฟ 100 ล้านบาท​ รวมเงิน​ 1,100 ล้านบาท

กกท.จึงขอดำเนินการไปก่อน​ โดยทางสมาคมทีวีดิจิทัลฯ คำนึงถึงผลกระทบต่อผู้ชมการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกในวันที่ 20 พ.ย.​ หากยังยืนในหลักการทั่วถึงและเท่าเทียม​ จึงยังขอสงวนสิทธิ์ไม่เห็นด้วยหลายประเด็น ในวันจันทร์นี้จะทำเรื่องถึง กสทข.ให้วินิจฉัยโดยด่วน ย้ำให้สาธารณะทราบ ‘จบแบบยังไม่จบ’9.00 น.สมาชิกสมาคมทีวีดิจิทัลนัดประชุมกีนผ่านZoomเพื่อกำหนดท่าทีก่อนประชุมกับ กกท.

หลักการ​

  • เงิน กทปส.ผ่านไปยังกสทช.ให้เป็นค่าลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก​ 600​ ล้านบาท จากขอไป​ 1,600​ ล้านบาท​ หมายถึงการถ่ายทอดสด​ 64​ คู่​ ให้กกท.ไปจัดสรรตามกฏ Must​ Have​ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม​ โดยยินยอมใช้ระบบ​Time​ Sharing​ แบ่งเวลาโฆษณาให้กกท. 60% สถานี​ 40%
  • กรณี​ กกท.ไปขายแพคสำหรับลูกค้าอื่น ให้สิทธิ์​บน​ Cable, OTT ได้​ แต่อย่ามาลิดรอนสิทธิ์ของทีวีดิจิทัลทุกช่องที่มีส่วนในเงินกองทุนกทปส.
    10.00-16.00น.ประชุมยาวนาน​ พักยก​ 2-3​ รอบ เพื่อหารือนอกรอบระหว่าง​ กกท.กับ True, สมาชิกสมาคมทีวีดิจิทัล
    ข้อเสนอ​ True

วงเงินสนับสนุน​ 300 ล้านบาท​ แยกเป็น

  • TV Right 200​ ล้านบาท สำหรับการออกอากาศทางช่อง True4U แบบ Exclusive 32​ ช่อง (น่าจะหมายถึง 32 นัด) ที่ขอเลือกก่อน
  • OTT​ Right 100 ล้านบาทสำหรับสิทธิ์ในการออกอากาศทางเคเบิลทีวี​ True​ Vision​และ​ OTTผ่าน​ True ID
  • Commercial Right เวลาโฆษณาจากTime Sharing 85​ นาที

จบแบบไม่จบคือ

สมาคมทีวีดิจิทัลฯ และช่องทีวีดิจิทัลขอสงวนสิทธิ์​ ไม่เห็นด้วยกับการให้สิทธิ์พิเศษกับ True​ ถ่ายทอดสด ผ่านTV 32​ คู่แบบ ​Exclusive เหลือแบ่งให้ทีวีดิจิทัลแบบธุรกิจและสาธารณะประมาณ​ 20​ ช่องไปรับสัญญาณถ่ายทอดสดแบบ Must​ Haveแค่ 32 คู่จาก​ 64​ คู่​ ซึ่งไม่ตรงตามมติ กสทช.ที่ให้เงิน​ 600​ ล้านบาทกับกกท.ไปซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก​ 64​ คู่เพื่อนำมาเผยแพร่อย่างเท่าเทียมและทั่วถึงผ่านทีวีดิจิทัลทั้งหมด

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button