ท่องเที่ยว

ปักหมุด 13 สะพานกรุงเทพ เปิดไฟวันลอยกระทง 8 พ.ย. 65 ชมวิวสวยตระการตา แม่น้ำเจ้าพระยา

แจกพิกัด 13 สะพานกรุงเทพ ชมวิวสวยตระการตาไฟประดับสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ในคืนวันลอยกระทง 8 พฤศจิกายน 2565 ตั้งแต่เวลา 19.00-24.00 น. มีที่ไหนบ้าง พร้อมแนะนำการเดินทางชมงานไฟลอยกระทงปีนี้

ประกาศข่าวดีจากกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ขอเชิญชวนคนไทย เที่ยวชมงานไฟประดับสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 13 แห่งบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ ในคืนเทศกาลวันลอยกระทง 8 พฤศจิกายน 2565 ได้ตั้งแต่เวลา 19.00 น.-24.00 น.ประกอบด้วยสะพานพระราม 3, สะพานพระราม 4, สะพานพระราม 5, สะพานพระราม 7, สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์, สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า, สะพานพระพุทธยอดฟ้า, สะพานพระปกเกล้า, สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, สะพานกรุงธน, สะพานกรุงเทพ สะพานภูมิพล 1 และสะพานภูมิพล 2

สำหรับกิจกรรมงานไฟลอยกระทงครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย และกระตุ้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในเดือนพฤศจิกายนนี้ก่อนการประชุมเอเปค 2022 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 สามารถเข้ามาเช็กพิกัดเดินทางไปยังสะพานกรุงเทพทั้ง 13 แห่งที่จัดงานไฟลอยกระทงได้ที่นี่

1. สะพานพระราม 3

สะพานกรุงเทพ สะพานพระราม 3 เป็นสะพานที่สร้างเชื่อมระหว่างถนนรัชดาภิเษก เขตธนบุรี กับถนนพระรามที่ 3 เขตบางคอแหลม สร้างคู่ขนานไปกับสะพานกรุงเทพ มีอีกชื่อหนึ่งว่าสะพานกรุงเทพ 2 จุดเด่นของสะพานพระราม 3 คือ มี 2 สะพานคู่ขนานกัน และสะพานพระราม 3 เป็นสะพานที่มีความยาวที่สุดพร้อมเชิงลาดอยู่ที่ 3,372 เมตร

สะพานพระราม 3 สะพานกรุงเทพ งานไฟลอยกระทง 2565

2. สะพานพระราม 4

สะพานพระราม 4 ตั้งอยู่ใกล้บริเวณปากเกร็ด เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมการคมนาคมระหว่างพื้นที่ตำบลบางตะไนย์กับตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด ทางตอนเหนือของจังหวัดนนทบุรี เป็นการสร้างเพื่อเสริมส่วนต่อจากสะพานลอยรถข้ามห้าแยกปากเกร็ดตามแนวถนนแจ้งวัฒนะ

สะพานพระราม 4 งานไฟวันลอยกระทง 2565

3. สะพานพระราม 5

เปิดลำดับสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาลำดับที่ 14 ในกรุงเทพ คือ สะพานพระราม 5 ตัวสะพานพาดเชื่อมระหว่างตำบลสวนใหญ่ กับตำบลบางไผ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเป็นส่วนหนึ่งของถนนนครอินทร์ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีช่องทางรถวิ่ง 6 ช่องทางจราจร

แผนที่ : ถนน นครอินทร์ ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี 11000

สะพานพระราม 5 งานไฟลอยกระทง 2565

4. สะพานพระราม 7

สะพานพระราม 7 เป็นสะพานแบบคอนกรีตอัดแรงชนิดต่อเนื่อง มีจำนวนช่องทางรถวิ่ง 6 ช่องทางจราจร มีความยาวมากถึง 934 กิโลเมตร อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท เชื่อมระหว่างตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี กับแขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร

สะพานพระราม 7 งานลอยกระทง 2022

5. สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์

สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์ มีอีกชื่อหนึ่งว่า สะพานนนทบุรี 1 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เชื่อมพื้นที่ตำบลสวนใหญ่ (ฝั่งตะวันออก) เข้ากับตำบลบางศรีเมือง (ฝั่งตะวันตก) โดยเริ่มต้นจากปลายสะพานทางแยกต่างระดับบนถนนนนทบุรี 1 ใกล้โรงเรียนศรีบุณยานนท์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในท้องที่หมู่ที่ 2 ตำบลสวนใหญ่ ทางด้านใต้ของชุมชนตลาดขวัญและท่าเรือพิบูลสงคราม 4 มีความยาวทั้งสิ้น 460 เมตร

สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์ ลอยกระทงประเทศไทย 2565

6. สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

อีกหนึ่งจุดชมงานสะพานไฟวันลอยกระทง ตั้งใกล้กับถนนสายสำคัญและสะพานคนเดิน มีไฟส่องสว่างในยามค่ำคืน เป็นสถานที่ยอดนิยมสำหรับชมพระอาทิตย์ตกดินของนักท่องเที่ยว สะพานพระปิ่นเกล้า หรือ สะพานปิ่นเกล้า เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าระหว่างเขตพระนคร (ฝั่งพระนคร) กับเขตบางกอกน้อย (ฝั่งธนบุรี) กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท

สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า สะพานกรุงเทพ งานไฟลอยกระทง 2565

7. สะพานพระพุทธยอดฟ้า

มาต่อกันที่สะพานพระพุทธยอดฟ้า หรือ “สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์” เป็นสะพานข้ามแม่น้ำ เจ้าพระยาที่เชื่อมกันที่ปลายถนนตรีเพชร เขตพระนคร กับปลายถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี ใต้สะพานยามค่ำคืนจะมีของขาย เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีจุดเด่นอยู่ตัวโครงเหล็กแบบสมัยก่อนทาด้วยสีเขียวเด่นชัด ใครเห็นก็รู้ว่าเป้นสะพานพุทธนั่นเองครับ

สะพานพระพุทธยอดฟ้า 2565 ลอยกระทง

8. สะพานพระปกเกล้า

สะพานพระปกเกล้า เป็นอีกหนึ่งพิกัดที่น่าไปเยี่ยมชมงานไฟสะพานในคืนวันลอยกระทง 8 พฤศจิกายน 2565 มีอีกชื่อหนึ่งว่า สะพานปก เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เชื่อมระหว่างถนนจักรเพชร ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร (ฝั่งพระนคร) กับถนนประชาธิปก ในพื้นที่แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ฝั่งธนบุรี เป็นสะพานคู่ขาไปและขากลับ สร้างเคียงข้างขนานกันกับสะพานพระพุทธยอดฟ้า

สะพานพระปกเกล้า

9. สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สำหรับสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นสะพานที่ข้ามถนนฝั่งเจริญกรุงไปยังฝั่งธนบุรีวงเวียนใหญ่ ตรงกลางเป็นรางรถไฟ BTS สถานีสะพานตากสิน ยกระดับระหว่างสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 2 สะพานที่ขนานกัน และคร่อมบริเวณปากคลองสาทร สะพานตากสินฯ มีจุดเด่นตรงที่มีรถ BTS วิ่งผ่านตรงกลาง ที่ด้านข้างเป็นทิวทัศน์แม่น้ำเจ้าพระยาที่สวยงาม

สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วันลอยกระทง 2565

10. สะพานกรุงธนบุรี

สะพานกรุงธนบุรีหรือเรียกสั้น ๆ ว่าสะพานกรุงธนฯ มีอีกชื่อหนึ่งว่า สะพานซังฮี้ ตั้งข้ามผ่านระหว่าง แม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณถนนราชวิถี เชื่อมระหว่างแขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กับแขวงบางพลัดและแขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมทางหลวงชนบทครับ

สะพานกรุงธนบุรี งานไฟประดับ ลอยกระทง 2565

11. สะพานกรุงเทพ

แม้ว่าจะได้ชื่อว่าสะพานกรุงเทพ แต่ก็ไม่ได้เป็นสะพานกรุงเทพแห่งแรก เพราะสะพานกรุงเทพ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 3 มีความโดดเด่นตรงที่สะพานกรุงเทพเป็นสะพานโยกเพียงแห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังเปิด-ปิดได้อยู่ เชื่อมระหว่างบริเวณสี่แยกถนนตก เขตบางคอแหลมทางฝั่งพระนคร กับบริเวณสี่แยกบุคคโลในพื้นที่เขตธนบุรีทางฝั่งธนบุรี ใช้ในการคมนาคมทางบกข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและปิด-เปิด ให้เรือเข้าออก

สะพานกรุงเทพ แม่น้ำเจ้าพระยา ชมงานประดับไฟสะพาน ลอยกระทง 2565

12. สะพานภูมิพล 1

ในส่วนของการจัดงานไฟวันลอยกระทงที่ สะพานภูมิพล 1 จัดว่าเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านเหนือ เชื่อมระหว่างแขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร กับตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นสะพานขึงเคเบิลคู่ขนาดกว้าง 7 ช่องจราจร ที่ประกอบด้วยเสาสูง จำนวน 2 ต้น ความยาวสะพานช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 326 เมตร

สะพานภูมิพล 1 ประดับไฟงานลอยกระทง 2565

13. สะพานภูมิพล 2

สะพานภูมิพล 2 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่คนนิยมมาดูระอาทิตย์ตกดินและแสงไฟริมน้ำบริเวณจุดบรรจบของสะพานวงแหวน 2 แห่ง ลักษณะของสะพานเชื่อมระหว่างตำบลทรงคนองกับตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นสะพานขึงเคเบิลคู่ขนาดกว้าง 7 ช่องจราจร ที่ประกอบด้วยเสาสูง จำนวน 2 ต้น ความยาวสะพาน ช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 398 เมตร

สะพานภูมิพล 2

สำหรับ งานไฟสะพานกรุงเทพ ในคืนวันลอยกระทง 8 พฤศจิกายน 2565 จะเริ่มตั้งแต่เวลา 19.00-24.00 น. กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ได้จัดเจ้าหน้าที่ตรวจตราเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่เดินทางมาลอยกระทงบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่อยู่ในความดูแลของ ทช. หากประชาชนต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือแจ้งเหตุ สามารถติดต่อได้ที่สายด่วนกรมทางหลวงชนบท 1146.

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button