การเงินเศรษฐกิจ

เปรียบเทียบ ค่าธรรมเนียมบัตรเดบิต ATM ของแต่ละธนาคาร แบบไหนคุ้ม

เช็กค่าธรรมเนียมบัตรเดบิต ATM แต่ละธนาคาร มีค่าธรรมเนียมเท่าไหร่ ธนาคารแห่งไหนเสียค่าธรรมเนียมแพงหรือไม่เสียค่าธรรมเนียมเลยบ้าง เตรียมพร้อมฝากเงินสดยืนยันตัวตนด้วยบัตรเครดิต บัตรเดบิต วันที่ 15 พฤศจิกายน2565 เป็นต้นไป

เทียบชัด ค่าธรรมเนียมบัตรเดบิต ATM ของทั้ง 10 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารทหารไทยธนชาต, ธนาคารยูโอบี, ธนาคารเกียรตินาคินภัทร, ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย และธนาคารออมสิน มีค่าธรรมเนียมแรกเข้ารายปีเท่าไหร่

ลูกค้าธนาคารเตรียมวางแผนใช้บัตรเดบิต สำหรับการฝากเงินสดผ่านตู้อัตโนมัติ พร้อมยืนยันตัวตนผ่านบัตรเดบิต-บัตรเครดิต ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป มาดูกันว่าบัตรเดบิตแต่ละธนาคารมีค่าธรรมเนียมแตกต่างอย่างไรบ้าง

1. ธนาคารกรุงไทย KTB

สำหรับบัตรเดบิตเอทีเอ็ม ของธนาคารกรุงไทย KTB บัตรเดบิตกรุงไทย แคร์ มีค่าธรรมเนียมรายปีในบัตรทั่วไป 599 บาท และค่าธรรมเนียมแรกเข้า 100 บาท

2. ธนาคารกสิกร K BANK

ในส่วนของบัตรเดบิต K MAX+ จากธนาคารกสิการ จะมีค่าธรรมเนียมรายปี 250 บาท และค่าธรรมเนียมแรกเข้าหรือออกบัตรใหม่จำนวน 50 บาท ไม่คิดค่าธรรมเนียม หากถอนเงินที่เครื่องเอทีเอ็มธนาคารกสิกรไทย นอกจากนี้ยังฟรีค่าธรรมเนียม 2 รายการแรกภายในเดือนเดียวกัน แต่ตั้งแต่รายการที่ 3 ภายในเดือนเดียวกันรายการละ 10 บาททุกรายการ (ยกเว้นรายการโอนเงินให้ผู้รับที่มีบัญชีธนาคารอื่น)

3. ธนาคารไทยพาณิชย์ SCB

ลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ที่ต้องการบัตรเดบิต LET’S SCB ต้องชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้า 100 บาท และค่าธรรมเนียมรายปี 200 บาท ถอนเงินสูงสุด 500,000 บาทต่อวันได้ที่ตู้เอทีเอ็มทุกธนาคาร

4. ธนาคารกรุงเทพ Bangkok Bank

สำหรับบัตรเดบิต บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท ทีพีเอ็น ยูเนี่ยนเพย์ ของธนาคารกรุงเทพ (บัวหลวง) ต้องชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 100 บาท และมีค่าธรรมเนียมรายปี 200 บาท ต่อปี

5. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา Bank of Ayudhya

เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งธนาคารยอดนิยมของคนไทย สำหรับบัตรกรุงศรี ค่าธรรมเนียมบัตร เดบิต All ATMs มีค่าธรรมเนียมการออกบัตรใหม่ 100 บาท และค่าธรรมเนียม 380 บาทต่อ 3 ปี นอกจากนี้ยังสามารถใช้ตู้เอทีเอ็มจากธนาคารกรุงศรีฯ หรือต่างธนาคารได้ฟรีไม่เสียค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมบัตรเดบิต ATM ของแต่ละธนาคาร 2565

6. ธนาคารทหารไทยธนชาต ttb

จุดเด่นของบัตรเดบิตจากธนาคาร ทหารไทยธนชาต (ttb) ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี แต่จะเป็นค่าธรรมเนียมบัตร 200 บาทต่อ 5 ปี เรียกว่าใช้คุ้มนึกว่าฟรี ไม่มีเรียกเก็บการถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็ม ทีเอ็มบีธนชาต ทั้งนี้การถอนเงินที่ตู้ ATM ของธนาคารอื่น ภายในจังหวัดหรือสำนักหักบัญชี 10 บาทต่อรายการ การถอนเงินที่ตู้ ATM ของธนาคารอื่น ต่างจังหวัดหรือข้ามสำนักหักบัญชี 20 บาทต่อรายการ

7. ธนาคารยูโอบี UOB

บัตรเดบิตจากธนาคารยูโอบีมาพร้อมสโลแกนที่ว่า “บัตรเดียวทั่วโลก ไม่ต้องพึ่งเงินสด” ซึ่งก็สอดคล้องกับเงื่อนไขฟรีค่าธรรมเนียมการทำรายการ เบิก ถอน เงินสด หรือ สอบถามยอดเงินระหว่างประเทศ ได้จากตู้เอทีเอ็มของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซียได้ แต่จะมีค่าธรรมเนียมการเปิดบัตรเดบิตครั้งแรก 100 บาท และค่าธรรมเนียมรายปี 300 บาท

8. ธนาคารเกียรตินาคินภัทร KKP

เดบิตการ์ดพกแทนเงินสด ของธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) บัตรเดบิต KKP Be Free Debit Card ฟรีค่าธรรมเนียมถอนเงิน สอบถามยอด และโอนเงินภายในธนาคาร แต่จะมีค่าธรรมเนียมบัตร ATM แรกเข้า 100 บาท และค่าธรรมเนียมปีละ 200 บาท

9. ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย CIMB

ครบรอบด้านด้วยบัตรเดบิต ซีไอเอ็มบี ไทย รองรับมาตรฐานชิปการ์ดไทย ฟรีค่าธรรมเนียมแรกเข้า และค่าธรรมเนียมรายปี สามารถถอนเงินข้ามเขตหรือต่างธนาตารได้ ฟรีค่าธรรมเนียม สำหรับการทำรายการถอนเงินสด สอบถามยอด ที่เครื่องเอทีเอ็มต่างประเทศ คิดค่าธรรมเนียม 100 บาทต่อรายการ

10. ธนาคารออมสิน GSB

ธนาคารของคนไทยเพื่อคนไทย กับบัตรเดบิตออมสิน GSB เพราะไม่มีอัตราค่าธรรมเนียมแรกเข้าและฟรีค่าธรรมเนียมรายปี ส่วนค่าออกบัตรทดแทนจำนวน 100 บาท สามารถใช้ถอนเงินสดผ่านเครื่อง ATM ในประเทศและต่างประเทศ

อย่างไรก็ตามบัตรเดบิต “เอทีเอ็ม” ของแต่ละธนาคารมีให้เลือกหลายแบบ ทำให้มีค่าธรรมเนียมรายปี และการใช้บบริการฝาก ถอน โอน หรือการใช้ตู้กดเงินอัตโนมัติต่างสาขาแตกต่างกันออกไป

สรุปบัตรเดบิตแบบไหนคุ้มค่าเหมาะกับใครบ้าง ทั้งนี้ในปัจจุบันบัตรเดบิตมีบริการและค่าธรรมเนียมที่ค่อนข้างเป็นมิตรกับผู้บริโภค อีกทั้งในแต่ละธนาคารยังมีผลิตภัณฑ์บัตรเดบิตแยกออกมาหลายประเภท ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของเราว่าต้องการใช้จ่ายในลักษณะไหน บางบัตรค่าธรรมเนียมแพงแต่เงื่อนไขเหมาะกับเรา บางบัตรฟรีค่าธรรมเนียมแต่มีข้อกำหนดการใช้จุกจิก ใครสะดวกแบบไหนลองเข้าไปเลือกตามนี้กันได้เลยครับ.

อ้างอิง : 1

สนใจลงโฆษณา บทความ Backlink กับ Thaiger ติดต่อคุณโอ๋ orakarn@thethaiger.com

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button