KFC ทดสอบ นักเก็ตไก่ แบบใหม่ หวังเจาะตลาด Gen Z
KFC (เคเอฟซี) ได้ประกาศถึงการทดสอบ นักเก็ตไก่ ประเภทใหม่ ที่มีการคิดค้น และออกแบบมาเพื่อหวังจะเจาตลาดกลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือ Generation Z
(19 ก.ค. 2565) เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (18 ก.ค.) บริษัทเครือร้านไก่ทอดชื่อดัง Kentucky Fried Chicken – KFC (เคเอฟซี) ได้ทำการทดลองวางขาย นักเก็ตไก่ รูปแบบใหม่ แบบจำกัดเวลา และเฉพาะสาขา เพื่อเป็นการทดสอบตลาดสำหรับฐานลูกค้าที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือ Generation Z
โดยนักเก็ตไก่ แบบใหม่นั้น จะถูกทำจากเนื้อขาวของไก่ (ส่วนอก) ที่ผสมผสานเข้ากับเครื่องเทศ/สมุมไพรปรุงรส 11 ชนิด ซึ่งจะขายเป็นชุดแบบ 8, 12 และ 36 ชิ้น ก่อนหน้านี้ KFC ได้ทดลองเมนูใหม่ ๆ ประเภทต่าง ๆ เช่น ป๊อปคอร์น นักเก็ต และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากพืช (plant-based) เป็นต้น
โฆษกของบริษัทได้กล่าวถึงการทดลองขายในครั้งนี้ว่า “พวกเราได้เล็งเป้าไปยังลูกค้าที่มีอายุน้อย เช่น Gen Z (กลุ่มคนอายุ 18 – 24 ปี) และ Millennials ที่ให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งกับตัวเลือกของไก่แบบไร้กระดูก”
Robert Byrne ประธานบริหารของบริษัทให้คำปรึกษาแก่ร้านอาหาร และบริษัทด้านอาหาร ได้กล่าวว่า “ยิ่งคุณดำเนินการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้เร็วเท่าไร ศักยภาพในการสร้างความมั่นคง และความต่อเนื่องของแบรนด์ต่อไปในหลายปีก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น” และกล่าวทิ้งท้ายไว้อีกว่า มันถือว่าเป็นการยากที่สร้างความมั่งคงต่อแบรนด์ หลังจากที่โอกาสของกลุ่มเป้าหมายได้เลยออกไปแล้ว
แต่กระนั้น จากการสำรวจก็พบว่า Generation Z ให้ความสำคัญกับการทานอาหารที่ร้านน้อยลงกว่ารุ่นอื่น ๆ ในช่วงอายุเดียวกัน ทำให้ถือว่าเป็นประเด็นที่สำคัญต่อร้านอาหารในการตอบโจทย์ และจับความสนใจของคนกลุ่มนี้
นักเก็ตนั้นก็มีจุดเด่นหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ การที่มันเหมาะกับการเป็นของทานเล่น ที่ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางอาหารที่เริ่มกลับมา เนื่องจากลูกค้าได้เริ่มปรับตัวเข้ากับการทำงานแบบผสม หรือการกลับเข้าไปทำงานที่ออฟฟิต ทำให้นักเก็ต (โดยเฉพาะที่ KFC เตรียมทำ) ถือว่าเป็นสิ่งที่เตือนใจได้ว่าบริษัทก็พร้อมที่จะขายอาหารที่สามารถรับไปประทานได้ง่าย และในทันที
แหล่งที่มาของข่าว : CNN News
สามารถติดตามข่าวอาหารเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวอาหาร
- รู้จัก ‘ขนมไหว้พระจันทร์’ ความอร่อยที่มาพร้อมตำนาน และความสิริมงคล
- เริ่มวันนี้ 18 ก.ค. 65 บุฟเฟต์บาบีก้อน จัดโปรเอาใจสาวกก้อน อิ่มไม่อั้นมหาชน เริ่มต้นเพียง 333 บาท