ข่าวอีเว้นท์ไลฟ์สไตล์

13 กรกฎาคม 2565 วันอาสาฬหบูชา ย้อนประวัติ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วันที่ 13 กรกฎาคม 2565 วันอาสาฬหบูชา เปิดประวัติวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา มีความสำคัญอย่างไร ? ควรทำอะไรบ้าง ?

วันอาสาฬหบูชา 2565 ในปีนี้ตรงกับวันพุธที่ 13 กรกฎาคม เป็นวันแรม 15 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติ ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมจากการตรัสรู้ให้แก่ ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ณ สวนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี วันนี้ The Thaiger จะพาทุกคนมาเจาะลึกถึง ประวัติความเป็นมา และความสำคัญของวันนี้ให้มากขึ้นกัน

th.wikipedia.org

13 กรกฎาคม 2565 วันอาสาฬหบูชา มีความสำคัญอย่างไร กับชาวพุทธทั่วโลก

| วันอาสาฬหบูชา ความเป็นมา

วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติ

ในวันนี้นั้นเป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือ วันวิสาขบูชา โดยการแสดง ปฐมเทศนา โปรดพระปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน จนกระทั่ง พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็น พระภิกษุรูปแรก ในพระพุทธศาสนา

ดังนั้นแล้ว วันอาสาฬหบูชา จึงถือได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของหัวใจหลังของพระพุทธศาสนาอย่าง พระรัตนตรัย อันได้แก่

  1. พระพุทธ หมายถึง พระพุทธเจ้า ศาสดาของศาสนาพุทธ
  2. พระธรรม หมายถึง พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ได้จากการตรัสรู้
  3. พระสงฆ์ หมายถึง พระอัญญาโกณฑัญญะ ภิกษุ สาวกรูปแรกของศาสนาพุทธ

| ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หลักธรรมวันอาสาฬหบูชา

สำหรับหลักธรรมในวันอาสาฬหบูชา ได้แก่ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าได้นำมาแสดงปฐมเทศนาโปรดแก่ ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ

คำว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” แปลว่า สูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรม มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุด 2 อย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดย สายกลาง อันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ เนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึง อริยสัจ 4 คือ อริยมรรค 8

| อริยสัจ 4 |

อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือบุคคลที่ห่างไกลจากกิเลศทั้งปวง ได้แก่

  1. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหมดทั้งมวลที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ จักต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันในความจริง ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้ปัญหา กล้าเผชิญหน้า ต้องเข้าใจในสภาวะโลกในทุกสิ่งนั้นไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
  2. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หมายถึงสาเหตุของปัญหาที่ทำให้เกิดทุกข์ เพราะเป็นต้นเหตุสำคัญในการเกิดทุกข์ ที่จะเชื่อมโยงกับปัจจัยอื่น ๆ
  3. นิโรธ ได้แก่ การดับทุกข์ การอยู่อย่างรู้เท่าทัน การดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา การไม่มีทุกข์ การไม่ข้องเกี่ยวในกิเลศ
  4. มรรค ได้แก่ หนทางในการแก้ไขปัญหา ในการดับทุกข์ ซึ่งมีองค์ประกอบทั้ง 8 ประการ

| มรรค 8 |

  1. สัมมาทิฏฐิ คือ มีปัญญาเห็นชอบ หมายถึง ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมตามความเป็นจริงด้วยสติและปัญญา
  2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม ไม่หลุมหลงมัวเมาในสิ่งไม่ดี
  3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดต้องสุภาพ แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม ไม่พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ
  4. สัมมากัมมันตะ คือ ความประพฤติชอบ หมายถึง การประพฤติดีงาม อยู่ในทำนองคลองธรรม
  5. สัมมาอาชีวะ คือการมีอาชีพชอบ หมายถึง การทำมาหากินอย่างสุจริตชน ไม่คดโกง ไม่เอาเปรียบหรือเบียดเบียนผู้อื่น
  6. สัมมาวายามะ คือ การมีความมานะชอบ หมายถึง ความอุตสาหะพยายาม มีความอดทนต่อการปฏิบัติงานใด ๆ
  7. สัมมาสติ คือ การมีสติชอบ หมายถึง การมีสติ ใช้สติอยู่ตลอดเวลา ไม่ทำจิตให้เลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
  8. สัมมาสมาธิ คือ การมีสมาธิชอบ หมายถึง การฝึกจิตให้สงบและตั้งมั่น เพื่อให้ปราศจากกิเลสและนิวรณ์อยู่เสมอ

ขอบคุณข้อมูล 1 2 3

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button