ไลฟ์สไตล์

ถูกลวนลาม แจ้งความอย่างไรได้บ้าง แนะนำวิธีการดำเนินคดี และข้อกฎหมายที่ควรรู้

ถูกลวนลาม แจ้งความอย่างไรได้บ้าง ? พาทุกคนไปไขคำตอบ หากเจอเหตุการณ์ sexual harassment ต้องดำเนินคดีความแบบไหน ผู้กระทำควรถูกแจ้งจับข้อหาใดบ้าง พร้อมบอกข้อกฎหมายคุกคามทางเพศที่ควรรู้ ตลอดจนอายุความที่เกี่ยวข้องกับคดีอนาจาร ใครพร้อมแล้ว ไปหาคำตอบด้วยกันกับ The Thaiger ได้เลย

sexual harassment คืออะไร ? ถูกลวนลาม แจ้งความอย่างไรได้บ้าง มีคำตอบ

หากถูกลวนลาม ต้องแจ้งความเอาผิดอย่างไร

หากถูกลวนลาม ต้องแจ้งความเอาผิดอย่างไร

ปัญหาลวนลาม/คุกคามทางเพศ หรือ sexual harassment ถือเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมโลก สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ฉะนั้น การเรียนรู้ลำดับขั้นตอนการแจ้งความ หากถูกคุกคามหรือลวนลามทางเพศ จึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่หลายคนควรให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยในประเทศไทยก็มีสถิติการถูกคุกคามทางเพศที่เกิดขึ้นกับเพศหญิงที่สูง ซึ่งผู้ที่ประสบปัญหาถูกลวนลาม สามารถดำเนินการได้ ตามขั้นตอนดังนี้

เมื่อถูกลวนลามทางเพศ เหยื่อควรที่จะตั้งสติให้ดีที่สุด เพื่อมองหาหลักฐานในการเอาผิดต่อคนร้าย ซึ่งสามารถทำได้ทั้งการบันทึกภาพถ่าย เสียง วิดีโอ หรือมองหากล้องวงจรปิดที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง จากนั้นให้เก็บรวบรวมหลักฐานดังกล่าว เข้าพบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อแจ้งความดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดที่สถานีตำรวจ หรือต่อสายตรงหา 191

สำหรับการถูกลวนลามทางเพศ สามารถรอให้เหยื่อมีความพร้อม โดยเว้นระยะจากวันที่ถูกกระทำไปได้ตามความพร้อมของสภาพจิตใจเหยื่อ แต่หากเกิดการสอดใส่ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย และเก็บคราบอสุจิในการหาหลักฐานดำเนินคดี จากนั้นควรรีบทานยาคุมฉุกเฉิน ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

sexual harassment คืออะไร ? แบบไหนคือการถูกลวนลาม

sexual harassment คืออะไร ? แบบไหนคือการถูกลวนลาม

sexual harassment หรือการลวนลาม คือการกระทำที่มีเจตนามุ่งร้ายต่อเหยื่อในทางเพศ โดยปราศจากความยินยอม เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนของตัวผู้กระทำเอง ซึ่งสามารถแสดงออกได้ในหลายรูปแบบ ดังต่อไปนี้

1. การลวนลามทางร่างกาย (Physical Conduct) คือ การสัมผัสโดยตรงบนร่างกายของเหยื่อ เช่น การโอบไหล่ ลูบคลำ และการแนบชิด โดยขาดความยินยอม เป็นต้น

2. การลวนลามทางวาจา (Verbal Conduct) คือ การล่วงเกินผ่านทางคำพูด เช่น การพูดเชิงลึกถึงเรื่องเพศ หรือพยายามพูดหว่านล้อมให้อีกฝ่ายยินยอมในการร่วมเพศผ่านคำพูด เป็นต้น

3. การลวนลามทางสายตาหรือท่าทาง (Visual Conduct) คือ การจ้องมองร่างกายตามส่วนต่าง ๆ ของเหยื่อแบบเปิดเผย เพื่อสื่อไปในเรื่องเพศ

4. การส่งข้อความอนาจาร (Written Conduct) คือ การคุกคามทางเพศผ่านตัวอักษร หรือข้อความต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการส่งภาพถ่ายอวัยวะเพศ หรือขอร้องให้ผู้อื่นร่วมเพศผ่านทางข้อความ

ถูกลวนลามในโรงเรียนหรือที่ทำงาน ควรทำอย่างไร ?

ถูกลวนลามในโรงเรียนหรือที่ทำงาน ควรทำอย่างไร ?

หากใครที่ประสบปัญหาถูกลวนลามทางเพศ ในสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียน ที่ทำงาน บ้าน หรือที่สาธารณะ สามารถเริ่มต้นได้ด้วยวิธีใกล้ตัวคือ การแสดงออกถึงความไม่ยินยอมอย่างชัดเจน เช่น การแสดงออกว่าไม่พอใจ หรือส่งเสียงเรียกให้ผู้อื่นช่วย และหากมีคนอื่นในบริเวณใกล้เคียง ควรรีบเข้าหาเพื่อขอรับความช่วยเหลือโดยเร็ว

จากนั้น ให้เหยื่อที่ถูกคุกคามทางเพศ รีบเก็บหลักฐาน หรือแจ้งปัญหาดังกล่าวแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในทันที เช่น หากเกิดเหตุลวนลามในบ้าน ควรแจ้งผู้ปกครองที่ใกล้ชิด, หากถูกลวนลามในที่ทำงาน ควรรีบแจ้งปัญหาต่อหัวหน้า หรือผู้บังคับบัญชารวมถึงเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ และสำหรับนักเรียนหรือบุคลากรในโรงเรียน ควรเร่งแจ้งครูหรือผู้อาวุโสท่านอื่น ๆ เพื่อดำเนินการขั้นตอนต่อไป

หลังจากที่แจ้งเรื่องถูกลวนลาม หรือ Sexual Harassment กับบุคคลที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว เหยื่อสามารถเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อเอาผิดต่อตัวผู้กระทำได้ ทั้งนี้ อาจขอให้ผู้ที่เห็นเหตุการณ์ หรือผู้ที่เคยมีประสบการณ์ร่วม ช่วยเป็นพยานให้ได้เช่นกัน

ข้อกฎหมายที่ควรรู้ เมื่อถูกลวนลาม หรือ Sexual Harassment

ข้อกฎหมายที่ควรรู้ เมื่อถูกลวนลาม หรือ Sexual Harassment

ในส่วนของข้อกฎหมายที่ควรรู้ เมื่อถูกลวนลามทางเพศนั้น มีด้วยกันหลายอย่าง แต่กฎหมายหลัก ๆ สำหรับปัญหา Sexual Harassment ในประเทศไทย มีข้อที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 ซึ่งมีใจความว่า ผู้ใดกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปีโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยบุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 ซึ่งมีใจความว่า ผู้ใดกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 ซึ่งมีใจความว่า ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

นอกจากนี้ หากใครที่ถูกลวนลามหรือคุกคามทางเพศมานานแล้ว ก็ยังคงสามารถเอาผิดต่อตัวผู้กระทำได้ เนื่องจากตามกฎหมายแล้ว ได้มีการระบุว่า หากเหตุการณ์ลวนลามทางเพศยังไม่เกิน 15 ปี เหยื่อสามารถเข้าแจ้งความกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้

ถูกลวนลาม แจ้งความอย่างไรได้บ้าง วิธีการดำเนินคดี และข้อกฎหมายที่ควรรู้

ทั้งหมดนี้คือความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับประเด็น ถูกลวนลาม แจ้งความอย่างไรได้บ้าง ? ที่เราได้รวบรวมมาฝากทุกคน โดย The Thaiger หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้ที่ประสบปัญหา Sexual Harassment จะสามารถนำความรู้เหล่านี้ ไปปรับใช้ หรือนำไปช่วยเหลือผู้อื่นต่อไปในอนาคตได้

อ้างอิง 1 2

Eye Chanoknun

นักเขียนประจำ Thaiger จบจากคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีประสบการณ์เขียนงานผ่านเว็บไซต์ด้านความงามและแฟชั่นชื่อดังของไทยมากกว่า 3 ปี ปัจจุบันชื่นชอบการเขียนข่าวบันเทิง ภาพยนตร์ ซีรีส์ k-pop และไลฟ์สไตล์ เพื่อนำมาบอกเล่าผ่านตัวอักษร ด้วยมุมมองใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ชวนให้ติดตาม ช่องทางติดต่อ eye@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button