ส่องปรากฏการณ์ ดาวเคราะห์เรียงตัว 5 ดวง 24 – 25 มิ.ย. เกิดจากอะไร ชมได้กี่โมง
ชวนชมปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ดาวเคราะห์เรียงตัว 5 ดวง ระหว่างวันที่ 24 – 25 มิถุนายน 2565 เวลา 04.40 น. ใกล้รุ่งทางด้านทิศตะวันออก โดยสามารถรับชมได้ด้วยตาเปล่าทั่วไทย
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ( สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ชวนประชาชนสังเกตปรากฏการณ์ ดาวเคราะห์เรียงตัว 5 ดวง ที่หาชมได้ยากในรอบหลายปี โดยระบุว่าหากระหว่างวันที่ 24 – 25 มิ.ย. ท้องฟ้าทางทิศตะวันออกแจ่มใส่ ไร้เมฆฝน และอยู่ในสถานที่ที่มือพอสมควร จะสามารถเห็น ขบวนพาเหรดดาวเคราะห์ 5 ดวง เรียงกันช่วงเวลา ตี 4 (04.40 น.) ก่อนรุ่งสาง โดยสามารถมองเห็นได้ทั่วภูมิภาคของประเทศไทย
- ภาพถ่าย “หลุมดำ” ภาพแรกของประวัติศาสตร์มวลมนุษยชาติ
- เผยภาพ ‘หลุมดำ’ ใจกลางทางช้างเผือก ครั้งแรกในประวัติศาสตร์
- คลิปนาที GISTDA เผยภาพ กะเพราอวกาศ ลอยเหนือชั้นบรรยากาศ
ดาวเคราะห์เรียงตัวดวงไหนบ้าง เกิดจากอะไร?
ปรากฏการณ์การเรียงตัวของดาวเคราะห์ทั้ง 5 ดวง ในครั้งนี้ ประกอบด้วย ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ ซึ่งจะเรียงตัวกันเป็นแนวเส้นตรง บนท้องฟ้าทางด้านทิศตะวันออก เกิดจากจากการที่ดาวเคราะห์ทั้ง 5 ดวง ได้หมุนโคจรมาบรรจบในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้ในเวลาเดียวกัน
นับว่าเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่หาดูได้ยากยิ่งและไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก เพราะดาวเคราะห์แต่ละดวงมีวงโคจร ความเร็ว และระยะเวลาการหมุนรอบระบบสุริยะที่ยาวนานแตกต่างกันออกไปในแต่ละดวง
อีกทั้งการจะสังเกตเห็นดาวเคราะห์เรียงตัวกัน 5 ดวงแบบนี้ จะต้องอยู่ในบริเวณที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใส ไร้เมฆฝน หรือฝุ่นควัน และต้องอยู่ในที่มืดปราศจากแสงสว่างจ้า หากเป็นในตัวเมือง ก็อาจจะมองเห็นยากสักหน่อย แต่ถ้าอยู่ที่เขตชนบทหรือต่างจังหวัด ก็มีโอกาสที่จะมองเห็นปรากฏการณ์ดาวเรียงตัวได้อย่างชัดเจน
ผู้ที่สนใจสามารถรับชมปรากฏการณ์ ดาวเคราะห์เรียงตัว 5 ดวงในครั้งนี้ได้ระหว่างเวลาใกล้รุ่ง 04.40 น. – 05:10 น. วันที่ 24 – 25 มิถุนายน 2565 ทางท้องฟ้าด้านทิศตะวันออกทั่วไทยได้เลยครับ
การถ่ายภาพดาวเรียงกัน 5 ดวง ระหว่างวันที่ 24 – 25 มิถุนายน 2565
แนะนำสำหรับผู้ที่อยากถ่ายภาพดวงดาวเรียงกันเก็บไว้ ให้เตรียมขาตั้งกล้อง กล้องถ่ายภาพที่มีโหมด Bulb แบตเตอรี่สำรอง และก็เลนส์กล้องที่มีรูรับแสงระหว่าง 1f – 2f เป็นต้นไป หรือถ้าไม่มีก็ให้นับเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างที่สุดมาใช้แทน
เมื่อสังเกตเห็นปรากฏการณ์นี้ด้วยตาเปล่าแล้ว ให้หันกล้องไปทางทิศตะวันออก ปรับรูรับแสงให้กว้างที่สุด เปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์เป็นโหมด Bulb แล้วตั้งเวลาการลั่นชัตเตอร์ หรือใช้สายลั่นเพื่อป้องกันภาพสั่นไหว จากนั้นให้กำหนดเวลาตามความเหมาะสม หากมืดเกินไปก็ให้ดัน ISO สูง ๆ สุดท้ายก็ตรวจเช็กภาพถ่ายที่ได้แล้วปรับตั้งค่าตามความต้องการ
อ้างอิง : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ