สุขภาพและการแพทย์

โรคแรมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม คืออะไร ? หลังทำ ‘จัสติน บีเบอร์’ เลื่อนทัวร์

โรคแรมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม คืออะไร ? หลังทำนักร้องดัง จัสติน บีเบอร์ ยกเลิกคอนเสิร์ต กรมการแพทย์ อธิบาย พร้อมให้คำแนะนำ ไวรัสทำลายเส้นประสาท อัมพาตหน้าครึ่งซีก

เชือว่าไม่นานนี้ ทุกคนจะได้ยินข่าว จัสติน บีเบอร์ ศิลปินชื่อดังชาวแคนาดา ประกาศยกเลิกการแสดงคอนเสิร์ตในสัปดาห์นี้ แบบกะทันหัน เนื่องจากถูกวินิจฉัยว่าเจ้าตัวเป็นโรค “แรมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม” (Ramsay Hunt syndrome)

โดยใครที่เห็นภาพข่าวจะสังเกตถึงความปิดปกติ บนใบหน้าซีกขวาของนักร้องดังผู้นี้ได้ชัดเจน และนี่จึงเป็นที่มาที่ทำให้ วันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับโรคนี้ ว่าคืออะไร มีที่มาอย่างไร และหากมีอาการแล้ว จะมีวิธีปฏิบัตตัวอย่างไร ?

จัสติน บีเบอร์
ภาพ IG @justinbieber

“แรมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม” (Ramsay Hunt syndrome)คือ ?

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า รัมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม (Ramsay Hunt Syndrome) เป็นโรคที่เกิดจาก Varizella Zoster Virus ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกันกับที่ทำให้เกิดอาการของโรคอีสุกอีใส ซึ่งคนที่เคยเป็นโรคนี้แล้วตัวไวรัสอาจจะยังอยู่ในร่างกาย โดยไม่ก่อให้เกิดโรคได้หลายปี แต่เมื่อก่อโรคก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบ โดยเฉพาะในตำแหน่งที่ทำให้เกิดโรค

นอกจากนี้ในผู้ป่วยบางราย อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น เชื้อเริม งูสวัด ที่แฝงอยู่ในปมประสาท หากร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำลงจะทำให้เกิดโรคนี้ได้ ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นทันที และมักจะเกิดขึ้นภายใน 48 ชม.

อาการของโรคแรมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม

  • อาการอักเสบทั่วไป ซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะที่
  • ผู้ป่วยจะมีอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณใบหูของข้างที่เกิดอาการ หรืออาจจะมีไข้ต่ำๆ รู้สึกไม่สบายตัวร่วมด้วยได้
  • จะพบตุ่มน้ำใส ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของไวรัสขนิดนี้ เกิดขึ้นที่บริเวณใบหู โดยตุ่มน้ำจะทำให้รู้สึกแสบๆ คันๆ หรือแสบร้อนมากกว่าตุ่มคันทั่วๆไป
  • การอักเสบติดเชื้อดังกล่าวจะทำให้เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งทำหน้าที่ในการเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้า หูชั้นใน และการรับรสบางส่วนเกิดการอักเสบ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการอัมพาตของใบหน้าครึ่งซึก หลับตาไม่สนิท ทำให้มีอาการเคืองตา หรือล้างหน้าแล้วแสบตาเนื่องจากน้ำสบู่เข้าตา เป็นต้น

ทั้งนี้ โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีกเป็นโรคที่สามารถค่อย ๆ ฟื้นตัวและดีขึ้นเองได้ โดยแพทย์จะวินิจฉัยจากการซักประวัติ การตรวจร่างกายเป็นสำคัญร่วมกับการตรวจการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ

วิธีรักษาโรคอาการอัมพาตใบหน้าครึ่งซึก

อาการอัมพาตครึ่งซึกของใบหน้า สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แม้ไม่ได้มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงใด จึงไม่มีแนวทางหรือวิธีในการป้องกันการเกิดโรคที่ชัดเจน การป้องกันจึงมุ่งเน้นไปที่การดูแลสุขภาพโดยรวม ดังนี้

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • เมื่อพบว่ามีความผิดปกติ การเข้ารับการตรวจรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ผลของการรักษาและการฟื้นฟูนั้นมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า

ที่มา : กรมการแพทย์

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button