ข่าวการเมืองข่าวภูมิภาคอาหาร

ชวนอ่าน พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า หลังสภารับร่างหลักการ หากปลดล็อกแล้วทำอะไรได้บ้าง

รู้จัก พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า คืออะไร หลังผ่านมติสภาวาระแรก เมื่อวันพุธที่ 8 มิถุนายน 2565 หากประกาศใช้จริง ประชาชนสามารถทำอะไรได้บ้าง

เช็กรายละเอียด ร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า ที่เสนอแก้ไขโดยพรรคก้าวไกลเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 65 โดยล่าสุดใน วันที่ 8 มิ.ย. 65 พ.ร.บ.สุราก้าวหน้าได้ผ่านสภาวาะแรกเป็นที่เรียบร้อย ทำให้ความฝันของผู้ประกอบการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายย่อยใกล้จะสำเร็จตามเป้าหมายแล้ว วันนี้ทีมงาน The Thaiger จึงจะมาแนะนำรายละเอียด พ.ร.บ.ฉบับนี้ว่า หากปลดล็อกแล้วประชาชน และผู้ประกอบการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายอื่น ๆ จะสามารถทำอะไรได้บ้าง และมีความเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. ภาษี สรรพสามิต 60 อย่างไร เข้ามาอ่านที่นี่กันได้เลย

อ่านรายละเอียด พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า คืออะไร ต่างกับเงื่อนไข พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต 60 อย่างไร

ใจความหลักของ พ.ร.บ. สุราก้าวหน้า หรือร่าง พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ของพรรคก้าวไกล ที่ได้ผ่านสภาวาระแรกไปแล้ว คือ การปลดล็อกการผลิตสุราเสรี ไม่ให้มีการผูกขาดกับกลุ่มนายทุนใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้

เช็ก พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า ทำอะไรได้บ้าง ต้มเหล้าได้ไหม

  1. ประชาชนทั่วไปสามารถต้มเหล้าดื่มเองได้ทันทีไม่ต้องขออนุญาต และทำได้อย่างถูกกฎหมาย
  2. การเปิดโรงงานผลิตเหล้าขาว ไม่มีกำหนดเงื่อนไขการใช้เครื่องจักร จำนวนคนงาน และอัตราการผลิตต่อปี
  3. ผู้ที่ต้องการเปิดโรงงานผลิตเหล้ากลั่น จากเดิมขั้นต่ำการผลิด 9 หมื่นลิตรต่อวัน ที่ 28 ดีกรี เปลี่ยนเป็นไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์
  4. โรงงานผลิตเบียร์ ไมมีกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำการผลิตต่อปี
  5. การจดทะเบียนเบียร์ไทย ก่อนหน้านี้ต้องมีเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ปรับเป็นไม่มีขั้นต่ำเงินลงทุน
  6. ยกเลิกเกณฑ์การผลิตขั้นต่ำ กรณีเปิดผลิตเพื่อทำการขายในร้าน

พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า ต้มเหล้ากินเองได้ไหม

เปิด พ.ร.บ. ภาษีสรรรพสามิต ปี 60

เปิด พ.ร.บ. ภาษีสรรรพสามิต ปี 60

ซึ่งร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า จะแตกต่างจาก พ.ร.บ.ภาษีสรรรพสามิต ปี 60 ที่มีจุดประสงค์หลัก คือ ข้อกำหนดการผลิดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่มีเงื่อนไขเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของผู้ประกอบการรายเล็ก ซึ่งระบุไว้ในมาตรา 153

  1. มาตรา 153 “ผู้ใดประสงค์จะผลิตสุราหรือมีเครื่องกลั่นสำหรับผลิตสุราไว้ในครอบครองให้ยื่นคำขออนุญาตต่ออธิบดี และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กำหนดในกฎกระทรวง” ซึ่งมีความหมายว่า หากประชาชน หรือใครก็ตาม ได้ทำการผลิด ต้มเหล้า เบียร์ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เอง โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะเป็นแค่การต้มเพื่อดื่มกินเองในบ้าน ก็จะเข้าข่ายผิดกฎหมายตาม มาตรา 5 ที่กำหนดว่า ไม่ให้มีผู้ได้ทำสุรา หรือภาชนะ เครื่องมื่อ สำหรับการกลั่นทำสุราในครอบครอง ยกเว้นจะได้รับอนุญาตจากอธิบดีฯ
  2. ถ้าต้องการผลิตเหล้าขาว จะต้องนำเครื่องจักรที่มีกำลังรวมต่ำกว่า 5 แรงม้า หรือใช้คนงานน้อยกว่า 7 คน
  3. โรงผลิตเหล้ากลั่นประเภทอื่น ๆ และกลั่นชนิดเอทานอล จะต้องมีขนาดกำลังผลิตที่ 9 หมื่นลิตรต่อวัน สำหรับ 28 ดีกรี
  4. ถ้าเป็นโรงงานผลิตเบียร์ ต้องใช้กําลังการผลิตไม่ตำ่กว่า 10 ล้านลิตรต่อปี
  5. ใครคิดอยากจะตั้งบริษัทเบียร์ ก็ต้องมีต้นทุน หรือเงินลงทุน ที่ชําระแล้วไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
  6. สำหรับผู้ที่ต้องการผลิตเบียร์เพื่อขายในร้านค้าทั่วไป ต้องมีขนาดกําลังการผลิต ไม่ต่ำกว่า 1 แสนลิตรต่อปี และไม่เกิน 1 ล้านลิตรต่อปี

พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า รายละเอียด อะไร

โดยหลังจากที่ พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า ได้ไฟเขียวผ่านสภาวาระแรกไปแล้ว ก็ต้องคอยจับตาความเคลื่อนไหวอีกครั้ง ว่าประชาชนคนไทย จะได้ปลดล็อก การผลิตสุราเสรีได้ไหม หากทำได้ก็จะเป็นผลดีต่อคนไทย และผู้ประกอบการรายย่อย ว่าเราอาจจะได้ดื่มสุราฝีมือคนไทย หรือคราฟท์เบียร์ไทย ที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

อ้างอิง : 1 2 3

พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า รายละเอียด

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button