สุขภาพและการแพทย์

บิดเบือน! นั่งหลังค่อม บ่อย ๆ มีความเสี่ยงเป็นหลังค่อมถาวร

จากการเผยแพร่ของข้อมูลที่ว่า การ นั่งหลังค่อม เป็นประจำนั้น เสี่ยงหลังค่อมถาวร มีสาเหตุมาจากพฤติกรรม และจะส่งผลต่อกระดูกสันหลังเสื่อมและพันธุกรรม นั้น เป็นการบิดเบือนข้อมูล

(23 พ.ค. 2565) ตามที่มีข้อมูลในสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องนั่งหลังค่อมบ่อย ๆ เสี่ยงหลังค่อมถาวร มีสาเหตุมาจากพฤติกรรม กระดูกสันหลังเสื่อมและพันธุกรรม ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

จากกรณีที่มีการโพสต์ข้อความเกี่ยวกับสุขภาพโดยระบุว่า นั่งหลังค่อมบ่อย ๆ ระวังจะเป็นหลังค่อมถาวร สาเหตุมาจากพฤติกรรมหรืออิริยาบถที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม รวมถึงความเสื่อมของกระดูกสันหลังตามอายุที่มากขึ้น และมาจากลักษณะทางพันธุกรรมได้อีกด้วย ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า การนั่งหลังค่อมบ่อย ๆ ไม่ทำให้เกิดหลังค่อมถาวร แต่อาจจะทำให้อาการปวดล้ากล้ามเนื้อและส่งผลให้เกิดอาการปวดคอและปวดหลังตามมาได้ ซึ่งในผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมอยู่แล้ว การนั่งหลังค่อมเป็นเวลานานจะให้เกิดอาการปวดกำเริบได้จึงควรหลีกเลี่ยง นอกจากนี้โรคหลังค่อมถาวร พบได้หลายสาเหตุในเด็ก โดยอาจพบตั้งแต่กำเนิดจากโรคพันธุกรรม สำหรับโรคติดเชื้อที่มีการทำลายกระดูกเช่น วัณโรคกระดูกสันหลัง, ภาวะกระดูกหักจากอุบัติเหตุ หรือ โรคกระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง เช่น ankylosing spondylitis ในผู้สูงอายุที่ภาวะโรคกระดูกพรุนที่มีการทรุดตัวของกระดูกสันหลังก็เกิดภาวะหลังค่อมได้

ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.dms.go.th หรือโทร 02 5906000

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การนั่งหลังค่อมบ่อย ๆ ไม่ทำให้เกิดหลังค่อมถาวร แต่อาจจะทำให้อาการปวดล้ากล้ามเนื้อและส่งผลให้เกิดอาการปวดคอและปวดหลังตามมาได้ ซึ่งโรคหลังค่อมถาวร พบได้หลายสาเหตุในเด็ก โดยอาจเกิดจากโรคพันธุกรรม หรือในผู้สูงอายุที่ภาวะโรคกระดูกพรุนที่มีการทรุดตัวของกระดูกสันหลัง

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

 

แหล่งที่มาของข่าว : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย

สามารถติดตามข่าวสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวสุขภาพ

 

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button