สุขภาพและการแพทย์

เตือนภัย ฝีดาษลิง Monkeypox คืออะไร ? ไข้ทรพิษลิง โอกาสติดน้อย แต่ควรระวังไว้

พาไปทำความรู้จักกับโรค ฝีดาษลิง (Monkeypox) หรือ ไข้ทรพิษลิง คืออะไร ? เตือนภัยโรคที่ถูกมองข้าม พบน้อย ติดยาก

เมื่อวันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา สำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักร (UKHSA) แถลงว่า พบผู้ป่วย “ฝีดาษลิง (Monkeypox)” หรือ “ไข้ทรพิษลิง” ในประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นโรคที่พบได้น้อย และหาได้ยากมาก ๆ ไม่สามารถแพร่กระจายได้ง่ายระหว่างคน วันนี้ The Thaiger จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคนี้กัน ดรคที่ถูกมองข้าม แม้ติดยาก แต่ก็มีโอกาศติดได้

ฝีดาษลิง หรือ ไข้ทรพิษลิง คืออะไร เกิดจากอะไร ? ประเทศไทยมีไหม ?

| ฝีดาษลิง (Monkeypox) คืออะไร ?

ฝีดาษลิง ชื่อภาษาอังกฤษว่า Monkeypox เรียกอีกชื่อว่า ไข้ทรพิษลิง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส Orthopoxvirus. เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่ พบได้น้อย โดยโรคนี้มักพบมากในแถบแอฟริกากลาง และแอฟริกาตะวันตก โดยเชื้อไวรัสฝีดาษลิงเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษในคน และฝีดาษวัว พบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก กระต่าย เป็นต้น

| อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิง

ไข้ทรพิษลิง โดยทั่วไปแล้วเป็นโรควินิจฉัยได้ยาก อาการของโรคจะแสดงหลังจากติดเชื้อไปแล้วประมาณ 12 วัน โดยมีอาการคล้ายโรคฝีดาษลิง มีลักษณะอาการดังนี้

  • มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดกล้ามเนื้อและอ่อนเพลีย บางกรณีอาจมีอาการไอหรือปวดหลังร่วมด้วย
  • หลังจากมีไข้ประมาณ 1 – 3 วัน ผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้นโดยเริ่มจากใบหน้าแล้วแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
  • ผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง และสุดท้ายตุ่มหนองจะมีสะเก็ดคลุมแล้วหลุดออกมา

อาการป่วยดังกล่าวจะเป็นอยู่ประมาณ 2 – 4 สัปดาห์โดย ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้ แต่ในกรณีผู้ที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำหรือมีโรคประจำตัว อาจเกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น ปอดบวม หรือเสียชีวิต

ฝีดาษลิง Monkeypox คืออะไร
Credit WHO.int

| วิธีการป้องกันโรคฝีดาษลิง (Monkeypox)

การฉีดวัคซีน ควรทำเฉพาะในบุคคลที่ต้องทำงานที่มีความเสี่ยง หรือใกล้ชิดกับคน หรือสัตว์ที่ติดเชื้อเท่านั้น และวัคซีนยังสามารถรับได้ภายหลังการได้รับเชื้อไม่เกิน 14 วัน ในการป้องกันดรคดังกล่าว มีวิธีการดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่วยโดยเฉพาะลิง และหนู
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรงและสิ่งของของผู้ป่วย รวมถึงลมหายใจของผู้ป่วย
  • หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลทำความสะอาดทุกครั้ง หลังสัมผัสสัตว์ หรือสัมผัสสิ่งของสาธารณะ
  • ใช้ผ้าปิดจมูกและปาก เมื่อไปในสถานที่เสี่ยงมีโรคระบาด
  • ถ้าพบผู้ป่วย ให้แยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อออกจากผู้อื่น
  • การฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ

ปัจจุบันในประเทศไทย ยังไม่เคยมีรายงานการพบผู้ติดเชื้อโรคฝีดาษลิง แต่อาจมีความเสี่ยงในประชาชนบางกลุ่ม ทั้งชาวบ้านที่มีวิถีชีวิตร่วมกับลิง หรือนักท่องเที่ยวที่นำพาหะมาจากเดินทางไป หรือมาจากประเทศที่พบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง ดังนั้นแล้ว ใครที่มีอาการดังที่กล่าวข้างต้น ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เพื่อไม่ให้เชื้อไวรัสนั้นแพร่ไปยังที่อื่น ๆ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก 1 2

? สามารถติดตามสาระน่ารู้ต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button