สุขภาพและการแพทย์

ทุเรียนกินกับเบียร์ได้ไหม ? ฟังคำตอบชัด ๆ จาก ‘กรมอนามัย’ อีกครั้ง ที่นี่

กินทุเรียนกับเบียร์ ได้ไหม เป็นอะไรไหม ทุเรียนห้ามกินกับอะไร ทำไมห้ามกินทุเรียนกับแอลกอฮอล์ ห้ามกินเหล้ากับผลไม้อะไร ไขข้อสงสัยทั้งหมด โดยข้อมูลจาก กรมอนามัยดูที่นี่

กินทุเรียนกับเบียร์ได้ไหม เป็นอะไรไหม ทุเรียนห้ามกินกับอะไร ทำไมห้ามกินทุเรียนกับแอลกอฮอล์ ? เชื่อว่าคำถามข้างต้นหลายคนน่าจะคุ้นเคยดีกับขอสงสัยในการบริโภค หรือ รับประทานเมนูเครื่องดื่มและอาหาร 2 ชนิดนี้พร้อมกันจะเกิดผลเสียหรือเกิดอะไรขึ้นกับร่างกาย ซึ่งขออนุญาตไขคำตอบให้อย่างรวดเร็ว โดยอ้างอิงข้อมูลจาก “กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข” ยืนยันชัดเจน ทุเรียนห้ามกินควบคู่กับแอลกอฮอล์ เพราะอาทำให้ร่างกายร้อนจนเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

ข้อมูลเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2562 แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย ระบุถึงสาเหตุที่ไม่ควรกินทุเรียนร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะว่า

” ทุเรียนเป็นอาหารที่มีไขมัน และคาร์โบไฮเดรตสูง ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ให้พลังงานสูงเช่นเดียวกัน เมื่อกินทุเรียน ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร่างกายจะได้รับพลังงานที่มากเกินไป ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดกระบวนการเผาผลาญเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องใช้น้ำจำนวนมาก ทำให้ร่างกายเกิดความร้อนสูงมากกว่าปกติ อาจเป็นผลทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ”

รูปทุเรียน
ภาพ Gliezl Bancal @gliezl

อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้หากกินทุเรียนกับเบียร์

  • อาการหน้าร้อนวูบวาบ
  • สั่น ง่วงซึม
  • อาเจียน คลื่นไส้

ทั้งนี้ หากเกิดอการดังกล่าวแล้วหมดสติจนไม่สามารถนำส่งโรงพยาบาลได้ทัน อาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

กินทุเรียนยังไง ? ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย + กินทุเรียนกับเบียร์ วิธีแก้

ทุเรียนห้ามกินกับอะไร
ภาพ @jimteo

การกินทุเรียนที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ควรคำนึงถึงกินในปริมาณที่เหมาะสม และควรกินผลไม้หลากหลายชนิดในแต่ละวัน

อาจกินทุเรียนคู่กับมังคุด เพราะมังคุดเป็นผลไม้ที่มี “ฤทธิ์เย็น” ที่ช่วยต้านความร้อนที่เกิดจากกินทุเรียนได้ อีกทั้ง มังคุด มีเส้นใยอาหารสูง มีสารต้านการอักเสบช่วยแก้ร้อนใน และยังมีน้ำในปริมาณมากด้วย

ทั้งนี้ ทุเรียนไม่ได้เป็นผลไม้ต้องห้าม หากอยากกินหรือชอบกิน สามารถกินได้ แต่กินในปริมาณที่เหมาะสม และออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน เพื่อช่วยเผาพลาญพลังงานส่วนเกินที่ร่างกายได้รับ

ขอบคุณข้อมูล : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button