ข่าวข่าวภูมิภาค

เสาหลักยางพารา ดราม่าสนั่นโซเชียล กรมทางหลวงแจงแล้ว ปลอดภัย-ช่วยสวนยาง

เสาหลักนำทางยางพารา อธิบดีกรมทางหลวง แจงกรณีติดตั้ง เสาหลักนำทาง ปลอดภัยผู้ใช้ทาง ช่วยชาวสวนยาง ในช่วงราคายางตกต่ำ ยันโปร่งใส ตามระเบียบ กฎหมาย

กรมทางหลวง ชี้แจง กรณี หลักนำทางยางพารา ที่ติดตั้งบนทางหลวง จังหวัดน่าน ตามที่มีข่าวปรากฎในโซเชียลขณะนี้ กรณีที่มีการแชร์ภาพ เสานำทาง หรือเสาหลักลาย ริมทางข้าง โพสต์ลงในกลุ่ม “เล่าขวัญเมืองน่าน” โดยระบุข้อความว่า “ขอโทษครับ เช้านี้ขับรถไปทำงาน พอดีปวดฉี่เลยจอดแวะข้างทาง สงสัยผมจะฉี่แรงไปหน่อย หลักลายเลยแตก เลยทำให้ทราบว่า ข้างในมันเป็นแบบนี้นี่เอง “

เสาหลักยางพารา หลักนำทางยางพารา ราคา
ภาพ Facebook เล่าขวัญเมืองน่าน

ภายหลังเป็นกระแสวิจารณ์พร้อมตั้งคำถามถึงคุณภาพการติดตั้งและราคา ล่าสุดวันนี้ (6 พ.ค.65) นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นทั้งหมด ยืนยัน หลักนำทางยางธรรมชาติที่ผลิต ได้ทำการออกแบบ ตามมาตรฐานตามข้อกำหนด โดยคณะกรรมการร่วมหลายฝ่าย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้ทาง และประโยชน์สูงสุดกับเกษตรกรชาวสวนยาง ในภาวะที่ราคายางตกต่ำช่วงปีที่ผ่านมา

โดยสืบเนื่องจากในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2564 กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท ได้มีการนำยางพารามาใช้ในอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยตามนโยบายรัฐบาล ที่ส่งเสริมการใช้ยางพาราภายในประเทศ โดยใช้ เสาหลักนําทางยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post : RGP) เพื่อสนับสนุนการใช้ยางพารา โดยบูรณาการความร่วมมือทำข้อตกลง (MOU) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2563

ปมดราม่า โลกโซเชียลสงสัย วัสดุข้างในเสาหลักนำทาง

สำหรับการจัดซื้ออจัดจ้าง เสาหลักกิโลยางพารา “แขวงทางหลวง” เป็นผู้ดำเนินการซื้อโดยตรงจากสหกรณ์ชาวสวนยาง และนำมาติดตั้ง เมื่อเดือน ก.ค. 2564 ที่ผ่านมา ส่วนที่โพสต์ในโซเชียลมีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับวัสดุเนื้อในของ หลักนำทางดังกล่าว

กรมทางหลวง ระบุ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการติดตั้ง และสามารถติดตั้งได้รวดเร็วขึ้น โดยคุณสมบัติของวัสดุที่นำมาผลิตหลักนำทางยางธรรมชาตินั้น ตามแบบด้านในให้เป็นเสาหลักกลวง มีความยืดหยุ่น ดังนั้นในการติดตั้งบนทางหลวง จึงได้มีการประยุกต์ใส่แกนลงในเสา เช่น ไม้ไผ่ ไม้ยูคา

ทั้งนี้ การดำเนินการติดตั้งเสาหลักนำทางยางพาราบนทางหลวง กรมทางหลวง ระบุ เป็นไปตามหลักวิศวกรรมงานทาง เพื่อความปลอดภัยกับผู้ใช้ทาง และเป็นการช่วยเหลือเกษตรชาวสวนยาง ในช่วงที่ราคายางตกต่ำ และขอยืนยันว่า เป็นการดำเนินการด้วยความโปร่งใส ตามระเบียบ กฏหมายที่เกี่ยวข้อง ทุกประการ

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button