การเงิน

สินเชื่อ สร้างงานสร้างอาชีพ จาก ธ.ออมสิน (GSB) วงเงินสูงสุดไม่เกิน 3 แสนบาท

กลับมาดูกันอีกครั้งกับ สินเชื่อ สร้างงานสร้างอาชีพ จากทางธนาคารออมสิน (GSB) ที่เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยมีวงเงินสูงสุดไม่เกิน 3 แสนบาท

(5 พ.ค. 2565) ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงอยู่เรื่อย ๆ กับผู้ประกอบอาชีพบางประเภท ทางธนาคารออมสิน (GSB) จึงได้มีการออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่เมื่อปีที่ผ่านมากับ สินเชื่อ สร้างงานสร้างอาชีพ ที่มีการให้กูเได้ภายใต้วงเงินสูงสุดไม่เกิน 3 แสนบาท

Advertisements

ในส่วนของรายละเอียดของโครงการสินเชื่อ สร้างงานสร้างอาชีพ จากทางธนาคารออมสิน (GSB) นั้น มีด้วยกันดังนี้

1. ประเภท และวัตถุประสงค์ของสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ

สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ จากทางธนาคารออมสิน (GSB) นั้น จะเป็นสินเชื่อประเภทเงินกู้ระยะยาว (L/T) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเงินทุนเริ่มต้นในการประกอบอาชีพ หรือเสริมสภาพคล่องในการประกอบอาชีพ และบรรเทาความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพจากการได้รับผลกระทบการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งต้องไม่เป็นการนำไป Refinance สินเชื่อเช่าซื้อ

2. วงเงินกู้ประจำสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ

สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพนั้น มีวงเงินที่เปิดให้กู้ได้ไม่เกิน 300,000 บาทต่อราย โดยแยกตามกลุ่มอาชีพ ดังนี้

Advertisements

ผู้ประกอบวิชาชีพช่าง เช่น ช่างปูน ช่างแอร์ ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อม ช่างซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้ประกอบอาชีพเสริมสวย / ตัดผม เป็นต้น จะได้รับวงเงินกู้ไม่เกิน 50,000 บาท

ผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่ใช่ช่าง เช่น จำหน่ายสินค้า online การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง การจัดดอกไม้ เป็นต้น จะได้รับวงเงินกู้ไม่เกิน 50,000 บาท

ผู้ขับขี่รถสาธารณะ ประกอบด้วย ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ / รถตู้สาธารณะ / รถรับจ้างขนส่งสินค้า จะได้รับวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท

ผู้ประกอบการร้านค้าแฟรนไชส์ จะได้รับวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท

ผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีสถานที่จำหน่ายที่แน่นอน เช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง โชห่วย แฟรนไชส์ ร้านนวดแผนไทย ร้านสปา อู่ซ่อมรถ เป็นต้น จะได้รับวงเงินกู้ไม่เกิน 300,000 บาท

3. อัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาชำระคืนเงินกู้จากสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ

สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพจะมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 3.99 ต่อปี (Effective Rate) ตลอดอายุสัญญากู้เงิน และมีกรอบเวลาในการชำระเงินสูงสุดไม่เกิน 5 ปี (60 งวด) รวมกับระยะเวลาปลอดชำระเงินงวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) 6 งวดแรก โดยเริ่มชำระตั้งแต่งวดที่ 7 เป็นต้นไป จนกว่าจะปิดบัญชีหรือครบสัญญา

4. หลักประกันการกู้สำหรับสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ

สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพจะแบ่งหลักเกณฑ์การใช้งานหลักประกันตามกรอบวงเงิน 2 ช่วงดังนี้

กรณี วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ไม่มีหลักประกัน (Clean Loan)

กรณี วงเงินกู้เกิน 100,000-300,000 บาท ใช้บุคคลค้ำประกัน โดยบุคคลค้ำประกันจะต้องมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของวงเงินกู้

5. คุณสมบัติของผู้ขอกู้สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ

ผู้ที่มีความประสงค์ในการขอกู้สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพนั้น จะต้องมีหลักเหณฑ์ดังต่อไปนี้

– เป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์

– มีถิ่นที่อยู่อาศัย และ สถานประกอบการแน่นอน

– ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ผู้บริหาร หรือกรรมการของธนาคารออมสิน

– เป็นผู้เริ่มประกอบอาชีพ / ผู้ประกอบการรายย่อย / ผู้ประกอบการขนาดเล็ก / ผู้ขับขี่รถสาธารณะ ที่ผ่านการฝึกอบรมจากหน่วยงานภาครัฐ / เอกชน ที่มีความน่าเชื่อถือ หรือ มีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพดังกล่าวมาแล้ว แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

  1. ผู้เริ่มประกอบอาชีพ / ผู้ประกอบการรายย่อย ประกอบด้วย ผู้ที่ผ่านการอบรมอาชีพ “ช่าง” ทุกประเภท เช่น ช่างปูน ช่างแอร์ ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อม ช่างซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้ประกอบอาชีพเสริมสวย / ตัดผม เป็นต้น และ ผู้ที่ไม่ใช่ช่าง เช่น จำหน่ายสินค้า online การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง การจัดดอกไม้ เป็นต้น โดยมีใบประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร ที่ผ่านการอบรมจากหน่วยงานรัฐ / เอกชน หรือเอกสารอื่น ๆ ตามประเภทของอาชีพ
  2. ผู้ขับขี่รถสาธารณะ ประกอบด้วย ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ / รถตู้สาธารณะ / รถรับจ้างขนส่งสินค้า โดยมีใบอนุญาตขับขี่รถสาธารณะ หรือเอกสารอื่น ๆ ตามประเภทของอาชีพ
  3. ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ประกอบด้วย ผู้ประกอบการที่มีสถานที่จำหน่าย หรือสถานที่ให้บริการ ที่แน่นอน เช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง โชห่วย แฟรนไชส์ ร้านนวดแผนไทย ร้านสปา อู่ซ่อมรถ เป็นต้น โดยมีทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียนการค้า สัญญาแฟรนไชส์ หรือเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของอื่นๆ

6. เอกสารที่ใช้งานประกอบการกู้สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ

การดำเนินการกู้สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ จะต้องมีการใช้งานเอกสารต่าง ๆ ที่ทางธนาคารออมสินต้องการประกอบการพิจารณา โดยเอกสารต่าง ๆ ที่ว่านั้น ก็จะแบ่งไปตามสายอาชีพและมีด้วยกันดังนี้

ผู้ประกอบวิชาชีพช่าง

  1. บัตรประชาชนผู้ขอกู้
  2. ทะเบียนบ้านผู้ขอกู้
  3. ใบประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร ที่ผ่านการอบรมจากหน่วยงานรัฐ / เอกชน หรือเอกสารอื่น ๆ ตามประเภทของอาชีพ (ฉบับจริง)
  4. รูปถ่ายสถานประกอบการ (ถ้ามี)

ผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่ใช่ช่าง

  1. บัตรประชาชนผู้ขอกู้
  2. ทะเบียนบ้านผู้ขอกู้
  3. ใบประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร ที่ผ่านการอบรมจากหน่วยงานรัฐ / เอกชน หรือเอกสารอื่น ๆ ตามประเภทของอาชีพ (ฉบับจริง)
  4. รูปถ่ายสถานประกอบการ (ถ้ามี)

ผู้ขับขี่รถสาธารณะ

  1. บัตรประชาชนผู้ขอกู้
  2. ทะเบียนบ้านผู้ขอกู้
  3. ใบอนุญาตขับขี่รถสาธารณะ (ฉบับจริง)
  4. รูปถ่ายสถานประกอบการ (ถ้ามี)

ผู้ประกอบการร้านค้าแฟรนไชส์

  1. บัตรประชาชนผู้ขอกู้
  2. ทะเบียนบ้านผู้ขอกู้
  3. เอกสารที่รับรองจากแฟรนไชส์ซอ เช่น สัญญาจะซื้อจะขาย / สัญญามัดจำ / หนังสือผ่านสิทธิ เป็นต้น
  4. เอกสารประมาณการ รายรับ-รายจ่าย ของธุรกิจแฟรนไชส์ (ตัวอย่างแบบฟอร์มเอกสารตาม Link นี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำเอกสารในการยื่นขอกู้)
  5. รูปถ่ายสถานประกอบการ (ถ้ามี)

ผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีสถานที่จำหน่ายที่แน่นอน

  1. บัตรประชาชนผู้ขอกู้
  2. ทะเบียนบ้านผู้ขอกู้
  3. บัญชีรับจ่าย / Statement รายได้จากสถานประกอบการ ย้อนหลัง 6 เดือน
  4. ทะเบียนการค้า / ทะเบียนพาณิชย์ ของสถานประกอบการ
  5. รูปถ่ายสถานประกอบการ (ถ้ามี)

7. ระยะเวลาดำเนินโครงการสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ

ผู้ที่สนใจสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพสามารถดำเนินการยื่นเอกสาร ณ ธนาคารออมสิน โดยจะต้องอนุมัติและจัดทำนิติกรรมสัญญาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2565 หรือจนกว่าวงเงินโครงการจะหมด (First Come First Serve)

 

ผู้ที่มีความสนใจ และมีความต้องการดำเนินการกู้ สินเชื่อ สร้างงานสร้างอาชีพ สามารถศึกษาข้อมูล – ดำเนินการได้ที่นี่ : ธนาคารออมสิน (GSB)

 

สามารถติดตามข่าวการเงินเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวการเงิน

 

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button