ผู้ชายผู้หญิงไลฟ์สไตล์

โรคฮิสทีเรีย คืออะไร ผู้หญิง ผู้ชาย ใครเสี่ยงกว่า ไขสาเหตุ การขาดความรักไม่ได้ มีคำตอบ

โรคฮิสทีเรีย คืออะไร ? เชื่อว่าจะต้องมีใครหลายคน เคยได้ยินชื่อของโรค Hysteria กันมาบ้างแล้ว โดยโรคนี้ กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้งในช่วงปี 2022 จากการพิจารณาคดีระหว่าง จอห์นนี เดปป์ (Johnny Depp) และ แอมเบอร์ เฮิร์ด (Amber Heard) ที่ล่าสุด ได้มีการพูดถึงโรคนี้ในชั้นศาล วันนี้ The Thaiger จึงอยากถือโอกาส พาทุกคนไปรู้จักรายละเอียดของโรคนี้ด้วยกันว่า โรคฮีสทีเรีย เกิดจากอะไร ชายหรือหญิง ใครเสี่ยงมากกว่ากัน แนวทางการรักษา ต้องทำอย่างไรบ้าง ใครพร้อมแล้ว ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันได้เลย ?

พาไปรู้จัก โรคฮิสทีเรีย คืออะไร เป็นแล้วมีแนวทางการรักษาอย่างไร ใครมีโอกาสเป็นได้บ้าง 2022

Advertisements

โรคฮิสทีเรีย คืออะไร (Hysteria) โรคทางจิตเวช ที่ควรรู้

Hysteria หรือ โรคฮิสทีเรีย คือโรคที่มักเกิดการเข้าใจผิดว่า เป็นโรคขาดเซ็กส์หรือผู้ชายไม่ได้ (สับสนกับโรคที่มีชื่อว่า โรคนิมโฟมาเนีย Nymphomania) แต่ความจริงแล้ว โรคฮิสทีเรีย เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ถือเป็นโรคจิตเวชชนิดหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาในเรื่องของการควบคุมอารมณ์หรือความวิตกกังวลของตัวเอง

โรคฮิสทีเรีย ถือเป็นโรคที่เกิดจากสภาพจิตใจของผู้ป่วย โดยจะมีอาการหลัก ๆ คือ การแสดงออกมามากเกินจริง ขาดการยับยั้งใจ อารามณ์แปรปรวน หากเป็นหนัก อาจถึงขั้นกล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถพูดได้ หรือเป็นอัมพาตได้เลย

ฉะนั้นหากถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้แล้ว จะต้องรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้อาการดีขึ้น ทั้งนี้ จะต้องใช้เวลาในการรักษา และปรับพฤติกรรมทางกายใหม่ให้เหมาะสมขึ้น ผู้ที่ใช้ชีวิตใกล้ชิดผู้ป่วย จึงจำเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ และมีความอดทนสูง

Advertisements

อาการ โรคฮิสทีเรีย มีกี่ลักษณะ ?

อาการ โรคฮิสทีเรีย มีกี่ลักษณะ เกิดได้ใน ผู้หญิง หรือ ผู้ชาย ?

ในทางการแพทย์ โรคฮิสทีเรีย เกิดได้ทั้งใน ผู้ชาย และ ผู้หญิง โดยได้มีการแบ่งแยกผู้ป่วยที่เป็นโรคฮิสทีเรียเอาไว้ทั้งหมด 2 ลักษณะ ได้แก่ โรคประสาทฮิสทีเรีย (Conversation Reaction) และ โรคบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย (Histrionic Personality Disorder : HPD) ซึ่งจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. โรคประสาทฮิสทีเรีย (Conversation Reaction)

ในกลุ่มผู้ป่วยโรคประสาทฮิสทีเรีย จะมีลักษณะอาการแบบที่เกิดการขัดแย้งในจิตใจอย่างรุนแรง จนทำให้การเคลื่อนไหวผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ประสาทการรับรู้แย่ลง พูดไม่ได้ ฟังไม่ได้ยิน หรือสายตาเริ่มมองไม่เห็น ซึ่งหากตรวจแบบทั่วไป จะไม่พบความผิดปกติใด ๆ เพราะโรคนี้ เป็นโรคทางจิตเวชที่เกิดจากสภาวะจิตใจของผู้ป่วยเอง

2. โรคบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย (Histrionic Personality Disorder: HPD)

ส่วนโรคบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย (Histrionic Personality Disorder: HPD) จะพบได้ค่อนข้างบ่อยในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคฮิสทีเรีย โดยจะมีอาการคือ ต้องการเป็นจุดสนใจ โดยแสดงออกในเรื่องของการพูด และกิริยาที่เห็นได้ชัด รวมถึงไร้ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีอารมณ์แปรปรวนง่าย และอาจมีแนวโน้มทำร้ายตัวเองสูง

สาเหตุ โรคฮิสทีเรีย เกิดจากอะไร ได้บ้าง ?

โรคฮีสทีเรีย เกิดจากการที่ผู้ป่วย มีประสบการณ์ที่ขาดความรักอย่างรุนแรง สะสมมาเป็นเวลานาน หรือเกิดขึ้นเป็นปมฝังใจในช่วงวัยเด็ก ทำให้พบเจอกับความผิดหวัง แต่ก็มีการคาดว่า อาการนี้ เกิดขึ้นมาจากพันธุกรรม และการสั่งสอนของพื้นฐานครอบครัวได้เช่นกัน ทำให้เมื่อขาดการเอาใจใส่ หรือความรัก ผู้ป่วยจึงแสดงอาการเรียกร้องความสนใจ เพื่อใช้ดึงดูดความรัก และความสนใจออกมานั่นเอง

สาเหตุ แนวทางการรักษา โรคฮิสทีเรีย Hysteria

แนวทาง การรักษา โรคฮิสทีเรีย Hysteria

สำหรับการรักษาเมื่อเข้าข่ายเป็นโรคจิตเวช โรคฮิสทีเรีย (Hysteria) สามารถทำได้โดยการเข้าพบจิตแพทย์ และเข้ารับการบำบัดทางจิตใจ เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค นำไปสู่การพูดคุย เพื่อปรับเปลี่ยนความคิด พฤติกรรม ให้สามารถใช้ชีวิตกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม

ทั้งนี้ ในบางอาการสำหรับผู้ป่วยบางประเภท แพทย์อาจใช้ยาในการเข้ามาช่วยเรื่องการรักษาร่วมด้วย โดยจะต้องใช้ระเวลาในการรักษาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ผู้คนรอบตัวผู้ป่วยจึงจำเป็นจะต้องเข้าใจ และมีความอดทนสูง

การดูแลตัวเอง เมื่อป่วยโรคฮีสทีเรีย

ในกรณีที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคฮีสทีเรีย จะต้องเข้าพบจิตแพทย์หรือนักบำบัด รวมถึงขอความช่วยเหลือจากคนรอบตัวเมื่อรู้สึกเครียดหรือกังวล งดเว้นสารเสพติด และหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจทำให้เกิดความเครียด ตลอดจนออกกำลังกายอย่างเหมาะสม รวมถึงพักผ่อนให้เพียงพอและทานอาหารที่มีประโยชน์

จบกันไปแล้วนะคะ กับการพาไปเรียนรู้ว่า โรคฮิสทีเรีย คือ อะไร ซึ่งหากใครที่รู้จัก หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการอย่างนี้ อย่าลืมที่จะให้ความใส่ใจเขาคนนั้นกันด้วยนะ และหากใครที่ไม่แน่ใจว่า ตัวเองหรือคนรอบตัวมีอาการเหล่านี้หรือไม่ ก็สามารถเข้าไปทำแบบทดสอบ ตามโรงพยาบาลทั่วไปได้นะ ส่วนคราวหน้า The Thaiger จะพาไปเรียนรู้สาระดี ๆ อะไรอีก ก็อย่าลืมติดตามกันด้วยนะ ?

อ้างอิง 1 2

เรื่อง : ชนกนันท์ สังข์เอียด

บรรณาธิการ : ทศพล ถิรเจริญสกุล

Lalita C.

นักเขียนคอนเทนต์ SEO แห่งทีมไทยเกอร์ไทย คลุกคลีกับการเขียนตั้งแต่สมัยเรียน ชอบการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ติดตามข่าวสารจากโลกออนไลน์ นำมาสรุป เล่าเรื่องให้เข้าใจง่าย ผ่านมุมมองน่าสนใจที่คนมักจะมองข้าม ทั้งข่าวบันเทิง บทความ งานเขียนแนวไลฟ์สไตล์ รวมถึงทุกอย่างที่อยากให้นักอ่านได้รู้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button