เรียกได้ว่าเป็นปัญหาระดับชาติ ณ เวลานี้เลยก็ได้จากการที่กระทรวงพาณิชย์ ได้ออกมาเปิดเผยในวันที่ 5 เมษายน 2565 ว่าด้วยเรื่องของ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ล่าสุดปัจจุบันในเดือน เงินเฟ้อเดือนมีนา 2565 เทียบกับเดือนมีนาคม 2564 เพิ่มขึ้นถึง 5.73% นับว่าสูงที่สุดสุดในรอบ 13 ปี นับจากปี 2551 ซึ่งการที่อัตราเงินเฟ้อพุ่งตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะนี้ไม่ใช่สัญญาณที่ดีอย่างแน่นอน เพราะนอกจากจะทำให้ระบบเศรษฐกิจสั่นคลอนแล้วนั้น ยังมีผลกระทบต่าง ๆ ตามมาอีกเพียบทั้งราคาน้ำมัน และราคาทองที่พุ่งสูงขึ้น วันนี้ The Thaiger จึงจะพาทุกท่านมาเจาะลึกถึงว่า เงินเฟ้อเดือนมีนา นั้นคืออะไร ต่างจากเงินฝืดอย่างไร เกิดจากอะไร ? มีผลกระทบอย่างไรกับประชาชนทุกคน ยิ่งในช่วงเงินเฟ้อ มี.ค.ที่พุ่งสูงกี่เปอร์เซ็นต์ 2565 มีวิธีการรับมือกับสถานการณ์เงินเฟ้อได้อย่างไร สรุปมาให้อย่างง่าย
เงินเฟ้อเดือนมีนา 2565 เพิ่ม 5.73% คืออะไร ผลกระทบและวิธีแก้ สรุปมาให้ใครได้ประโยชน์
| เงินเฟ้อ คืออะไร มีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง ?
เงินเฟ้อ (ภาษาอังกฤษ : Inflation) คือ ภาวะที่ราคาสินค้า หรือบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง หากเงินเฟ้อเพิ่มมากขึ้น ก็จะส่งผลกระทบกับฐานะ และความเป็นอยู่ของประชาชน หรือถ้าพิจารณาจากค่าของเงิน คือภาวะเศรษฐกิจ ที่ค่าเงินมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้การจะซื้อของชิ้นเดิมนั้นต้องใช้เงินมากกว่าเดิม แปลง่าย ๆ อีกแบบก็คือของแพงขึ้นนั่นเอง
ตัวอย่างของภาวะอัตราเงินเฟ้อที่เห็นได้ชัด ยกตัวอย่างเช่น เมื่อ 40 ปีก่อน เงิน 40 บาทสามารถซื้อก๋วยเตี๋ยวได้ถึง 4 ชาม แต่ในปัจจุบันเงิน 40 บาท กลับสามารถซื้อก๋วยเตี๋ยวได้แค่ชามเดียวเท่านั้น หรือในบางร้านอาจซื้อไม่ได้เลย และในปีก 30 ปีข้างหน้า เงิน 40 บาทก็อาจจะซื้อได้แค่น้ำเปล่าขวดเล็ก ๆ เพียงเดียวเท่านั้น ยิ่งโดยเฉพาะช่วงนี้กับเงินเฟ้อเดือนมีนา ที่กำลัเป้นที่น่าจับตามอง
ดังนั้น เพื่อควบคุมให้สภาวะทางการเงินปรเทศ และฐานเศรษฐกิจไม่แผลผันไปจากเดิมมาดนัก จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเรื่องเงินเฟ้อ คือ กระทรวงพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทย โดยที่กระทรวงพาณิชย์ จะมีหน้าที่ในการการดูแลราคาสินค้าและบริการไม่ให้ผู้ประกอบการฉวยโอกาส หรือเอาเปรียบผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ติดตามรวบรวมข้อมูลราคาสินค้า และบริการที่ผู้บริโภคซื้อเป็นประจำทุกวันจากตลาดและแหล่งจำหน่ายต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อนำมาคำนวณจัดทำเป็นดัชนีที่เรียกว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค และเผยแพร่ให้ประชาชนได้ทราบถึงภาวะเงินเฟ้อ สามารถวัดได้จากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีดังกล่าว ซึ่งเรียกตัวชี้วัดนี้ว่า “อัตราเงินเฟ้อ”
ในส่วนหน้าที่ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดำเนินนโยบายการเงินผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า “อัตราดอกเบี้ยนโยบาย” เพื่อดูแลเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำ และไม่ผันผวน เอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว และความกินดีอยู่ดีของประชาชน
| เงินเฟ้อ สาเหตุเกิดจากอะไร ?
สาเหตุหลักของการเกิดภาวะอัตราเงินเฟ้อนั้น สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 สาเหตุใหญ่ ๆ ได้แก่
- ประชาชนต้องการซื้อสินค้า และบริการเพิ่มขึ้น (ภาษาอังกฤษ : Demand-Pull Inflation) ประกอบกับสินค้าและบริการนั้น ๆ ในตลาดมีไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ขายปรับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น
- ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น (ภาษาอังกฤษ : Cost-Push Inflation) คือ หากผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้ จะทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้นด้วย
จะสังเกตุได้ว่าทั้ง 2 สาเหตุนี้นั้น ล้วนส่งผลกระทบโดยตรงแก่ประชาชน ผู้บริโภคอย่างยิ่งโดยเฉพาะช่วงเดือนมีนาคม 2565 ที่มีภาวะเพิ่มขึ้นถึง 5.73% ทำให้การเพิ่มราคาสินค้าจากผู้ประกอบการ แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคต้องใช้เงินมากขึ้น เพื่อที่จะซื้อสินค้าที่ต้องการ
| เงินเฟ้อ ใครได้ประโยชน์ ?
แน่นอนว่าทุกระบบหมุดเวียนเศรษฐกิจ ต้องมีผู้ได้ และผู้เสียประโยชน์ โดยเกิดเป็นคำถามกันอย่างมากว่าเงินเฟ้อนเช่นนี้ ใครได้ประโยชน์ คำตอบก็คือ รัฐบาลนั่นเอง เพรารัฐบาล สามารถเรียกเก็บภาษีจากประชชนได้มากขึ้น ซึ่งสวนทางกับรายจ่ายของรัฐที่ยังคงที่เท่าเดิม ทำให้ภาวะเงินเฟ้อนั้น รัฐบาลมักจะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ และเม็ดเงินจำนวนมหาศาล
| เงินเฟ้อ เงินฝืด ต่างกันอย่างไร ?
อย่างที่เราได้ทราบกันไปว่าอัตราเงินเฟ้อนั้น คือสินค้ามีราคาเพิ่มสูงขึ้นสานทางกับมูลค่าของเงืนที่ลดลง ภาวะเงินฝืด จึงเป็นเหมือนการสวนทางกัน นั่นก็คือ เมื่อราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุหลายประการ เช่น ความต้องการซื้อสินค้าและบริการของประชาชนลดลง หรือ ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ มีไม่เพียงพอกับความต้องการ
ซึ่งอาจทำให้ราคาสินค้าปรับลดลง ผู้ผลิตเองก็อาจไม่ต้องการผลิตสินค้าและบริการในปริมาณเท่าเดิม ส่งผลให้ลดกำลังการผลิตลง และเป็นผลให้เศรษฐกิจซบเซาในที่สุด ทั้งภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืด เกิดจากการเคลื่อนไหวขึ้นลงของเศรษฐกิจตามวัฏจักร แต่หากมีความรุนแรงและยืดเยื้อ ก็ล้วนส่งผลเสียต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและความกินดีอยู่ดีของประชาชนด้วยกันทั้งสิ้น
| สถานการณ์ เงินเฟ้อเดือนมีนา 2565 เพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์
สถานการณ์เงินเฟ้อล่าสุดในประเทศไทย นั่นเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ ภายหลังการออกมาอัปเดตจากกระทรวงพาณิชย์ ได้มีการชี้ให้เห็นชัดถึงภาวะเงินเฟ้อที่กำลังก่อตัวหนักขึ้นในปัจจุบัน จากเดิมที่เคยประมาณการไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 0.7 – 2.4% ซึ่งในเดือนมีนาคม 2565 กลับพุ่งสูงถึง 5.73% ถือได้ว่าเป็นระดับสูงสุดในรอบ 13 ปีนับตั้งแต่ปีพ.ศ.2551
| สาเหตุของ เงินเฟ้อ ในปัจจุบัน 2022
สำหรับสาเหตุหลักของ อัตราเงินเฟ้อเดือนมีนา 2565 ก็คงจะหนีไม่พ้นสถาการณ์โควิด-19 และภาวะสงครามที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างประเทศรัสเซีย และประเทศยูเครน ที่ส่งผลให้ราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานที่สูงขึ้น 32.43% โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น 31.43% และค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้น 39.95% ซึ่งเป็นไปตามราคาพลังงานในตลาดโลก
ในขณะที่ สินค้าประเภทอาหาร ได้แก่ เนื้อสัตว์ อย่าง หมู ไก่ ไข่ไก่ ผักสดบางชนิด เครื่องประกอบอาหาร และอาหารปรุงสำเร็จ ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบ รวมทั้งฐานราคาในเดือนเดียวกันของปีก่อนอยู่ในระดับต่ำ มีส่วนทำให้เงินเฟ้อในเดือนนี้สูงขึ้น และยังมียังมีสินค้าที่จำเป็นอีกหลายรายการ เช่น ข้าวสาร ผลไม้สด ค่าเช่าบ้าน เสื้อผ้าและรองเท้า ราคาปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง
| ผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อ ที่เพิ่มขึ้น 5.73% กับประชาชนผู้บริโภคในชีวิตประจำวัน
เป็นที่แน่นอนว่าในเวลานี้นั้นเราในฐานะผู้บริโภคย่อมไม่รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจอย่างเลี่ยงไม่ได้ มาดูกันว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากเกิดภาวะ เงินเฟ้อเดือนมีนา 5.73% จะมีอะไรบ้าง
- ราคาน้ำมัน และราคาทอง ในตลาดพุ่งสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ
- ราคาสินค้าต่าง ๆ ในตลาดต่างต้องปรับราคาขึ้น เนื่องจากต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้น
- เมื่อเกิดอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น สินค้ามีราคาแพงขึ้น สวนทางกับยอดขายที่ลดลง
- ความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศลดลง เนื่องจากราคาสินค้าส่งออกของเราจะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาสินค้าออกของประเทศอื่น ๆ
- ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงจนทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบเป็นเวลานาน ประชาชนจะหันไปเก็งกาไรในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง สะสมปัญหาฟองสบู่ (asset price bubble) ในสินทรัพย์ต่าง ๆ
| วิธีแก้ ภาวะเงินเฟ้อ แก้ไขอย่างไร ?
การเกิดอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันกับการพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 13 ปี ในเดือนมีนา 2565 ต้องมีวิธีการจัดการ แก้ไขปัญหา โดยทีมจัดการการเงิน ทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงพาณิชย์ ธปท. โดยมีเครื่องมือ นโยบายการเงิน ใช้ในการดูแลและคาดการเงินเฟ้อ โดยมีคณะกรรมการนโยบายการเงิน ดูแลรักษาระดับของเงินเฟ้อผ่านเครื่องมือ 3 ประเภท ได้แก่
- การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงิน (Reserve Requirement)
- การทำธุรกรรมปรับสภาพคล่องผ่านการตลาดการเงิน (Open Market Operations)
- หน้าต่างปรับสภาพคล่อง ณ สิ้นวัน (Standing Facilities)
ในปัจจุบันเงินเฟ้อเดือนมีนา ไม่ได้มีแค่ประเทศไทยเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบจากภาวะ เงินเฟ้อเดือนมีนา ที่ผ่านมาที่พุ่งขึ้นสูงถึง 5.73% แต่ด้วยโรคระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 และภาวะสงครามของรัสเซีย และยูเครน ก็ยังส่งผลกระทบทำให้เงินเฟ้อไปทั่วโลก ให้ราคาน้ำมันในตลาดพุ่งขึ้นสูง สวนทางกับค่าเงินที่ลดลง รวมถึงราคาสินค้าต่าง ๆ ที่ต้องมีการปรับขึ้นเพื่องจากราคาต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้น ไว้เว้นแม้กระทั่งประเทศมหาอำอาจอย่างสหรัฐ ที่สุดเพิ่มสูงถึง 8% ในปี 2022 งานนี้เห็นทีก็คงต้องถึงเวลารัดเข็มขัดกันแล้ว เพราะเราเองก็ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าปัญหาเงินเฟ้อนั้นจะลากยาวไปจนถึงเมื่อไหร่ และจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอีกไหม ?
เรื่อง : สิทธิโชติ ลังกากาศ
บรรณาธิการ : ทศพล ถิรเจริญสกุล
- รู้จัก กองทุนประกันวินาศภัย คืออะไร ? ช่องทางช่วยเหลือ กรณีบริษัทประกันปิดกิจการ
- เช็กด่วน ! วิธีเคลมประกันโควิด หลัง อาคเนย์ประกันภัย-ไทยประกันภัย ปิดกิจการ
- ยื่นภาษีออนไลน์ 2564 วันสุดท้าย หมดเขต 8 เม.ย. 65 เลยกำหนดมีโทษปรับ!!
- เปิดมาตรการช่วย ปุ๋ยขาดแคลน หลังนายกฯ ห่วงความเดือดร้อนเกษตรกร
- เช็กที่นี่ ! สิทธิประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 เกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้เงินกี่บาท