การอุดฟัน (Dental Filling) คืออะไร และใครบ้างที่ควรอุดฟัน ?
การอุดฟัน (Dental Filling) เป็นหนึ่งในทันตกรรมที่ได้รับความนิยมในการรักษาฟัน และหลาย ๆ คนคงเคยสงสัยว่าจริง ๆ การทำทันตกรรมรูปแบบนี้นั้นคืออะไรกันแน่ วันนี้ Thaiger Medical ให้ความรู้สำหรับการอุดฟัน และพร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการอุดฟันอีกด้วย จะเป็นอย่างไรนั้นถ้าพร้อมแล้วตามเรามาเลย ?⚕️?⚕️
การอุดฟัน (Dental Filling) คืออะไร ?
การอุดฟันหรือ Dental Filling คือวิธีการรักษาฟันที่ผุกร่อน มีอาการสึก ร่อน หรือมีรูโหว่เนื่องจากการที่มีฟันผุ ให้สามารถกลับมาใช้งานได้อย่างปกติ โดยมีความสวยงามและรูปทรงเทียบเคียงของเดิมได้มากที่สุด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้วัสดุที่มีความแข็งแรง รวมไปถึงสีสันที่มีความใกล้เคียง หรือมีความใกล้เคียงกับสีของฟันเช่น อมัลกัม เรซิน ทอง เป็นต้น ซึ่งวัสดุแต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันแต่ก็มีหน้าที่หลักเดียวกันนั่นคือ การป้องกันไม่ให้มีฟันผุเพิ่มขึ้นนั่นเอง
วัสดุชนิดต่าง ๆ ที่นิยมใช้ในการอุดฟัน
อย่างที่ได้กล่าวไปว่าวัสดุที่ใช้ในการอุดฟันนั้นมีหลายประเภทดังนั้น เพื่อให้ได้วัสดุที่สามารถตอบโจทย์ในการรักษาสำหรับผู้เข้ารับบริการได้มากที่สุดนั้น ควรปรึกษาทันตแพทย์ และแจ้งอาการแพ้เพื่อความเหมาะสมในการเลือกวัสดุให้เหมาะสม รวมไปถึงการสอบถามถึงบริเวณที่ต้องการอุดฟัน เพื่อความเหมาะสม ซึ่งวัสดุแต่ละประเภทที่ได้รับความนิยมมี ดังนี้
- วัสดุอมัลกัม (Amalgam) มีอีกชื่อหนึ่งวัสดุโลหะสีเงิน ซึ่งอมัลกัมแปลตามรากศัพท์ได้ว่า “โลหะเข้าปรอท” หรือพวกโลหะกลุ่ม เงิน ดีบุก หรือโลหะผสมปรอทนั่นเอง ซึ่งวัสดุชนิดนี้ผ่านการผสมในสัดส่วนที่ทำให้ไม่เป็นอันตราย มีราคาไม่แพง และมีความแข็งแรง ทำให้ได้รับการนิยมในการใช้อุดฟันที่มีการบดเคี้ยวเช่น ฟันกราม และอาจไม่เหมาะกับพวกที่ต้องการความสวยงาม หากต้องการทำฟันซี่หน้า
- วัสดุทอง (Gold) เป็นวัสดุที่มีความทนทานที่สุด ไม่ระคายเคืองเหงือก แต่มีราคาแพง และจำเป็นต้องมีการทำขึ้นในห้องปฏิบัติการดังนั้นจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมหากเทียบกับวัสดุอุดฟันชนิดอื่น
- วัสดุคอมโพสิท เรซิน (Composite resins fillings) วัสดุชนิดนี้คือ พลาสติกพิเศษที่ใช้สำหรับการทำทันตกรรมเฉพาะ ซึ่งมีสีที่คล้ายคลึงกับสีของเนื้อฟันมากที่สุด ซึ่งเมื่อมองดูแล้วจะสังเกตถึงความกลมกลืนกับเนื้อฟันมากที่สุด แต่มีข้อเสียคือความทนทานที่ไม่เท่ากับวัสดุประเภทอมัลกัม หรือทอง รวมถึงต้องคำนึงถึงการทำความสะอาดที่มากกว่าเนื่องจากวัสดุสามารถเปลี่ยนสีได้ อาทิ ผู้ที่ชอบดื่มชาหรือกาแฟเป็นประจำก็อาจจะทำให้วัสดุกลายเป็นสีเหลืองได้
- วัสดุพอร์ซเลน (Porcelain) หรือการอุดฟันแบบอินเลย์ (Inlays) และออนเลย์ (Onlays) ทำขึ้นภายในห้องปฏิบัติการและนำมาเชื่อมต่อกับฟัน ซึ่งเป็นการรักษาในคนไข้ที่มีการสูญเสียเนื้อฟันไปค่อนข้างมาก อาทิ การผุที่รุนแรง หรือฟันแตกจนเกิดเป็นโพรงขนาดใหญ่ แต่ยังมีเนื้อฟันเหลือให้บูรณะโดยไม่จำเป็นต้องครอบฟันนั่นเอง ซึ่งจุดเด่นของการทำการอุดฟัน (Dental Filling) คือการอุดฟันด้วยวัสดุชิ้นที่คือการครอบคลุมเนื้อที่ส่วนใหญ่
- วัสดุอุดฟันสีขาว ชนิดกลาส ไอดอโนเมอร์ (Glass Lonomer) เป็นวัสดุอุดฟันสีขาว และสามารถใช้ในเด็กเล็กได้ ซึ่งวัสดุชนิดนี้มีจุดเด่นคือ ความสามารถในการปลดปล่อยฟลูออไรด์ออกมาจากตัววัสดุ เพื่อป้องกันวัสดุอุดได้ นอกจจากนั้นยัวสามารถยึดติดกับเนื้อฟันได้ด้วยพันธะทางเคมี จึงเหมาะแก่การรักษาในคนไข้ที่มีอาการเสียวฟันมาก ๆ โดยวัสดุชนิดนี้มีความแข็งแรงน้อย จึงนิยมนำไปใช้ในการอุดฟันน้ำนม หรือฟันแท้ในจุดที่ไม่ได้รับแรงบดเคี้ยว
[lasso ref=”mordee-4″ id=”631435″ link_id=”157390″]
ใครบ้างที่ควรเข้ารับการอุดฟัน (Dental Filling)
ใครที่กำลังมีอาการผิดปกติในการในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับ การรับประทานอาหาร หรือสังเกตว่าฟันของท่านเริ่มมีอาการผุและไม่ปกติ หากปล่อยให้ปัญหาค้างคาก็อาจจะสายเกินไป และอาจจะทำให้เกิดผลลัพธ์คือการสูญเสียฟันได้ ฉะนั้นหากคุณมีอาการเหล่านี้ให้รีบพบทันตแพทย์เพื่อปรึกษาในการรักษาที่เหมาะสมโดยทันที
- ฟันผุ
- ฟันแตก
- ฟันบิ่น
- ช่องว่างระหว่างฟันหน้า
- คอฟันสึก
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการอุดฟัน (Dental Filling)
ในการเข้ารับการอุดฟัน (Dental Filling) ผุ้เข้ารับบริการควรจะต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมเริ่มด้วยการนัดหมายเวลาเข้าพบเพื่อขอรับคำปรึกษาจากทันตแพทย์ รวมไปถึงทำการตรวจสุขภาพเหงือกและฟันก่อนจะเริ่มทำการอุดฟัน และหากมีโรคประจำตัว หรือมียาบางอย่างที่ต้องใช้ประจำ ก็ควรจะแจ้งทันตแพทย์ เพื่อทำการประเมินสิ่งที่ต้องทำก่อนการรักษา
ก่อนเข้ารับการอุดฟันควรแปรงฟัน และทำความสะอาดให้เรียบร้อย รวมไปถึงหากมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำทันตกรรมต่อเนื่องก็ควรจะนำมาด้วย เช่น ฟันปลอม หรือ รีเทนเนอร์ เพื่อให้ฟันที่คุณต้องการจะอุดมีความพอดีกับเครื่องมือของคุณ
ขั้นตอนการอุดฟัน
ขั้นตอนของการอุดฟันนั้นจะมีรายละเอียดยิบย่อยแตกต่างกันออกไปตามแต่ละกรณี แต่มีรูปแบบหลัก ๆ ที่เหมือนกันดังนี้
- ทันตแพทย์จะทำการตรวจช่องปาก และพิจารณาการใช้ชนิดของวัสดุอุดฟันที่เหมาะสมจากรายละเอียดทั้งหมด
- ทำใช้ฟิล์ม x-ray เพื่อสำรวจรอยผุว่าลึกมากเพียงใด หากรอยผุลึกเกินกว่าจะรักษาด้วยวิธีการจัดฟันได้ แพทย์ก็จะใช้วิธีอื่นในการรักษาแทน
- อาจจำเป็นจะต้องมีการใช้ยาชาในบางกรณี และอาจจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์พิเศษอย่างแผ่นยางกั้นน้ำลายอีกทีหนึ่ง เพื่อทำให้ผู้เข้ารับบริการรู้สึกสะดวกสบายมากที่สุด
- ทันตแแพทย์จะกรอฟันส่วนที่ผุ รวมถึงฟันที่มีรอยแตกออก เพื่อปรับรูปร่างของฟันให้เหมาะสมต่อการยึดเกาะของวัสดุที่ใช้อุดฟัน
- หากทำการกรอฟันแล้วพบว่า โพรงฟันอยู่ใกล้กับโพรงประสาทของฟัน นั่นหมายถึงทันตแพทย์อาจจะพิจารณาในการใส่วัสดุเพื่อใช้ในการรองพื้นลงในโพรงฟันก่อน ซึ่งวัสดุพิเศษชิ้นนี้จะสามารถช่วยลดการเสียวฟัน และปกป้องโพรงฟันไม่ให้อักเสบภายหลังการอุดได้
- จากนั้นจึงเริ่มขั้นตอนการอุดฟันซึ่งจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละกรณี
- เมื่อทำการอุดฟันแล้วทันตแพทย์จะทำการตรวจเช็คการสบของฟันอีกรอบหนึ่ง เพื่อป้องกันการเสียวฟันและปวดฟันหลังอุด
- ในบางรายอาจจะมีการนัดหมายเพื่อตรวจเช็คภายหลังการอุดฟันประมาณ 1 ถึง 2 สัปดาห์
การอุดฟันราคาประมาณเท่าไหร่ ?
ราคาของการอุดฟันนั้นแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของฟันที่อุด และวัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน ดังนี้
- วัสดุอมัลกัม ราคาประมาณ 900 ถึง 1,500 บาท
- วัสดุคอมโพสิต เรซิน ราคา 1,000 ถึง 1,700 บาท
- อุดฟันและเคลือบหลุมร่องฟัน 1,300 บาท
- อุดปิดช่องว่างระหว่างฟันหน้าเริ่มต้นที่ 3,000 บาท
และนี่คือข้อมูลที่หน้าสนใจของ การอุดฟัน (Dental Filling) ที่ทาง Thaiger Medical ได้นำมาฝากทุกท่านกันครั้งหน้าเราจะพาทุกท่านไปรู้จักทันตกรรมรูปแบบใดนั้น และหากทุกท่านต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้บริการทันตกรรมสามารถแอดไลน์เข้ามาคุยกันได้ที่นี่ @mordee เลย
เนื้อหาทันตกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจ