ข่าวข่าวภูมิภาคไลฟ์สไตล์

31 มีนาคม วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันที่ 31 มีนาคม วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ วันมหาเจษฎาบดินทร เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

31 มีนาคม คือวันอะไร วันนี้ทีมงานจะมาเฉลยให้อ่านกัน ซึ่งในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี ถูกจัดตั้งให้เป็น วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ วันมหาเจษฎาบดินทร โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2535 เพื่อสำนึกในพระเมตตาธิคุณและพระมหากรุณาธิคุณ อันมีเป็นอเนกประการต่อปวงชนชาวไทยให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา

| วันที่ 31 มีนาคม วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประวัติ

31 มีนาคม วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์) ซึ่งพระนามเดิมของท่านคือ หม่อมเจ้าชายทับ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และเจ้าจอมมารดาเรียม

พระราชสมภพเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 เมื่อ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม เวลาค่ำ 10.30 น. ณ พระราชวังเดิมธนบุรี

เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 7 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริดำรงราชสมบัติได้ 26 ปี 255 วัน โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสวรรคตวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 คํ่า ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สิริพระชนมพรรษา 63 ปี 2 วัน

| พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชกรณียกิจ และการปกครองประเทศ ด้วยความปรีชาสามารถ ในด้านต่าง ๆ ทั้งยังพัฒนากำลังป้องกันราชอาษาจักร โดยโปรดให้สร้างป้อมปราการตามปากแม่น้ำสำคัญ และหัวเมืองชายทะเล

การพัฒนาความมั่นคง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงป้องกันราชอาณาจักรด้วยการส่งกองทัพไปสกัดทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ไม่ให้ยกทัพเข้ามาถึงชานพระนคร

การส่งเสริมการคมนาคมของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีรับสั่งให้มีการขุดคลองมากมาย อาทิ คลองบางขุนเทียน คลองบางขนาก และ คลองหมาหอน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ การค้าขาย ที่กำลังเติบโตในยุคนั้น

การสนับสนุนการศึกษาของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท แต่งตำราเรียนภาษาไทยขึ้นเล่มหนึ่งคือ หนังสือจินดามณี อันเป็นต้นแบบของหนังสือแบบเรียนภาษาไทยในปัจจุบัน

| กำเนิดการพิมพ์ในประเทศไทยครั้งแรกในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

เนื่องจากในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้มีการค้าขายกับชาติตะวันตกมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ หรือหมอบรัดเลย์ ซึ่งได้ส่งเสริมวงการแพทย์ในไทยมากมาย อีกทั้งหมอบรัดเลย์ ยังได้คิดตัวพิมพ์ภาษาไทยครั้งแรกได้อีกด้วย

นับแต่นั้นเป็นต้นมา จึงได้เริ่มมีหนังสือพิมพ์รายปักษ์เป็นภาษาไทยชื่อว่า บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) ทำให้ชาวไทยและต่างชาติในสมัยนั้น สามารถรับรู้ข่าวสารที่เกิดขึ้นได้ในประเทศ

อ้างอิงจาก : 1

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button