ข่าวข่าวการเมืองไลฟ์สไตล์

23 มีนาคม วันเกิด ก.ศ.ร. กุหลาบ นักหนังสือพิมพ์ คนสำคัญในประวัติศาตร์ไทย

23 มีนาคม วันเกิด ก.ศ.ร. กุหลาบ หรือชื่อเต็มว่า กุหลาบ ตฤษณานนท์ (บางแหล่งอ้างอิงระบุชื่อเป็น รุษ ตฤษณานนท์) เป็นนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ และนักวิชาการประวัติศาสตร์ เป็นหนึ่งในผู้นำความคิดทางการเมือง ในยุคสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)

| 23 มีนาคม วันเกิด ก.ศ.ร. กุหลาบ คือใคร ?

กุหลาบ ตฤษณานนท์ เกิดวันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม 2377 ( ค.ศ. 1834) บิดาชื่อ เส็ง มารดาชื่อตรุศ ได้ถวายเป็นบุตรบุญธรรมในพระองค์เจ้ากินรี พระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เมื่อเติบใหญ่ได้มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนความรู้จากตะวันตก และภาษาต่าง ๆ จนเชี่ยวชาญ จนได้เข้าทำงานเป็นเสมียนตามห้างฝรั่ง กระทั่งผันตัวเองมาสู่อาชีพนักหนังสือพิมพ์ในเวลาต่อมา

23 มีนาคมวันเกิด ก.ศ.ร. กุหลาบ ประวัติ ความสำคัญ

เนื่องด้วย กุหลาบ เป็นปัญญาชนชั้นไพร่ ที่มีความรู้หัวก้าวหน้าสมัยใหม่ เกินความเข้าใจของผู้คนส่วนใหญ่ในยุคนั้น เลยเป็นที่จับตามองของชนชั้นอำมาตย์ เกี่ยวกับแนวคิดและมุมมองทางการเมือง กระทั่งได้ถูก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ส่งตัวไปรักษาที่โรงเลี้ยงบ้า (หรือโรงพยาบาลบ้า) โดยไมีมีกำหนดระยะเวลา

เหตุเป็นเพราะ กุหลาบ ได้เขียนและเผยแพร่ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ไทย ที่สวนทางกับของพระราชสำนัก ไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริงด้านวัฒนธรรม องค์ความรู้ต่าง ๆ อีกทั้งยังกล่าวว่าชนชั้นปกครองในอดีตคือผู้ผูกขาดการศึกษาเพียงฝ่ายเดียว

ถึงอย่างไรก็ตาม แม้แนวคิดของ กุหลาบ ในยุคนั้นจะถูกมองว่าเป็นการขบถ อวดรู้ แต่ก็ได้จุดประกายความคิดด้านการศึกษาและการปกครองสมัยใหม่แก่คนไทยในยุคถัดมา เพื่อยกระดับวงการวิชาการไทย และส่งเสริมให้ชาวไทยทุกคนมีสิทธิได้รับองค์ความรู้ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง โดยไม่ให้ผูกขาดอยู่แต่กับชนชั้นปกครองดังเช่นในอดีต

อ้างอิงจาก : 1 2 3

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button