ข่าวผู้ชายผู้หญิงไลฟ์สไตล์

การกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ รับมืออย่างไร? เปิด 5 ข้อสู้ไซเบอร์บูลลี่ ที่นี่

ไซเบอร์บูลลี่ คือ ? มีอะไรบ้าง เปิด 5 วิธีรับมือ การกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ มีวิธีการจัดการและรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร

การสร้างและส่งต่อเรื่องราวต่าง ๆ สามารถทำได้แสนง่ายแค่เพียงใช้ปลายนิ้ว และด้วยความสะดวก รวดเร็วของเทคโนโลยีแบบนี้ แต่นั่นกลับกลายเป็นดาบสองคม ที่สร้างช่องโหว่ให้เกิดการทำร้ายคนอื่นง่าย ๆ หรือที่เรียกว่า “ไซเบอร์บูลลี่” และยังมีกลุ่มคนบางส่วนที่ยังมองว่า เป็นแค่เรื่องเล็กน้อย หยอกล้อกันสนุกสนาน หรือบางครั้งอาจจะรู้ แต่ก็จงใจทำให้อีกฝ่ายได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของเด็กและเยาวชน

ไซเบอร์บูลลี่ คือ ? มีอะไรบ้าง

การระรานทางไซเบอร์” หรือที่เรารู้จักกันอย่างแพร่หลายว่า “การ Cyberbully” คือ การกลั่นแกล้ง คุกคาม หรือระรานผู้อื่นโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ผ่านโซเชียลมีเดีย การส่งข้อความ การเล่นเกม และโทรศัพท์มือถือ การไซเบอร์บูลลี่ เป็นพฤติกรรมที่มักเกิดขึ้นซ้ำ ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว ยั่วโมโห หรือสร้างความอับอายให้แก่ผู้ที่ตกเป็นเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น

  • การกระจายคำโกหกหรือโพสต์รูปที่น่าอับอายของคนบางคนลงบนโซเชียลมีเดีย
  • ส่งข้อความทำร้ายจิตใจหรือข่มขู่ไปหาคนที่เป็นเป้าหมาย
  • แกล้งปลอมเป็นเป้าหมายส่งข้อความที่หยาบคายร้ายกาจไปหาคนอื่น

อย่างไรก็ตาม วันนี้ขอนำแนวทางการรับมือและป้องกันการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ “สสส.” สำหรับตัวเด็กและเยาวชนมาฝาก ดังนี้

1. STOP หยุดระรานกลับด้วยวิธีการเดียวกัน หยุดตอบโต้ เพื่อไม่ให้เกิดการกระทำซ้ำหรือเพิ่มความรุนแรงของเหตุการณ์มากยิ่งขึ้น

2. BLOCK ปิดกั้นผู้ที่ระราน ไม่ให้เขาสามารถติดต่อ โพสต์ หรือระรานเราได้อีก

3. TELL บอกพ่อแม่ ครู หรือบุคคลที่ไว้ใจ เพื่อขอความช่วยเหลือ หากเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายหรือถูกข่มขู่คุกคาม ให้เก็บรวบรวมข้อมูลของผู้กระทำและเหตุการณ์ระรานรังแกไปแจ้งเจ้าหน้าที่

4. REMOVE ลบภาพหรือข้อความระรานรังแกออกทันที โดยอาจติดต่อผู้ดูแลระบบหากเป็นพื้นที่สาธารณะบนโลกออนไลน์

5. BE STRONG เข้มแข็ง อดทน ยิ้มสู้ อย่าไปให้คุณค่ากับคนหรือคำพูดที่ทำร้ายเรา ควรใช้เป็นแรงผลักดันให้เราดีขึ้น ก้าวข้ามปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ

ที่มา : สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button