ข่าวเศรษฐกิจ

กษ. เผย พร้อมเร่งดำเนินการแก้ไข หนี้สินเกษตรกร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เผยว่า มีความพร้อมในการดำเนินการแก้ไข หนี้สินเกษตรกร สำหรับสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.)

หนี้สินเกษตรกร – (21 ก.พ. 2565) นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และในฐานะโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงกรณีเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ในนามกลุ่มสมาชิกเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย (คนท.) ที่เดินทางมาปักหลักชุมนุมบริเวณเกาะกลางถนน หน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาการเกษตร ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง นั้น

โครงการปรับโครงสร้างหนี้ของเกษตรกรสมาชิก กรณีเป็นหนี้กับ 4 ธนาคารของรัฐ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) อยู่ภายใต้การดำเนินงานของ กฟก.

โดยมีคณะกรรมการ กฟก. ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) เป็นประธาน ได้เห็นชอบโครงการปรับโครงสร้างหนี้กับ 4 ธนาคารของรัฐดังกล่าวแล้ว และมีมติให้ กฟก. นำเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งต่อมากระทรวงการคลังมีข้อสังเกตุเกี่ยวกับโครงการ 5 ข้อ โดยปัจจุบัน กฟก. กำลังจัดทำคำชี้แจงตามข้อสังเกตดังกล่าว จึงยังไม่ได้เสนอโครงการมาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ หาก กฟก. เสนอโครงการฯ มา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมจะนำโครงการฯ เสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

สำหรับข้อกังวลของตัวแทนชาวนาภาคกลาง สมาชิกเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย (คนท.) กรณีภาครัฐเอื้อประโยชน์นายทุน ทำให้เกษตรกรรายย่อยเป็นหนี้ นั้น ขอชี้แจงว่า การขอให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้ ชะลอการฟ้องบังคับคดี ยึดทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินของสมาชิก และเร่งดำเนินการโอนหนี้สินเข้าสู่กระบวนการการจัดการหนี้สินของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) นั้น เบื้องต้น กฟก. กับสถาบันเจ้าหนี้ ได้ตกลงกันไว้แล้วว่าจะชะลอการดำเนินการทางกฎหมายกับเกษตรกรสมาชิก กฟก.ทุกราย เว้นแต่จะขาดอายุควา

กรณีการขอลดหนี้และปลดหนี้ให้กับเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ กรณีที่ตาย พิการ ทุพพลภาพ ชราภาพและเจ็บป่วย ให้เหลือไม่เกินร้อยละ 25 ตาม พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ได้บัญญัติไว้ช่วยเหลือเกษตรกรสมาชิกกองทุนฯ นั้น ตามกฏหมาย กฟก.กำหนดเรื่องการ ลด ปลดหนี้ให้เกษตรกรได้ ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี และตราเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่ได้ระบุว่าต้องให้เหลือหนี้ร้อยละ 25 ในส่วนของการขอให้ตรวจสอบปัญหาการทุจริตพร้อมกับปฏิรูปการบริหารงานของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ การบริหารงานภาพรวม มีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ตรวจสอบการทำงานและความโปร่งใสอยู่แล้ว

ทั้งนี้ ขอให้มั่นใจได้ว่า กระทรวงเกษตรฯ มุ่งเน้นการบริหารงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยกระทรวงเกษตรฯ กำลังพิจารณาเสนอให้ตั้งคณะทำงาน กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานและการปฏิรูปองค์กรของ กฟก. เข้าพิจารณาในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาการเกษตรตามข้อเสนอของกลุ่มเกษตรกร

 

แหล่งที่มาของข่าว : รัฐบาลไทย

สามารถติดตามข่าวเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวเศรษฐกิจ

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button