สุขภาพและการแพทย์

เปิดรายชื่อ 4 สมุนไพรไทย บรรเทาโรคซึมเศร้า แถมหาซื้อง่าย

แนะพืชสมุนไพรไทย 4 ชนิด สามารถช่วยบรรเทาอาการโรคซึมเศร้า วิธีรักษา ที่หาซื้อง่ายราคาไม่แพง ประกอบด้วย บัวบก ขมิ้นชัน น้ำมันรำข้าว ฟักทอง

ศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร แนะพืชสมุนไพรไทย 4 ชนิด สามารถช่วยบรรเทาอาการโรคซึมเศร้าได้ แถมหาซื้อง่ายราคาไม่แพง ประกอบด้วย

Advertisements

ขมิ้นชัน มีการศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยซึมเศร้าเปรียบเทียบการใช้ขมิ้นชัน 500 มก. หลังอาหารเช้าและเย็น และยาต้านซึมเศร้า (Fluoxetine20mg) เป็นเวลา 6 สัปดาห์ เปอร์เซ็นต์การตอบสนองผลการรักษา Fluoxetine 64.7% ขมิ้นชัน 62.5% และเมื่อใช้ร่วมกันทั้ง Fluoxetine และขมิ้นชัน ให้ผล 77.8% ขนาดการรับประทาน

ขมิ้นชัน แก้ซึมเศร้า
ภาพ : Prchi Palwe / Unsplash

บัวบก สามารถบรรเทาอาการโรควิตกกังวลได้ ลดความเครียดและลดอาการซึมเศร้าได้ จากการศึกษาการใช้บัวบก 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรควิตกกังวล อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 33 คน พบว่าเริ่มเห็นผลการรักษาที่ 1 เดือน และเห็นผลชัดเจนขึ้นที่ 2 เดือน

ใบบัวบก
ภาพ Facebook สมุนไพรอภัยภูเบศร

การรับประทาน สามารถคั้นน้ำใบบัวบกสดที่แบบเข้มข้น ทานวันละ 1-2 ช้อนชา ใบแห้งใช้ครั้งละ 1-2 ช้อนชา (5-10 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 150 ซีซี รอจนอุ่นหรือประมาณ 10-15 นาที แล้วจิบดื่ม ได้วันละ 2-3 เวลา แคปซูล รับประทานวันละ 2-3 แคปซูล บำรุงสมองคลายเครียดรับประทานต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน

ข้อควรระวัง บัวบกเป็นยาเย็น ไม่ควรกินทีละเยอะๆ ติดต่อกันทุกวัน ถ้ากินสดทุกวัน ควรกินประมาณ 3-6 ใบ คนที่อ่อนเพลียหรือร่างกายอ่อนแอมากไม่ควรกิน ถ้ามีอาการเวียนหัว ใจสั่น ให้หยุดทันที คนที่ม้ามเย็นพร่อง มีอาการท้องอืดแน่นเป็นประจําไม่ควรกิน หญิงที่ให้นมบุตร หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่วางแผนจะตั้งครรภ์ ให้หลีกเลี่ยง

น้ำมันรำข้าว และจมูกข้าวน้ำมันรำข้าว ช่วยทำให้นอนหลับได้ มีฤทธิ์ผ่อนคลาย คลายกังวล ช่วยให้นอนหลับด้วยสาร GABA (Gamma-aminobutyric acid) สารตัวนี้ยังมีฤทธิ์คลายความเครียด คลายกังวล ต้านซึมเศร้า ต้านอนุมูลอิสระ ปกป้องสมอง และปกป้องเซลล์รับแสงจากจอประสาทตา

Advertisements

ฟักทอง มีการศึกษาพบว่าฟักทองช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ โดยทำการสังเกตพฤติกรรมหนูทดลองที่ถูกบังคับให้ว่ายน้ำและเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งจะมีพฤติกรรมลอยตัวนิ่ง เมื่อการให้ฟักทองอบและสารเบต้าแคโรทีน มีผลทำให้ระยะเวลาลอยตัวนิ่งลดลง และยังมีผลเพิ่มระดับเซโรโทนิน (serotonin) และนอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine: NE) ทำให้ภาวะซึมเศร้ากลับสู่ระดับปกติ

ฟักทอง
ภาพ Mae Mu / Unsplash

ที่มา : รัชดา ธนาดิเรก – รองโฆษกรัฐบาล

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button