ข่าวข่าวธุรกิจ

Zoho : ส่อง ‘เทรนด์’ สร้างประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า – กลยุทธ์การปรับตัว ปี 2022

Zoho นำเสนอบทความที่จะเป็นการเข้าไปดูถึงกระแส / เทรนด์ ในการสร้างประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า – กลยุทธ์การปรับตัว ของปี 2022

เทรนด์ กลยุทธ์การปรับตัว 2022 – แน่นอนว่าปี 2021 ถือว่าเป็นปีแห่งการปรับตัว องค์กรรวมถึงพนักงานต่างต้องปรับตัวให้เข้ากับวิธีการทำงานในรูปแบบใหม่ ในขณะเดียวกัน แบรนด์ก็ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอเพื่อตอบสนองและเติมเต็มความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปด้วย

Advertisements

เราได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่แห่งการมอบประสบการณ์ของลูกค้า (CX) การบริการลูกค้าได้ขยายพรมแดนผ่านช่องทางหลากหลาย อีกทั้งยังมีการพัฒนาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้รับบริการได้มากขึ้น บริษัทหลายแห่งได้พยายามเพิ่มประสบการณ์ของลูกค้าให้แก่แบรนด์ของตนมากขึ้นเพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งที่นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่คล้ายคลึงกันอีกทั้งยังมีลูกค้ากลุ่มเดียวกันด้วย

ผู้นำทางธุรกิจกำลังเริ่มหันกลับมามองว่า พฤติกรรมใดที่เกิดขึ้นในช่วงการระบาดของ COVID-19 จะหายไปบ้างหรือพฤติกรรมใดจะยังคงเกิดขึ้นอยู่ แล้วการสร้างประสบการณ์ของลูกค้าจะมีหน้าตาเป็นอย่างไรในปี 2565 เราได้ลองคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ไว้ดังต่อไปนี้

1. กลุ่ม CEO จะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนไปใช้ระบบดิจิทัล (DX)

แม้ว่าการเปลี่ยนโฉมด้วยดิจิทัลนั้นได้เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่ในช่วงสองปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่เคย การให้ความสำคัญแก่ DX อย่างเร่งด่วนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นมากจนกลายเป็นความท้าทายต่อความอยู่รอดของธุรกิจ การเปลี่ยนไปใช้ระบบดิจิทัลนี้ไม่ได้เพียงเข้าไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานภายในเท่านั้น แต่ยังได้ขยายขอบเขตไปทั่วระบบนิเวศของธุรกิจโดยรวมซึ่งอิงจากวิธีการที่จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจและตัดสินใจซื้อสินค้าเป็นหลัก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับฐานรากในหลายองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลูกค้าต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ผ่านช่องทางดิจิทัลในปัจจุบัน

จากรายงานข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภคที่จัดทำโดย PwC กล่าวว่า ช่องทางยอดนิยมที่ชาวสิงคโปร์ซื้อผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ช่องทางออนไลน์ทั้งจากสมาร์ทโฟน ผู้ช่วยสั่งการด้วยเสียงในระบบสมาร์ทโฮม และแท็บเล็ต ดังนั้นในปี 2565 DX ที่เคยเป็นความรับผิดชอบของ CIO จึงมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนผ่านไปอยู่ใต้ความรับผิดชอบของ CEO โดยตรง ซึ่งจะมุ่งเน้นการพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้าอย่างจริงจัง เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้านั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ตอนนี้จึงขึ้นอยู่กับ CEO ที่มีหน้าที่กำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจซึ่งใช้เทคโนโลยีและคำนึงถึงผลลัพธ์เป็นหลัก แทนที่จะใช้เทคโนโลยีสนับสนุนกลยุทธ์ที่มีอยู่เดิม

Advertisements

2. หลักการ BizOps จะพัฒนาไปสู่ระดับยุทธศาสตร์

การเปลี่ยนระบบเป็นดิจิทัลและการยกระดับกลยุทธ์ทางธุรกิจนั้นจะเกิดขึ้นพร้อมกัน การระบาดของ COVID-19 ได้เร่งการนำBizOps ไปปรับใช้ในองค์กร ซึ่งเป็นทิศทางด้านกลยุทธ์ในการรวมกระแสข้อมูลจากส่วนธุรกิจต่าง ๆ เช่น การขาย การตลาด และการบริการลูกค้า เพื่อไม่ให้เกิดการตัดสินใจทางธุรกิจแบบไซโล มากกว่านั้นดูเหมือนว่าหลายองค์กรจะกำหนดให้ปี 2565 เป็นปียุทธศาสตร์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานภายในองค์กร ความสำคัญของทีม BizOps จะเพิ่มมากขึ้นอีกเนื่องจากเทคโนโลยีนั้นได้กลายเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการเติบโต ไม่ใช่เป็นตัวเลือกอีกต่อไป

ในขณะที่หลายบริษัทได้นำโมเดล BizOps มาใช้แล้ว ในไม่ช้าพวกเขาจะได้ใช้ประโยชน์จากโมเดลนี้เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบเชิงการแข่งขันที่สูงขึ้นในการพัฒนาการบริการลูกค้าและสร้างประสบการณ์ลูกค้าที่ดีขึ้น และถ้าหากมองถึงการดำเนินงานของแบรนด์ในปัจจุบัน ทีม BizOps จะเข้าไปเติมเต็มให้แก่ทีมธุรกิจและทีม IT ในการจัดการการเปลี่ยนแปลงภายในให้ราบรื่นยิ่งขึ้น และผสานรวมลูกค้าเข้ากับการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกเหล่านี้

3. ประสบการณ์การบริการตนเองและการสร้างบทสนทนาจะเป็นสิ่งที่แบรนด์ให้ความสำคัญ

กลุ่มแบรนด์ได้เริ่มนำประสบการณ์ดิจิทัลแบบบริการตนเองมาใช้แล้ว ซึ่งลูกค้าก็ชื่นชอบเพราะสามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานและการทำธุรกรรมได้ และในปัจจุบัน ลูกค้าต้องการควบคุมการซื้อขายและจัดการบัญชี ไปจนถึงการปฏิบัติตามข้อกำหนดและการปรับให้ตรงตามความต้องการส่วนบุคคลให้ได้มากที่สุด ดังนั้นการใช้อินเทอร์เฟซสำหรับการสนทนาจะลดความซับซ้อนของกระบวนการเหล่านี้ลง โดยสามารถสร้างบทสนทนาให้เหมือนกับการคุยกับบุคคลจริง ๆ เพื่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ที่เป็นธรรมชาติและมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น

ในปี 2565 เราจะได้เห็นจุดเริ่มต้นของ Zero UI ซึ่งเป็นอินเทอร์เฟซล่องหน โดยจะรับคำสั่งจากการแสดงท่าทางที่เป็นธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น การเคลื่อนไหว เสียง และท่าทาง ส่วนในด้านของผู้บริโภค การใช้ Zero UI เพิ่มขึ้นเพื่อตั้งค่าสมาร์ทโฮมแสดงให้เห็นว่าพวกเขาคาดหวังว่าจะต้องมี Zero UI อยู่ในสินค้าอุปโภคบริโภคภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

4. Trust-by-design จะเป็นความคาดหวังจากลูกค้าและเป็นเป้าหมายสูงสุดของแบรนด์

จากข้อมูลของ Forrester นักการตลาดในเอเชียแปซิฟิก 59% ปฏิบัติตามข้อกำหนดขั้นต่ำตามกฎหมายความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและมีเพียง 30% เท่านั้นที่พัฒนากลยุทธ์เฉพาะที่เอาไว้ใช้สื่อสารกับผู้บริโภคเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ตัวเลขเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น อีกทั้งผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนไปใช้แบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความเป็นส่วนตัวที่สูงขึ้น รวมถึงเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลผู้บริโภคมากกว่าเดิม และยังมีแนวโน้มที่จะซื้อประกันภัยที่มีข้อเสนอในประเด็นดังกล่าวอีกด้วย ซึ่งสามารถพบเห็นได้ในกลุ่มผู้บริโภคจำนวนมากและยังคงเพิ่มจำนวนขึ้นอีกเรื่อย ๆ

5. แพลตฟอร์มเทคโนโลยีแบบครบวงจรจะเป็นตัวเลือกที่คนใช้กัน

ในขณะที่องค์กรต่าง ๆ ได้เร่งการเปลี่ยนระบบไปเป็นดิจิทัล พวกเขาต่างกำลังใช้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีแบบครบวงจรเพื่อให้แน่ใจว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากแพลตฟอร์มแบบครบวงจรจะเป็นแอปพลิเคชันที่ดีที่สุดที่มีการผสานรวม ยังจะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่อีกด้วย เพราะสามารถทำหน้าที่เป็นร้านค้าครบวงจรที่ช่วยให้ธุรกิจดำเนินการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การเข้าถึงบริบทของลูกค้า ระบบอัตโนมัติ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าได้ภายในแพลตฟอร์มเดียว

ในระยะยาว แพลตฟอร์มแบบครบวงจรที่ทำงานได้อย่างราบรื่นจะช่วยลดความเสี่ยงของเทคโนโลยีที่อาจเกิดขึ้นและความเสี่ยงทางการเงินจากการใช้งานแอปพลิเคชันแพตช์เวิร์คจากผู้ให้บริการโซลูชัน

โดยรวมแล้ว เราเชื่อว่าปี 2565 เราจะได้เห็นแบรนด์พยายามพัฒนา CX มากยิ่งขึ้น เนื่องจากความคาดหวังและพฤติกรรมของลูกค้าได้เปลี่ยนแปลงไป โดยให้ความสำคัญกับการยกระดับประสบการณ์ดิจิทัลของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น และดำเนินงานให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด ในขั้นนี้ ขณะที่เรายังคงปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เราคาดการณ์ว่าปีหน้าจะเป็นปีที่สำคัญสำหรับการพัฒนา การลดความซับซ้อน และนำแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศของ CX มาใช้ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงขององค์กรต่อไป

เขียนโดย Gibu Mathew, VP and GM APAC, Zoho Corp

Gibu Mathew, VP and GM APAC, Zoho Corp

 

สามารถติดตามข่าวธุรกิจเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวธุรกิจ

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button