ข่าวข่าวภูมิภาค

ครบรอบ 17 ปี สึนามิถล่มไทย 26 ธันวาคม 2547 โศกนาฏกรรมคลื่นยักษ์

17 ปี สึนามิถล่มไทย ย้อนอดีต 26 ธันวาคม 2547 เกิดอะไรขึ้น ในวันที่ประเทศไทยต้องพบกับความสูญเสียรุนแรงจากคลื่นยักษ์หายนะที่ใครหลายคนไม่ลืม

17 ปีสึนามิ – วันที่ 26 ธันวาคม ย้อนไปเมื่อ 17 ปีก่อน ณ เวลาประมาณ 8 โมงกว่า ๆ ดินแดนประเทศไทยโดยเฉพาะแถบภาคใต้รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนน้อย ๆ ที่พวกเขาไม่รู้จัก ไม่มีการแจ้งเตือน ไม่มีใครรู้ว่า ลึกลงไปในมหาสมุทรอินเดีย ใกล้ด้านตะวันตกของตอนเหนือเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติที่จะคร่าชีวิตประชาชนในหลายประเทศรอบมหาสมุทรอินเดียนับแสนชีวิต

Advertisements

จุดเริ่มต้นของความน่ากลัวคือขนาดแผ่นดินไหวที่มากถึง9.1 ถึง 9.3 แมกนิจูด เป็นแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงเป็นอันดับที่สามตามที่เคยวัดได้จากเครื่องวัดแผ่นดินไหว นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นแผ่นดินไหวที่มีคาบเวลายาวนานที่สุด โดยการสังเกตคาบเวลาอยู่ที่ประมาณ 8.3 ถึง 10 นาที ส่งผลให้แผ่นดินทั่วทั้งผืนโลกเคลื่อนตัวไปถึง 1 เซนติเมตร

วันนั้นเป็นวันแรกที่คนไทยรู้จักคำว่า “คลื่นสึนามิ”

คลื่นสึนามิ คลื่นสึนามิไม่เหมือนกับคลื่นทะเลตามปกติ เพราะมีความยาวคลื่นยาวกว่ามาก แทนที่จะเป็นคลื่นหัวแตก (breaking wave) ตามปกติ แต่จะยกตัวสูงขึ้นเมื่อใกล้ถึงชายฝั่งและสามารถสูงได้ถึง 5-10 เมตร คลื่นสึมานิเกิดได้จากหลายสาเหตุเป็นแรงผลักดันให้ก้อนน้ำมหาศาลซัดชายฝั่ง ทั้งผู้เขาไฟใต้น้ำระเบิด อุกกาบาตตก รวมถึงแผ่นดิน

สัญญาณหนึ่งที่ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิ 26 ธันวาคม 2547 เล่าให้ฟังคือ ก่อนคลื่นยักษ์จะซัด น้ำทะเลลดลงอย่างรวดเร็ว หดเหือดหายไปกลางทะเล แต่พวกเขาไม่รู้ว่านั่นคือก้าวแรกของมัจจุราชที่กำลังมาเยือน

ช่วงสายของวันที่ 26 ธันวาคม หลังจากฉลองวันคริสมาสต์ มวลน้ำสึนามิหลังจากที่พัดถล่มเกาะสุมาตราอินโดนีเซียจนราพนาสูญ มันก็เดินทางมาถึงประเทศไทย

Advertisements

คลื่นสึนามิซัดถล่ม กลืนกินชีวิตผู้คนและบ้านเรือน อาคารในจังหวัดทางภาคใต้ ประกอบด้วย ภูเก็ต พังงา ระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้สูญหาย ทั้งหมด 5,309 คน ผู้สูญหายจำนวนทั้งหมด 3,370 คน ในเหตุการณ์ครั้งนั้นที่เขาหลัก ประเทศไทยได้สูญเสีย คุณพุ่ม เจนเซน พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระโอรสใน ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ด้วย

สิ่งที่สึนามิทำลายลงไปอีกอย่างคือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ภูเก็ต พังงา และกระบี่ เป็นจังหวัดที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเสียชีวิต และบาดเจ็บมากที่สุด มีแหล่งท่องเที่ยวได้รับความเสียหายมาก จำนวน 8 แห่ง คือ

ชายทะเลเขาหลักในอุทยานแห่งชาติเขาหลัก ลำรู่ ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา (เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวเสียชีวิตและบาดเจ็บมากที่สุด)

เกาะสิมิลัน อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

หาดราไวย์ ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดภูเก็ต

หาดกะรน ตำบลกะรน อำเภอเมืองฯ จังหวัดภูเก็ต

หาดกมลา ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

หาดป่าตอง ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

เกาะพีพี ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่

บ้านหาดทรายขาว อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง

จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ คือบทเรียนครั้งมโหฬารของประเทศไทย ทำให้ไทยรู้จักวิธีรับมือและเตรียมพร้อมกับการอพยพ หนีจากคลื่นยักษ์สึนามิเพื่อรักษาชีวิตคนให้ได้มากที่สุด หากเกิดเหตุซ้ำรอยอีกครั้ง

ภาพจาก: วิกิพีเดีย ความเสียหายที่ถนนสายหนึ่งบริเวณป่าตอง จังหวัดภูเก็ต

ภาพจาก: วิกิพีเดีย ความเสียหายที่ถนนสายหนึ่งบริเวณป่าตอง จังหวัดภูเก็ต

สึนามิ 26 ธันวาคม 2547 ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์

เหตุการณ์มหาวิปโยคนี้ ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ดเรื่อง Lo Imposible หรือชื่อไทย 2004 สึนามิ ภูเก็ต เข้าฉายปี 2012 กำกับโดยฆวน อันโตนิโอ บาโยนา จากบทภาพยนตร์ของเซร์ฆิโอ เฆ. ซันเชซ ดัดแปลงจากเรื่องราวของครอบครัวชาวสเปนที่เดินทางมาพักผ่อนที่จังหวัดภูเก็ต เป็นผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 นำแสดงโดยนาโอมิ วัตส์ ยวน แม็คเกรเกอร์ และทอม ฮอลแลนด์

ภาพยนต์แสดงให้เห็นถึงครอบครัวที่กระจัดกระจานกระเซ็นแตกกระสายจากคลื่นยักษ์ที่พัดมาอย่างรวดเร็ว แม่ที่ได้รับบาดเจ็บหนักถูกส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาลด้วยความช่วยเหลือของชาวบ้านในพื้นที่ สุดท้ายครอบครัวต่างกลับมาพบหน้าและกลับบ้านเกิดของตนเอง

Lo Imposible ทำให้ผู้ชมเห็นว่าในความเจ็บปวด บาดแผลทางกายและจิตใจ ยังมีความหวัง น้ำใจที่ตามมาหลังเกิดสึนามิ เพื่อช่วงเยียวยาทั้งทางร่างกาย สภาพจิตใจ และบ้านเรือน

ครบรอบ 16 ปี สึนามิถล่มไทย 26 ธันวาคม 2547 ย้อนอดีตวันนั้นกิดอะไรขึ้น | ข่าวโดย Thaiger

แม้เหตุการณ์จะผ่านมา 16 ปี แล้ว แต่ สึนามิ 26 ธันวาคม 2547 ยังคงติดตรึงอยู่ในความทรงจำของคนไทยเสมอ

ขอบคุณภาพจาก: Lo Imposible

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก: วิกิพีเดีย

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button