การเงิน

ส่อง! วิธีลงทะเบียน ‘ทางด่วนแก้หนี้’ จาก ศคง.

The Thaiger จะพาไปดูกันถึง วิธีการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ ทางด่วนแก้หนี้ จากทางศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย

(21 ธ.ค. 2564) ทาง The Thaiger จะพาไปดูกันถึงวิธีการลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมโครงการ ทางด่วนแก้หนี้ ที่ซึ่งมาจากทางศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีจุดประสงค์เพื่อเป็นช่องทางเสริมสำหรับให้ประชาชนหรือธุรกิจแจ้งขอความช่วยเหลือด้านการผ่อนชำระหนี้ โดย ธปท. จะส่งข้อมูลที่ได้รับไปยังผู้ให้บริการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อไป

โดยวิธีการดำเนินการลงทะเบียนเข้าร่วมนั้นสามารถทำได้ดังนี้

1. ทำการกรอกข้อมูลส่วนตัวดังต่อไปนี้

  • ชื่อ – นามสกุล / ชื่อนิติบุคคล (บริษัท ห้างหุ้นส่วน องค์กร)*

2. ทำการกรอกข้อมูลของผู้ให้บริการทางการเงินที่ต้องการดำเนินการไกล่เกลี่ยหนี้สิน

  • ผู้ให้บริการทางการเงิน (ธนาคาร, บริษัทสินเชื่อ และอื่น ๆ)* : ที่มีภาระผูกพันธ์ (หนี้)
  • แนวทางที่ต้องการเสนอให้ผู้บริการทางการเงินพิจารณา (เลือกได้ไม่เกิน 3 ข้อ)* : เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ให้บริการทางการเงินได้ตัดสินใจ
  • ผลิตภัณฑ์* : ทำการกรอกรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ที่เป็นหนี้ โดยเลือกประเภทของผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และสาขาที่ดำเนินการทำสัญญา
  • สำหรับผู้ที่มีภาระหนี้สินมากกว่าหนึ่งผู้ให้บริการ/ผลิตภัณฑ์ สามารถเพิ่มเติมข้อมูลได้โดยกด ช่องสีเทา (กรณีผู้ให้บริการ) และช่องสีขาว (กรณีผลิตภัณฑ์)

3. เมื่อกรอกข้อมูลทุกอย่างได้ครบตามที่ต้องการแล้วนั้นให้คลิก/กดที่ – กดเพื่อขอรหัสติดตามเรื่อง เพื่อที่จะรับมอบรหัสติดตามเรื่องสำหรับดำเนินการติดตามความคืบหน้าของคำร้องที่ส่งไป ผ่านทาง “ตรวจสอบสถานะคำขอ”

ข้อตกลงในการใช้งาน

– ผู้ใช้บริการให้ข้อมูลตามจริงต่อ ธปท. และยินยอมให้ ธปท. เปิดเผยข้อมูลต่อผู้ให้บริการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งยินยอมให้ผู้ให้บริการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเปิดเผยข้อมูลต่อ ธปท. เพื่อประโยชน์ในการให้ความช่วยเหลือและการประสานงานกัน

– ผู้ใช้บริการต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน และถูกต้อง ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุลหรือชื่อนิติบุคคล (ของลูกหนี้) เลขประจำตัว เบอร์โทรศัพท์มือถือ อีเมล์ ชื่อผู้ให้บริการทางการเงิน ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ เหตุผลหรือคำอธิบายประกอบคำขอ และแนวทางที่ต้องการให้พิจารณา โดยเฉพาะเลขประจำตัวประชาชน และเบอร์โทรศัพท์ พึงตรวจสอบให้ถูกต้อง เพื่อประโยชน์ในการติดต่อกลับและค้นหารายการคำขอ อนึ่ง ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับจะถูกเก็บไว้ 10 ปี หรือจนกว่าจะใช้งานตามวัตถุประสงค์เสร็จสิ้นแล้ว

– ในกรณีที่ผู้ใช้บริการไม่สะดวกที่จะกรอกข้อมูลด้วยตนเอง ผู้ใช้บริการสามารถมอบหมายให้บุคคลอื่นที่เป็นตัวแทน หรือเจ้าหน้าที่ ธปท. กรอกข้อมูลแทนได้ โดยถือว่าผู้ใช้บริการรับรองและยอมรับข้อมูลที่บุคคลอื่นที่เป็นตัวแทน หรือเจ้าหน้าที่ ธปท. ได้กรอกแทน

ผู้ที่มีความประสงค์ และต้องการเข้าร่วมโครงการนั้นสามารถดำเนินการได้ที่นี่ -> ทางด่วนแก้หนี้

 

สามารถติดตามข่าวการเงินเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวการเงิน

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button