ข่าวข่าวภูมิภาค

โซเชียลแห่แชร์เอกสารตั้ง ครูพรพิมล คนเดียวทำ 4 ตำแหน่ง คนปฏิบัติหน้าที่ยันคนเซ็นอนุมัติ

โลกออนไลน์แห่แชร์เอกสารราชการ เป็นคำสั่งของโรงเรียน แต่งตั้งบุคลากรดำรงตำแหน่งต่างๆ ไฮไลท์ คือ ครูพรพิมล คนเดียวควบ 4 ตำแหน่ง

กลายเป็นเรื่องที่พูดถึงอย่างมากบนโลกออนไลน์สำหรับกรณี มีภาพเอกสารราชการซึ่งเป็นคำสั่งของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่งปรากฏพบชื่อของ “ครูพรพิมล” ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ รวม 4 ตำแหน่ง ไล่ตั้งแต่ หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล, หัวหน้ากลุ่มบริหารงานวิชาการ, หัวหน้ากลุ่มบริหารงานงบประมาณ และหัวหน้ากลุ่มบริหารงานทั่วไป เท่านั้นไม่พอเมื่อกวาดสายตาลงมาที่ท้ายเอกสาร ก็พบว่าผู้เซ็นอนุมัติ ก็คือครูพรพิมลคนเดิม ที่อยู่ในตำแหน่ง รักษาการผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นผู้เซ็นอนุมัติคำสั่งแต่งตั้งตนเอง

อย่างไรก็ตามที่มาที่ไปของประเด็นนี้ ความจริงมีเหตุผล เพราะครูพรพิมล เป็นผู้โพสต์เอกสารดังกล่าวเองผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวไว้เมื่อวันที่ 13 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยได้อธิบายไว้ว่าสาเหตุที่เธอต้องดำรงแทบทุกตำแหน่งในโรงเรียน เพราะตอนนี้โรงเรียนที่เธอสอนนั้น เหลือครูแค่ 2 คน คือตัวเองกับครูธุรการอีก 1 คน โดยมีนักเรียนทั้งหมด 40 คน แต่ก็มีครูเกษียณแวะเวียนมาช่วยกันสอน และตอนนี้ก็อยู่ระหว่างรอการจัดสรรอัตรากำลังครูมาเพิ่ม

ส่วนผู้อำนวยการโรงเรียนคนเก่า ย้ายกลับภูมิลำเนา ทำให้เธอต้องรักษาการตำแหน่งดังกล่าวควบไปด้วยอีกตำแหน่ง แต่ก็ยังคงอยู่ในการดูแลของผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายอยู่

ทำอย่างไร ? ถึงจะแก้ปัญหาขาดแคลนครู

อ้างอิงข้อมูลจาก THECITIZEN.PLUS พื้นที่สื่อสารสาธารณะ รูปแบบ Web-blog ของชุมชนพลเมืองนักสื่อสารยุคใหม่ ของไทยพีบีเอส โดยรองศาสตราจารย์ ดร.นงเยาว์ เนาวรัตน์ หัวหน้าศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา เคยพูดถึงประเด็นเรื่องของปัญหาครูขาดแคลน สะท้อนในเชิงคุณภาพอยู่แล้วด้านหนึ่ง หมายถึงว่า การเรียนการสอนของเด็กไม่มีผู้ดูแล

นอกจากนั้น คำว่าครูไม่พอมีอยู่ 2 ความหมาย ในความหมายหนึ่ง คือ จำนวนที่ไม่ได้สัดส่วนกับเด็ก หรือสองเด็กมีครูไม่ครบชั้นเรียน สามต่อมาที่มีผลต่อการเมื่อครูไม่ครบชั้นเด็ก ตัวคุณครูเองต้องแบ่งเวลาไปสอนเช่น ชั่วโมงนี้ไปสอนเด็ก ป.1 อีกครึ่งชั่วโมงไปสอนเด็กป.3 แล้วถ้าเราออกแบบให้เด็กเรียนวันละ 6 ชั่วโมง เด็กเหล่านี้อาจจะได้เรียนเพียงแค่ 3 ชั่วโมง สิ่งนี้ที่พูดมาหมายถึงการเรียนการสอนในรูปแบบปกติที่เรามองเห็นอยู่ในปัจจุบัน

เรื่องครูขาดแคลน คือ หนึ่งเป็นครูที่อยู่ในโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขนาดเล็กส่วนใหญ่จะอยู่ข้างในเมืองและในพื้นที่เขตชายแดน พื้นที่รอบนอก คำถามว่าจะแก้อย่างไร ให้นักเรียนเหล่านี้มีครูครบชั้น ยังไม่พูดถึงเรื่องคุณภาพ หรือครบวิชาเอก ต้องไปแก้ที่กระทรวงเรื่องของอัตรากำลังในการรับครูในขณะนี้ ต้องคิดและคำนวณสูตรอัตราส่วนนักเรียนกับครูใหม่ ต้องมีวิธีคิดและจัดสรรงบประมาณใหม่กำลังครูไม่ไปอยู่ที่สัดส่วนระหว่างเด็กกับครู แต่ต้องไปอยู่ที่จำนวนชั้นเมื่อโรงเรียนมีกี่ชั้นต้องมีครูครบชั้น มีกี่วิชาเอกต้องจัดสรรต้องเปลี่ยนวิธีคิดทั้งระบบในประเทศไทย

ครูพรพิมล ครูผู้ช่วย

ครูพรพิมล ขาดแคลนครู

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button