ข่าว

ครม. ผ่าน แนวทางบริหาร แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา, ลาว, เมียนมา)

คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้ผ่าน แนวทางการบริหาร และจัดการกับการทำงานของ แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา, ลาว, เมียนมา) เพื่อป้องกันโควิด-19

วันนี้ (8 ต.ค. 2564) – คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งประกอบด้วยกลุ่ม แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ผิดกฎหมาย ไม่ได้ขออนุญาตทำงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย กับแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติที่ดำเนินการขออนุญาตทำงานตามมติครม. วันที่ 29 ธ.ค.63 แต่กระบวนการยังไม่แล้วเสร็จ ให้ดำเนินการดังนี้

1. กลุ่มแรงงานผิดกฎหมายที่ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต สามารถอยู่ในราชอาณาจักรและให้ทำงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยต้องดำเนินการดังนี้

– นายจ้างยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ ซึ่งสามารถทำงานและอยู่ในราชอาณาจักรได้ถึง 28 ก.พ.66

– ให้คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานแล้ว ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนหรือประกันสุขภาพ ตรวจโรคต้องห้าม และจัดเก็บอัตลักษณ์บุคคล ภายในวันที่ 31 มี.ค.65 หากไม่ดำเนินการ การอนุญาตทำงานและอยู่ในราชอาณาจักรจะสิ้นสุดลง

– เมื่อแรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนหรือประกันสุขภาพ ตรวจโรคต้องห้าม และจัดเก็บอัตลักษณ์บุคคลแล้ว ให้ตรวจอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ภายในวันที่ 1 ส.ค.65 ซึ่งจะอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวได้ถึง 13 ก.พ.66 หากไม่ดำเนินการจะอยู่ในราชอาณาจักรได้ถึง 1 ส.ค.65

2. กลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ได้ดำเนินการตามมติ ครม.วันที่ 29 ธ.ค.63 แล้ว แต่ยังไม่แล้วเสร็จ โดยขยายเวลายื่นคำขออนุญาตทำงาน จากภายในวันที่ 16 มิ.ย.64 เป็นภายในวันที่ 13 ก.ย.64 เพื่อให้สามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ถึงวันที่ 31 มี.ค.65 หากแรงงานต่างด้าวต้องการจะทำงานในราชอาณาจักรได้ถึงวันที่ 28 ก.พ.66 ต้องตรวจโรคต้องห้าม ภายในวันที่ 18 ต.ค.64 และปรับปรุงทะเบียนประวัติ ภายในวันที่ 31 มี.ค.65

 

แหล่งที่มาของข่าว : Facebook Page – สถานีข่าวกระทรวงการคลัง

สามารถติดตามข่าวเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวเศรษฐกิจ

 

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button