ประวัติ สืบ นาคะเสถียร 1 ก.ย. ครบรอบ 31 ปี เสียชีวิต
ประวัติ สืบ นาคะเสถียร 1 ก.ย. ครบรอบ 31 ปี เสียชีวิต นักอนุรักษ์และนักวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติชาวไทย ที่สร้างการเปลี่ยนแปลง
ถึงแม้ว่าจะจากโลกใบนี้ไปกว่า 31 ปีแล้ว สำหรับนักอนุรักษ์และนักวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติชาวไทยอย่าง สืบ นาคะเสถียร แต่เขาก็ยังเป็นที่จดจำของผู้คนมากมาย โดยเฉพาะผู้ที่รักและอนุรักษ์ทรัพยากรณ์ธรรมชาติ ดังนั้น วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับประวัติของเขากัน
สืบ นาคะเสถียร เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2492 เขามีชื่อเดิมว่า สืบยศ มีชื่อเล่นว่า แดง เกิดที่ตำบลท่างาม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรของนายสลับ นาคะเสถียร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี กับนางบุญเยี่ยม นาคะเสถียร มีพี่น้องทั้งหมดสามคน ตนเองเป็นคนโต ต่อมาเขาได้สมรสกับ นิสา นาคะเสถียร มีบุตรสาวหนึ่งคน คือ ชินรัตน์ นาคะเสถียร
สืบ ศึกษาระดับประถมตอนต้น ที่โรงเรียนประจำจังหวัดปราจีนบุรี มีผลการเรียนดีมาตลอด โดยเมื่อว่าจากเวลาเรียน ก็จะช่วยครอบครัวทำไร่ไถนาอยู่เสมอ ต่อมา ได้ศึกศาต่อที่ โรงเรียนเซนต์หลุยส์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จนจบมัธยมศึกษาปีที่ 5 และได้เข้าศึกษาระดับปริญญาตรี ที่คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จนสำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2514
หลังจากที่เรียนจบ เขาได้เข้าทำงานที่การเคหะแห่งชาติ จนถึงปี พ.ศ. 2517 และได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทในสาขาวิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเข้ารับราชการเป็นพนักงานป่าไม้ตรี กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ เนื่องจากต้องการงานเกี่ยวกับสัตว์ป่า
ในปีพ.ศ. 2522 สืบ ได้รับทุนการศึกษาจากบริติชเคาน์ซิล จึงศึกษาระดับปริญญาโทอีกที่สาขาอนุรักษวิทยา มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ และสำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2524 จากนั้น เขาได้กลับมารับตำแหน่งหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระ ถึงปี พ.ศ. 2526 เขาได้ขอย้ายไปเป็นนักวิชาการประจำกองอนุรักษ์สัตว์ป่า เพื่อทำหน้าที่วิจัยสัตว์ป่าเพียงอย่างเดียว ซึ่งในช่วงนี้ เข้าได้ทำงานทีเขารักอย่างเต็มที่ จึงทำให้เขาผูกพันธ์กับสัตว์และป่าอย่างมาก
ต่อมาก สืบ ได้เป็นหัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าในพื้นที่ ณ แก่งเชี่ยวหลาน และในปีพ.ศ. 2531 เข้าได้ไปทำงานที่ห้วยขาแข้งและพยายามเสนอให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งเป็นมรดกโลกเพื่อเป็นหลักประกันว่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดังกล่าวจะได้รับการพิทักษ์รักษาถาวร แต่ความพยายามของเขานั้น ถือว่าประสบผลสำเร็จน้อย เพราะผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไม่ให้ความสนใจ ชาวบ้านท้องถิ่นก็สนใจปากท้องมากกว่า จึงรับจ้างผู้มีอิทธิพลเข้ารุกรานป่าเสมอมา
จากความกดดันหลายๆด้าน และเพื่อเป็นการเรียกร้องต่อหน่วยงานภาครัฐให้ใส่ใจต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างแท้จริง สืบจึงตัดสินใจประท้วงด้วยการจบชีวิตตัวเองด้วยอาวุธปืนในบ้านพักของสืบที่ห้วยขาแข้ง สองสัปดาห์ต่อมา ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จึงประชุมกำหนดมาตรการป้องกันการบุกรุกป่าห้วยขาแข้ง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ สืบได้พยายามขอให้ประชุมมาแล้วหลายครั้ง จึงมีผู้กล่าวว่า “ถ้าไม่มีเสียงปืนในวันนั้น ก็ไม่มีการประชุมดังกล่าว”
ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการจัดวันเสียชีวิตของสืบ (1 ก.ย.) ให้เป็นวันสืบนาคะเสถียรต่อมา
อ่านข่าวเพิ่มเติม