ข่าวข่าวภูมิภาคเศรษฐกิจ

กพท. ประกาศ 14 เงื่อนไข การบินภายในประเทศ รับ คลายล็อกดาวน์ 1 ก.ย.

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท. / CAAT) ทำการประกาศเปิดเผยเงื่อนไข 14 ข้อสำหรับการบินในเส้นทางภายในประเทศ รับกับการ คลายล็อกดาวน์ ในวันที่ 1 ก.ย.

เมื่อวานนี้ (29 ส.ค. 2564) สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท. / CAAT) ได้ทำการประกาศเปิดเผยถึงเงื่อนไขสำหรับการบินในเส้นทางภายในประเทศ 14 ข้อ เพื่อเป็นการตอบรับการดำเนินการ คลายล็อกดาวน์ ในวันที่ 1 ก.ย. ที่จะถึงนี้

นายสุทธิพงษ์ คงพูล ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) หรือ CAAT ออกประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยเรื่อง แนวปฏิบัติสำหรับผู้ดำเนินการสนามบินและผู้ดำเนินการเดินอากาศในเส้นทางการบินภายในประเทศในระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) (ฉบับที่ 5) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1. ให้ยกเลิก
    • ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง แนวปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการสนามบินและผู้ดำเนินการเดินอากาศในเส้นทางการบินภายในประเทศในระหว่างสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) (ฉบับที่ 3) ประกาศ ณ วันที่ 18กรกฎาคม พ.ศ.2564
    • ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง แนวปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการสนามบินและผู้ดำเนินการเดินอากาศในเส้นทางการบินภายในประเทศในระหว่างสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) (ฉบับที่ 4) ประกาศ ณ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2564
  2. ประกาศแนวปฏิบัติสำหรับผู้ดำเนินการสนามบินและผู้ดำเนินการเดินอากาศในเส้นทางการบินภายในประเทศในระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) (ฉบับที่ 5) โดยให้ประกาศนี้ให้ใช้บังคับแก่เที่ยวบินภายในประเทศ (Domestic Flight) ที่ให้บริการผู้โดยสาร (Passenger Flight) เท่านั้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงเที่ยวบินของอากาศยานส่วนบุคคล
  3. ห้ามมิให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศปฏิบัติการบินรับส่งผู้โดยสารออกจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (พื้นที่สีแดงเข้ม) เว้นแต่เป็นเที่ยวบินดังต่อไปนี้
    • เป็นเที่ยวบินที่เกี่ยวข้องกับโครงการพื้นที่นำร่องเปิดประเทศ (Sandbox) หรือ
    • เป็นเที่ยวบินที่ขอลงฉุกเฉิน (Emergency Landing) หรือขอลงทางเทคนิค (TechnicalLanding) โดยไม่มีผู้โดยสารลงจากเครื่อง หรือ
    • เป็นเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสารที่มีความจำเป็นโดยผู้โดยสารนั้นจะต้องดำเนินการตามเกณฑ์ที่ กำหนดไว้ในเงื่อนไขการเดินทางเข้า/ออกของจังหวัดจุดหมายปลายทาง โดยมีเอกสารยืนยันการได้รับวัคซีนครบเกณฑ์ที่ กำหนดไว้ และ/หรือมีเอกสารแสดงผลการตรวจหาเชื้อโควิด – 19 โดยวิธี RT-PCR หรือ Antigen Test Kit (ATK) หรือเอกสารที่แสดงถึงการเป็นผู้ได้รับการยกเว้นตามมาตรการอื่นของจังหวัดจุดหมายปลายทาง เช่น มีเอกสารรับรองว่าเป็นผู้เคยติดเชื้อมาไม่เกิน 90 วัน หรือ มีเอกสารรับรอง
  4. ให้ผู้ดำเนินการสนามบินและผู้ดำเนินการเดินอากาศที่ให้บริการผู้โดยสารในห้วงเวลานี้ ปฏิบัติดังนี้ (ทั้งนี้ ไม่รวมเที่ยวบินที่เกี่ยวข้องกับโครงการพื้นที่นำร่องเปิดประเทศ (Sandbox) ตาม ข้อ 3 (1)
    • ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศจำกัดการปฏิบัติการบินในระหว่างช่วงเวลา21.00-04.00 น. เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้โดยสารในการเดินทางระหว่างสนามบินและที่พัก และสอดคล้องกับการบริการขนส่งสาธารณะประเภทอื่นที่ดำเนินตามข้อกำหนดและข้อปฏิบัติเดียวกัน
    • ให้มีจำนวนผู้โดยสารได้ไม่เกินร้อยละ75 ของขีดความสามารถในการรับผู้โดยสารของอากาศยานที่ใช้ในเที่ยวบินนั้น ๆ และให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศพิจารณาการจัดที่นั่งในเครื่องบินอย่างเหมาะสมโดยคำนึงถึงมาตรการเว้นระยะห่างเพื่อไม่ให้เกิดความหนาแน่นแออัด อันจะมีส่วนช่วยในการป้องกันควบคุมโรค ในกรณีที่ผู้โดยสารเดินทางมาด้วยกันสามารถให้นั่งด้วยกันได้
    • ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศทำการประชาสัมพันธ์ถึงมาตรการเข้า/ออกของจังหวัดปลายทาง รวมถึงการแจ้งความจำเป็นในการเดินทางผ่านเว็บไซต์ https://covid-19. in.th/ ก่อนการเดินทาง
    • ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศตรวจสอบเอกสารสำคัญของผู้โดยสารตามมาตรการป้องกันโรคของจังหวัดปลายทางอย่างเคร่งครัด ในกรณีการเดินทางออกนอกพื้นที่จังหวัดนำร่องด้านการท่องเที่ยว(Sandbox) ไปยังพื้นที่จังหวัดอื่นภายในราชอาณาจักร หากตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นผู้โดยสารที่เข้ามาในราชอาณาจักรภายใต้โครงการนำร่องด้านการท่องเที่ยว (Sandbox) ให้ตรวจสอบหลักฐานการพำนักอยู่ในพื้นที่จังหวัดนำร่องด้านการท่องเที่ยวให้เป็นไปตามมาตรการก่อนเดินทางออกจากราชอาณาจักรหรือเดินทางออกนอกพื้นที่จังหวัดนำร่องด้านการท่องเที่ยวไปยังพื้นที่จังหวัดอื่นภายในราชอาณาจักร
    • หากเอกสารไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ผู้โดยสารอาจถูกปฏิเสธการเดินทางได้ โดยเงื่อนไขการเดินทางเข้า/ออกและมาตรการควบคุมโรคของแต่ละจังหวัดสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) ที่ https://www.moicovid.com/
    • ในระหว่างการปฏิบัติการบิน ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศติดตามดูแลมิให้ผู้โดยสาร รับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ยกเว้น ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือจำเป็น ลูกเรืออาจพิจารณาจัดน้ำดื่มให้บริการแก่ผู้โดยสารได้ ทั้งนี้ ให้กระทำในพื้นที่ที่ห่างจากผู้โดยสารคนอื่นให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
    • ให้ผู้ดำเนินการสนามบินจัดระบบเส้นทางเดินของผู้โดยสาร และการรับกระเป๋า และอำนวยความสะดวกต่อหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่เพื่อสามารถทำงานได้ตามมาตรการของจังหวัดปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. ให้ผู้ดำเนินการสนามบินและผู้ดำเนินการเดินอากาศจัดให้บุคลากรด่านหน้าที่ให้บริการผู้โดยสารได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์และให้มีการตรวจหาเชื้อโควิด – 19 ทุกสัปดาห์
  6. ก่อนเข้าพื้นที่ท่าอากาศยาน ให้ผู้ดำเนินการสนามบินทำการตรวจคัดกรองบุคคลที่เข้ามาใช้บริการในท่าอากาศยานอย่างเข้มงวด โดยต้องมีการตรวจสอบการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าและการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย (Body Temperature Screening) ด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดที่ไม่ต้องสัมผัสกับร่างกายของผู้ถูกตรวจวัด (Non-contact Infrared Thermometer) หากบุคคลนั้นไม่สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า หรือวัดอุณหภูมิได้สูงกว่า 37.3 องศาเซลเซียส หรือมีอาการ ระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบให้ปฏิเสธการให้เข้าพื้นที่ท่าอากาศยาน
  7. ให้ผู้ดำเนินการสนามบินควบคุมการดำเนินการตามมาตรฐานสาธารสุข เช่นการเว้นระยะห่างการจัดแอลกอร์ฮอลเจลให้ผู้โดยสารล้างก่อนขึ้นอากาศยาน ทำความสะอาดห้องน้ำอย่างต่อเนื่อง และให้ผู้ใช้บริการปฏิบัติตามมาตร์การสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด หากไม่ปฏิบัติตามให้ผู้ใช้บริการออกจาพื้นที่
  8. กำหนดให้รถลำเลียงผู้โดยสารไป-กลับระหว่างอาคารผู้โดยสารและอากาศยาน (Shuttle bus) สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ไม่เกิน 50 คน ต่อคัน โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน ทั้งนี้ให้ทำความสะอาดพื้นผิวและอุปกรณ์ที่มีการสัมผัสบ่อย ๆ ทั้งก่อนและหลังการให้บริการ
  9. ให้ผู้ดำเนินการสายการบินเก็บข้อมูลผู้โดยสารไว้อย่างน้อย 30 วัน เพื่อให้สามารถบ่งชี้ถึงผู้โดยสารที่อาจเป็นผู้สัมผัสเสียงสูง รวมถึงข้อมูลเพื่อใช้ในการติดต่อ และให้นำส่งข้อมูลตามที่หน่วยงาน
  10. ให้ผู้ดำเนินการสนามบินติดตามดูแลให้ผู้ประกอบการร้านค้าต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ทำอากาศยานปฏิบัติตามมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19)(ศบค.) โดยเคร่งครัด
  11. ในกรณีที่มีการยกเลิกเที่ยวบินและการรวมเที่ยวบิน ให้มีการแจ้งและดูแลผู้โดยสารอย่างเหมาะสม ตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินของไทยในเส้นทางบินประจำภายในประเทศ พ.ศ.2553
  12. ให้ผู้ดำเนินการสนามบินและผู้ดำเนินการเดินอากาศแจ้งเตือนผู้โดยสารกรณีเป็นผู้ป่วยยืนยันหรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ให้งดการเดินทาง หากผ่าฝืนอาจได้รับโทษตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
  13. ให้ผู้ดำเนินการสนามบินและผู้ดำเนินการเดินอากาศเพิ่มความเข้มงวดในการติดตามดูแลให้ประชาชนผู้มาใช้บริการปฏิบัติตามมาตรการในระเบียบสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยว่าด้วยแนวปฏิบัติในการให้บริการผู้โดยสารสำหรับเส้นทางการบินภายในประเทศในระหว่างสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) พ.ศ. 2564 ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564
  14. ให้ผู้ดำเนินการสนามบินและผู้ดำเนินการเดินอากาศจัดเตรียมเอกสารรับรองความจำเป็นให้กับผู้ที่ต้องปฏิบัติงานขนส่งสาธารณะในสังกัดของตนซึ่งได้รับยกเว้นเพื่อใช้แสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หากมีการตรวจสอบ ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะสิ้นสุดไปหรือมีประกาศอื่นใดเพิ่มเติม

 

แหล่งที่มาของข่าว : ฐานเศรษฐกิจ

สามารถติดตามข่าวเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวเศรษฐกิจ

 

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button