ข่าวข่าวภูมิภาค

ดราม่าแถลงข่าวTCAS ค่าเลือกอันดับ 900 ไม่แพง สับเละกีดกันเด็กที่บ้านฐานะยากจน

วิจารณ์สนั่น ผู้จัดการระบบ TCAS หลังออกมาพูดถึงกระบวนการสมัคร ค่าสมัครสอบ เข้ามหาวิทยาลัย โดยเฉพาะท่าทีซึ่งถูกหลายคนตีความว่าไม่เหมาะสม

กลายเป็นประเด็นดราม่าที่ถูกหลายคนตั้งคำถามไม่น้อยทีเดียว สำหรับคำกล่าวของ ดร. พีระพงศ์ ตริยเจริญ ผู้ช่วยเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และผู้จัดการระบบ TCAS โดยเฉพาะมีคลิปที่เจ้าตัวออกมาพูดว่า ค่าสมัครสอบแอดมิชชั่น 10 อันดับ “900 บาท อู้ยไม่แพงเลย ถูกมาก”

Advertisements

เมื่อวานนี้ (22 ส.ค.64) ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้จัดแถลงข่าว TCAS65 หรือ แนวทางคัดเลือกในระบบกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งในการจัดแถลงข่าวรูปแบบออนไลน์นี้ ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มาชี้แจงข้อมูล รวมถึง ดร. พีระพงศ์ ตริยเจริญ ผู้ช่วยเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และผู้จัดการระบบ TCAS ร่วมให้ข้อมูล ตลอดจนตอบข้อซักถามต่างๆ

ทั้งนี้ในส่วนของคำชี้แจงของ ดร. พีระพงศ์ ได้ถูกหลายคนตั้งคำถามเป็นจำนวนมาก โดยนอกจากค่าสมัครสอบแอดมิชชั่น 10 อันดับ 900 บาทแล้ว ยังมีประเด็นที่ เพจ Branding by Boy ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความว่า

“บางสาขา เขาตั้งเกณฑ์สูง เพราะต้องการคนมีคุณภาพ จะได้เรียนรอด คนที่บอกว่าอยากจะเรียน แต่คุณสมบัติไม่ถึง อยากให้เปิดโอกาส เขาก็บอกว่า เปิดโอกาสไปก็ไม่ผ่านการคัดเลือกหรอก เพราะคนมีคุณสมบัติถึง มันมีมากพอที่เขาจะคัดเลือกแล้ว ถ้าเปิดโอกาสลงมาสมัครฟรี ยังไงก็ไม่ได้ เพราะมีคุณภาพสมัครเพียงพอให้เขาใช้งานคัดเลือกได้”

โดยโพสต์นี้มีการตั้งคำถามถึงโอกาสทางการศึกษา ทำไมจึงไม่ให้คุณค่ากับศักยภาพเด็กมากกว่าเรื่องของเงินทอง

ตัดเด็กออกไปจากระบบเท่าไหร่แล้วทุกวันนี้ ?

Advertisements

เด็กไทยถูกทิ้งมานานเท่าไหร่แล้ว ?

เมื่อไหร่เราจะแก้ระบบให้พวกเขามีโอกาสเท่าเทียมกัน ?

นอกจากนี้เพจ MOBtheppitak.ก็ออกมาโพสต์เกี่ยวกับประเด็นนี้เช่นกัน ซึ่งได้ตั้งคำถามถึงการจัดระบบการศึกษาไทย ที่มีความเหลื่อมล้ำอยู่มาก และไม่เปิดโอกาสให้กับเด็กที่มีฐานะยากจน

ขณะที่เพจ นักเรีนเลว นอกจากวิจารณ์ประเด็นค่าสมัคร 900 บาทแล้ว ยังได้โพสต์ถึง สิทธิมนุษยชน มาตรา 26 ว่าด้วยสิทธิในการศึกษา ระบุไว้ว่า การศึกษาระดับอุดมศึกษาจะต้องเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคสำหรับทุกคนบนพื้นฐานของคุณสมบัติความเหมาะสม หมายถึง นักเรียนทุกคนต้องมีสิทธิในการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีการกีดกันการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาด้วยฐานะทางการเงิน

แต่การศึกษาไทย ณ ตอนนี้ กลับกลายเป็นการคัดเลือกว่าครอบครัวของเด็กคนไหนมีเงินมากพอก็จะผ่านด่านแรกเพื่อรับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button