ข่าว

วิศวกร เตือนอันตราย ปิดไซต์งานกระทันหัน

วิศวกรเตือน การประกาศปิด ไซต์งานของ ศคบ. อย่างกระทันหัน อาจจะทำให้เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นได้โดยไม่ตั้งใจ

จากกรณี พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ประกาศสั่งปิดสถานที่ชั่วคราว (ฉบับ 34) เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางที่นายกรัฐมนตรี หรือศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กำหนด

ด้าน รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กเตือนอันตรายที่อาจเกิดขึ้น จากการประกาศปิดไซต์งานก่อสร้างกระทันหัน

ความอันตรายของการประกาศปิดไซต์งานก่อสร้าง ในโครงการที่มีงานขุดระดับลึกในกรุงเทพฯ

“การประกาศปิด ไซต์งานของ ศคบ. อย่างกระทันหัน อาจจะทำให้เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นได้โดยไม่ตั้งใจ

งานขุดระดับลึกในพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นงานที่ยากเเละอันตรายระดับต้นๆในงานด้านโยธาในโลกนี้ เพราะพื้นดินกรุงเทพฯเป็นดินอ่อน เเถมปัจจุบันตั้งเเต่เราหยุดใช้น้ำบาดาล น้ำใต้ดินใน กทม. ก็ยกระดับสูงขึ้นมาก การขุดระดับลึก คือลึกลงไปตั้งเเต่ 5 เมตร จนบางที่ถึง 30 เมตร จึงต้องการการควบคุมน้ำใต้ดินตลอดเวลา เเละต้องมีโครงสร้างกันดินทั้งชั่วคราวเเละถาวรที่เเข็งเเรง รวมถึงต้องทำการตรวจวัดการเคลื่อนตัว ฯลฯ เพื่อปรับมาตราการความปลอดภัยระหว่างก่อสร้าง

ความอันตรายที่สุดคือช่วงที่ขุดถึงระดับลึกสุด ที่เเรงดันดินเเละเเรงดันน้ำมหาศาลสามารถจะทะลุก้นบ่อขุดขึ้นมาเเล้วทำลายทุกสิ่งอย่างจนค้ำยังต่างๆพังลงเเล้วทำให้บ่อขุดยุบพัง ส่งผลให้บ้านข้างเคียงได้รับผลกระทบ

Advertisements

ในสภาวะการก่อสร้างปกติ ความอันตรายดังกล่าวได้ถูกควบคุมด้วยวิศวกร ทำให้ปลอดภัย โดยการสูบน้ำใต้ดิน หรือการรีบเทคอนกรีตพื้นล่างสุดเมื่อขุดถึงระดับลึกสุด (Base slab) เเละเราก็ไม่เคยได้ยินข่าวที่รุนเเรงดังกล่าวใน กทม. มากนัก

เเต่ในสถานการณ์ที่งานขุดกำลังลงไปในระดับลึกเเละอันตราย เเต่ไซต์ต้องถูกปิดอย่างกระทันหัน ทำให้ไม่มีใครที่จะทำการป้องกันอันตรายดังกล่าว โดยเฉพาอย่างยิ่งไซต์ที่กำลังขุดในระดับลึกสุดเเละยังไม่ได้เท Base slab (หรือคอนกรีตแผ่นฐาน ) ประเด็นนี้อันตรายยิ่งนัก”

รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ขอเสนอแนะศบค. โดยว่า อยากขอเสนอให้ ศบค ออกประกาศเพิ่มเติมเกี่ยวกับการหยุดไซต์ งาน ให้มีข้อยกเว้นด้านเวลาสำหรับไซต์ที่ต้องการเวลาในการจัดการด้านความปลอดภัยต่าง ๆ

“จริงๆไม่ใช่เเค่งานขุดที่ผมว่า เเต่เรื่องอื่นเช่นอัคคีภัย สารเคมี ฯลฯ โดยน่าจะมีช่วงเวลาหรือให้ทางไซต์ทำเเผนด้านความปลอดภัยสาธารณะเผื่อให้เวลาเพิ่มเติมเพื่อจัดการเรื่องความปลอดภัยดังกล่าว ก่อนจะปิดไซต์ ยาวๆ เพราะถ้าปล่อยให้เกิดเหตุขึ้น ใครจะรับผิดชอบ ถ้าไม่ใช่ผู้ประกอบการเอง

นอกจากนี้ รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ได้นำภาพประกอบจากเว็บไซต์ เพื่อเป็นตัวอย่าง พร้อมชี้แจงเพิ่มว่า ไม่ได้เจาะจงไซต์ที่ใดที่หนึ่ง

เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ สนใจทำประกันอุบัติเหตุกับ Tadoo คลิกที่นี่

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button