มหิดล วิจัยวิวัฒนาการและการกลายพันธุ์เชื้อก่อ โรคอุบัติใหม่ SARS-CoV-2
มหิดล วิจัยวิวัฒนาการและการกลายพันธุ์เชื้อไวรัสก่อโรคอุบัติใหม่ SARS-CoV-2 สร้างพื้นฐาน เพื่อต่อยอด งานวิจัยอื่นๆ
เมื่อมีโรคอุบัติใหม่ใดๆ เกิดขึ้น มักนำไปสู่การตั้งคำถามต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ดังนั้น นักวิวัฒนาการ (Evolutionist) จึงถือเป็นพลวัตสำคัญที่จะช่วยให้มวลมนุษยชาติพ้นภัยจากโรคอุบัติใหม่ทั้งหลาย
อาจารย์ ดร.ภากร เอี้ยวสกุล นักวิวัฒนาการ และอาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้มีผลงานวิจัยด้านการจัดหมวดหมู่ และวิวัฒนาการของไวรัส และแบคทีเรียรวมเกือบ 20 ชิ้น ภายในระยะเวลา 7 ปีนับตั้งแต่ การศึกษาระดับปริญญาเอก จาก มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดสหราชอาณาจักร เล่าว่า เดิมทีตนได้ทำการศึกษาโดยเน้นด้าน วิวัฒนาการของเชื้อไวรัสในระดับมหภาค (Macroevolution) ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่ศึกษาขบวนการ
การเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสหลายชนิด(species) ไปพร้อมๆ กัน ในช่วงระยะเวลานับล้านๆ ปี ว่าเป็นอย่างไร แต่เมื่อได้กลับมาทำงานที่มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ขยายความสนใจมาศึกษาวิวัฒนาการของเชื้อก่อโรค ทั้งไวรัส และแบคทีเรียในระดับจุลภาค (Microevolution) ด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของเชื้อ
ก่อโรคเพียงชนิดเดียวที่ระบาดในประชากรเฉพาะกลุ่มในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แม้ทั้งสองวิชาจะมีความเกี่ยวเนื่องกัน แต่เทคนิค
ที่ใช้ในการศึกษา และโจทย์วิจัยก็มีความแตกต่างกันไปไม่น้อย
งานวิจัยสำคัญของ อาจารย์ ดร.ภากร เอื้ยวสกุล ที่ถือเป็น”ปัญญาของแผ่นดิน” ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล คือ
การสร้างองค์ความรู้เพื่อทำความเข้าใจวิวัฒนาการและการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสก่อโรคอุบัติใหม่ SARS-CoV-2 โดย
อาจารย์ ดร.ภากร เอี้ยวสกุล กล่าวว่า การกลายพันธุ์เป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้กับเชื้อก่อโรคทุกชนิด ซึ่ง SARS-CoV-2
ที่เป็นเชื้อไวรัสก่อโรค โควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในปัจจุบันนั้น สามารถกลายพันธุ์ได้ไม่ช้าไปกว่าไวรัสชนิดอื่นเลย โดยเชื้อไวรัสที่กลายพันธุ์จะถูกคัดสรรทางธรรมชาติ ซึ่งตัวที่เหมาะสมที่สุดกับธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมในขณะนั้นจะเป็นผู้อยู่รอดและสามารถสืบพันธุ์ออกลูกออกหลานต่อไปโดยหนึ่งในหัวข้อการวิจัยที่ตนกำลังทำอยู่ คือ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของ SARS-CoV-2 ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกของโรค โควิด-19 ซึ่งได้มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยเบื้องต้นในรูป
แบบของ pre-print ในฐานข้อมูลทางยา “medRxiv” ไปแล้วเมื่อเร็วๆ นี้
อาจารย์ ดร.ภากร เอี้ยวสกุล กล่าวต่อไปว่า ความรู้ที่ได้จากการศึกษาประวัติศาสตร์ทางวิวัฒนาการนั้น สามารถเป็นพื้นฐาน
ของงานวิจัยอื่นๆ ที่จะนำไปสู่การค้นพบวิธีการรักษาที่ตรงจุดหรือ ความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับระดับความรุนแรง
ของโรคได้ รวมทั้งยังเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาการตอบสนองต่อยาและวัคซีนของเชื้อกลายพันธุ์ต่างๆ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนา
ยาและวัคซีนที่จะรับมือกับเชื้อกลายพันธุ์ใหม่ หรือโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้
การศึกษาวิวัฒนาการยังสามารถทำให้เข้าใจได้ว่า เชื้อก่อโรคใหม่ หรือ เชื้อดื้อยาใหม่นั้นๆ เกิดขึ้นมาได้อย่างไรทำให้เราสามารถเตรียมวางแผนการเฝ้าระวังที่ดีได้มากขึ้นอีกด้วย” อาจารย์ ดร.ภากร เอื้ยวสกุล กล่าว
- สถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ม.มหิดล ได้รับการรับรองมาตรฐาน BGCI
- ม.มหิดล ยืนยันฉีด วัคซีนโควิด-19 แก่บุคลากร นักศึกษา
- ม.มหิดล ปลูกฝัง ความเป็นเจ้าของสุขภาพ ด้วย หลักการสาธารณสุขมูลฐาน ยุคใหม่