ข่าวข่าวภูมิภาค

‘หมอยง’ เผย ผลข้างเคียง แอสตราเซเนกา มักเกิดขึ้นในคนอายุน้อย

หมอยง เปิดเผยว่า ผลข้างเคียง จากการวัคซีน แอสตราเซเนกา มักแสดงผลในกลุ่มคนอายุน้อย มากกว่าผู้สูงอายุ แนะถ้ามีอาการกินพาราได้เลย

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หรือ หมอยง หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กให้ความรู้เกี่ยวกับผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนโควิด-19

โดยข้อความระบุว่า “ในช่วงต้นการฉีดวัคซีน วัคซีนที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็น Sinovac และในผู้สูงอายุ จะใช้ AStraZeneca ปัญหาอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น จะไม่ค่อยพบมาก ขณะนี้การใช้วัคซีนจะเป็น AstraZeneca เป็นหลักและจะต้องมีการใช้ต่อไปอีกเป็นจำนวนมาก

Sinovac จะเป็นตัวเสริม จากการศึกษาของศูนย์ ที่จริงได้ฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิด ในทุกอายุตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป

อยากจะบอกว่า วัคซีน Sinovac มีอาการข้างเคียง น้อยกว่า AstraZeneca โดยเฉพาะในเรื่องไข้ ปวดบริเวณที่ฉีด เมื่อยเนื้อเมื่อยตัวเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ ปวดศีรษะ ขนาดการศึกษานี้ผู้ป่วยฉีดวัคซีน AstraZeneca เราแจก พาราเซตามอลกลับบ้านด้วยซ้ำ

รูปข้างล่างแสดงให้เห็นเปรียบเทียบการศึกษาของศูนย์ เห็นความแตกต่างได้ชัดเจน

อาการที่เกิดขึ้นจากวัคซีน AstraZeneca จะพบว่าอายุน้อย มากกว่าผู้สูง อายุ และผู้หญิงจะมีอาการมากกว่าผู้ชาย ซึ่งเมื่อดูอาการข้างเคียงเปรียบเทียบกับวัคซีนที่ฉีดในต่างประเทศโดยเฉพาะวัคซีนในกลุ่ม mRNA แล้วไม่ต่างกันเลย

ส่วนวัคซีน Sinovac อาการข้างเคียงดังกล่าวน้อยกว่ามาก ดังแสดงในรูป

ดังนั้นผู้ที่ฉีดวัคซีน AstraZeneca ถ้ามีไข้หรือปวดศีรษะ ท้องเสียอาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว คล้ายไข้หวัดใหญ่ ถือเป็นอาการที่พบได้ หลังการฉีดวัคซีน ดังนั้น หลังฉีดเมื่อกลับไปถึงบ้านถ้ามีอาการดังกล่าว รับประทานยาพาราเซตามอลได้เลย ไม่ต้องรอให้ไข้ขึ้นสูง หรือปวดเมื่อยเนื้อเมื่อยตัว และสามารถทานซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง อาการดังกล่าวจะอยู่ประมาณ 1-2 วัน ก็จะหายเป็นปกติ

นอกจากว่ามีอาการมาก เช่นไข้สูงติดต่อกันหลายวัน หรือสูงมาก ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และรับประทานยาแล้วไม่หาย ก็ควรจะปรึกษาแพทย์

ถ้าทุกคนเข้าใจ จะได้ไม่เกิดวิตกกังวล ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนในกลุ่ม virus Vector หรือ mRNA วัคซีนจะมีอาการข้างเคียงได้มากกว่าวัคซีนชนิดเชื้อตาย ตามหลักฐานเชิงประจักษ์”

โควิด 19 วัคซีน อาการข้างเคียง และ อาการไม่พึงประสงค์
ยง ภู่วรวรรณ

ในช่วงต้นการฉีดวัคซีน วัคซีนที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็น…

โพสต์โดย Yong Poovorawan เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน 2021

Nateetorn S.

ผู้สื่อข่าว ทำงานกับ Thaiger มาตั้งแต่ปี 2020 จบการศึกษาจากคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสคร์ เคยทำงานกับสถานีโทรทัศน์อันดับ 1 ของประเทศ ทำให้มประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ เจาะประเด็นข่าวการเมืองอาชญากรรม ข่าวแปลกๆ เรื่องน่าสนใจจากต่างประเทศ ช่องทางติดต่อ tee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button