การเงิน

ตรวจคุณสมบัติ สินเชื่อ สปส. เพื่อส่งเสริมการจ้างงาน ระยะที่ 2

มาตรวจสอบคุณสมบัติ และเงื่อนไขในการขอกู้ภายใน สินเชื่อ สปส. เพื่อส่งเสริมการจ้างงาน ระยะที่ 2 (2563 – 2564) ที่ซึ่งร่วมมือกับ 3 ธนาคารในการปล่อยกู้

ทางสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้ดำเนินการนโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการประคองการจ้างงาน ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผ่านทาง สินเชื่อ สปส. เพื่อส่งเสริมการจ้างงาน ระยะที่ 2 (2563 – 2564)

โดยได้รับความร่วมมือจากธนาคาร 3 แห่งในการปล่อยกู้ภายในสินเชื่อดังกล่าว ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM bank) และธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)

ซึ่งสินเชื่อดังกล่าวนี้มีด้วยกัน 2 รูปแบบ

  1. กรณีผู้ประกอบการขอสินเชื่อมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน คิดดอกเบี้ย 2.75% ต่อปี คงที่ 3 ปี
  2. กรณีผู้ประกอบการขอสินเชื่อไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือ ใช้บุคคลค้ำประกัน คิดดอกเบี้ยอยู่ที่ 4.75% ต่อปี คงที่ 3 ปี

ทางด้านของเงื่อนไข และคุณสมบัติในการขอกู้นั้นมีด้วยกันดังนี้

  • ผู้ประกอบการที่เคยได้รับการอนุมัติสินเชื่อโครงการฯ ระยะที่ 1 มาแล้ว ต้องการขอสินเชื่อจากธนาคารเดิม วงเงินรวมกันจะต้องไม่เกิน 15 ล้านบาท
  • สถานประกอบการที่ไม่อยู่ในเงื่อนไขของโครงการ ได้แก่
    • สถานประกอบการที่ไม่สามารถรักษาจำนวนผู้ประกันตนในสถานประกอบการให้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนผู้ประกันตนในสถานประกอบการ ณ วันที่ธนาคารส่งรายงานผลการอนุมัติสินเชื่อให้สำนักงาน โดยธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อตามหลักเกณฑ์ของธนาคาร

ในส่วนของขั้นตอนในการดำเนินการขอกู้ สามารถทำได้ตามนี้

  1. สถานประกอบการยื่นขอหนังสือรับรองสถานะความเป็นสถานประกอบการจาก สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา/เขตพื้นที่ หรือ พิมพ์หนังสือรับรอบสถานะความเป็นสถานประกอบการในระบบ e-service ผ่านทางเว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม โดยเลือกหัวข้อ “ขอหนังสือรับรอง (โครงการสินเชื่อฯ)” หรือสามารถสแกน QR Code
  2. สถานประกอบการยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารพร้อมเอกสารเบื้องต้น
    1. หนังสือรับรองสถานะความเป็นสถานประกอบการออกโดยสำนักงานประกันสังคม
    2. เอกสารยื่นขอสินเชื่อตามหลักเกณฑ์และระเบียบของธนาคาร
  3. ธนาคารแจ้งผลการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อกับสถานประกอบการโดยตรง

 

สินเชื่อ สปส. เพื่อส่งเสริมการจ้างงาน

 

แหล่งที่มาของข่าว : สำนักงานประกันสังคม (สปส.)

สามารถติดตามข่าวการเงินเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวการเงิน

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button