ข่าวข่าวภูมิภาค

กทม. มีมตินั่งทานที่ร้านได้ พร้อมสั่งปิดสถานที่อีก 29 แห่ง หนี โควิด

กทม. อนุญาตให้ประชาชนสามารถนั่งทานที่ร้านได้ ไม่เกิน 25% ของความจุ พร้อมสั่งสถานที่อีก 29 แห่งชั่วคราว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โควิด

ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 13 ได้ประชุมพิจารณาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยที่ประชุมได้รับทราบถึงมติของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)

ที่กำหนดให้กทม.เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดง) ซึ่งต้องปฏิบัติตามมาตรการหลักของศบค.อย่างเคร่งครัด และเห็นควรพิจารณามาตรการผ่อนคลายกิจการร้านอาหาร ให้เป็นไปตามข้อกำหนดฯ แห่ง พรก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 23) ที่กำหนดให้กทม.เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

ซึ่งมีมติให้ร้านอาหาร สามารถนั่งรับประทานอาหารในร้านได้ ไม่เกิน 21.00 น. โดยนั่งได้ไม่เกิน 25% ของจำนวนที่นั่งปกติ จำหน่ายอาหารแบบนำไปบริโภคที่อื่นได้ (Take way) ไม่เกิน 23.00 น. ห้ามดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน และให้ปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด และยังคงปิดสถานที่ตามประกาศกรุงเทพมหานครปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 25) และ (ฉบับที่ 26) ต่อไป โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 17-31 พ.ค.64 ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 29)

สำหรับการดำเนินการแก้ไขปัญหากรณีพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในตลาดคลองเตยและชุมชนใกล้เคียง จากการตรวจเชิงรุก พบผู้ติดเชื้อในพื้นที่คลองเตย 494 คน และพบผู้ติดเชื้อในตลาดคลองเตย 332 คน เขตจึงได้มีคำสั่งปิดตลาดไปแล้ว 5 ครั้งๆ ละ 3 วัน (ครั้งล่าสุด 11-13 พ.ค.64) แต่ยังไม่สามารถหยุดการแพร่ระบาดของโรคได้

ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อ กทม.จึงเห็นควรให้ปิดตลาดคลองเตยต่อไปจนถึงวันที่ 31 พ.ค.64 โดยจะมีการออกประกาศให้ทราบ รวมทั้งที่ประชุมเห็นชอบให้ 50 สำนักงานเขตสำรวจจำนวนคนงานก่อสร้างในแค้มป์ให้เป็นปัจจุบัน พร้อมให้คำแนะนำในการปฏิบัติตน นอกจากนี้ จะมีการจัดประชุมผู้ประกอบการก่อสร้างในพื้นที่ กทม. เพื่อสร้างความรู้ความเจ้าใจเกี่ยวกับมาตรการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

โดยขณะนี้ในกรุงเทพมหานครพบการระบาด 27 คลัสเตอร์ ใน 17 เขต อยู่ระหว่างดำเนินการควบคุมโรค 20 คลัสเตอร์ และสามารถควบคุมได้แล้ว 7 คลัสเตอร์

ทั้งนี้ ไม่รวมคลัสเตอร์ที่ราชฑัณท์ โดยเขตที่พบผู้ติดเชื้อสูงสุด 10 ลำดับแรก คือ ดินแดง, ห้วยขวาง, บางเขน, จตุจักร, ลาดพร้าว, บางแค, คลองเตย, วังทองหลาง, วัฒนา และ บางกะปิ สำหรับการผลการให้บริการวัคซีนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผู้ได้รับวัคซีนรวมจำนวน 403,446 โดส มีผู้ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มจำนวน 112,104 ราย

 

Nateetorn S.

ผู้สื่อข่าว ทำงานกับ Thaiger มาตั้งแต่ปี 2020 จบการศึกษาจากคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสคร์ เคยทำงานกับสถานีโทรทัศน์อันดับ 1 ของประเทศ ทำให้มประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ เจาะประเด็นข่าวการเมืองอาชญากรรม ข่าวแปลกๆ เรื่องน่าสนใจจากต่างประเทศ ช่องทางติดต่อ tee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button