ข่าว

ลงทะเบียนวันนี้! 4 มาตรการเยียวยา จาก ธอส.

จากการที่คณะกรรมการ ธอส. มีมติเห็นชอบในการจัดทำ มาตรการเยียวยา ด้วยกันทั้งหมด 4 ประการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางการเงินจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปแล้วนั้น ในวันนี้ก็ได้มีการเปิดให้ลงทะเบียนอย่างเป็นทางการแล้ว

ภายหลังจากที่ทาง คกก. ธอส. ได้มีมติเห็นชอบในการจัดทำ มาตรการเยียวยา ด้วยกันทั้ง 4 ประการ เพื่อให้ช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางการเงิน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มาในวันนี้มาตรการทั้งหลายนั้นก็ได้ทำการเปิดให้ลงทะเบียนอย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว

โดยทาง The Thaiger ก็จะมานำเสนอข้อมูลทั้ง 4 มาตรการดังกล่าวทั้งรายละเอียด และวัน/ช่องทางในการลงทะเบียนรับมาตรการทั้งหลาย ซึ่งก็มีด้วยกันดังนี้

  • มาตรการที่ 9 สำหรับลูกค้าที่เคยเข้าร่วมหรืออยู่ระหว่างใช้มาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส.

ลูกค้าที่มีสิทธิ์แจ้งความประสงค์ขอใช้มาตรการจะต้องมีคุณสมบัติ คือ มีสถานะบัญชีปกติ ไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้ ลดเงินงวดผ่อนชำระ(ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน(กุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2564)

ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการระยะแรกผ่าน Application : GHB ALL ได้ตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. 64 เวลา 9.00 น. ถึงวันที่ 29 ม.ค. 64 เวลา 22.00 น.

มาตรการเยียวยา ธอส.

  • มาตรการที่ 10 สำหรับลูกหนี้สถานะ NPL และลูกหนี้สถานะ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้

ลดเงินงวดผ่อนชำระ(ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน(กุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2564)

ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการระยะแรก ผ่าน Application : GHB ALL ได้ตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. 64 เวลา 9.00 น. ถึงวันที่ 26 ก.พ.64 เวลา 22.00 น.

มาตรการเยียวยา ธอส.

  • มาตรการที่ 11 สำหรับลูกค้าที่ไม่เคยเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส.

ลูกค้าที่มีสิทธิ์แจ้งความประสงค์ขอใช้มาตรการต้องมีคุณสมบัติ คือ มีสถานะบัญชีปกติ ไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้ลดเงินงวดผ่อนชำระ(ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน(กุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2564)

ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการระยะแรก ผ่าน Application : GHB ALL ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 64 เวลา 9.00 น. ถึงวันที่ 26 ก.พ.64 เวลา 22.00 น.

มาตรการเยียวยา ธอส.

  • มาตรการที่ 12 สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs สินเชื่อประเภทแฟลต

มี 2 ประเภทย่อยด้วยกันแบ่งเป็น

    1. ได้ลดเงินงวดผ่อนชำระ(ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 70% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบัน เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือนหรือไม่เกินมิถุนายน 2564
    2. พักชำระหนี้ถึงมิถุนายน 2564 ในกรณีที่ได้รับผลกระทบทำให้รายได้ไม่เพียงพอในการชำระหนี้ เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือนหรือไม่เกินมิถุนายน 2564

ยื่นคำขอเข้ามาตรการระยะแรกได้ที่สาขาทั่วประเทศภายในวันที่ 31 มีนาคม 2564

มาตรการช่วยเหลือ

ทั้งนี้ ลูกค้าที่ต้องการลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการ 9-11 ระยะแรก ต้องดาวน์โหลดหลักฐานยืนยันว่ามีผลกระทบทางรายได้ผ่านทาง Application : GHB ALL ให้ธนาคารพิจารณา เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด ภาพถ่าย หรือ Statement เป็นต้น ส่วนดอกเบี้ยประจำงวดที่ตัดชำระไม่หมดในขณะที่เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ

ธนาคารจะเปิดให้ลูกค้าทยอยผ่อนชำระได้จนถึง ก่อนวันที่ลูกค้าจะครบกำหนดตามสัญญาเงินกู้ หรือก่อนปิดบัญชีเงินกู้ สำหรับลูกค้าของธนาคารที่ในปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการที่ธนาคารกำหนด และยังมีปัญหาด้านรายได้ทำให้ไม่สามารถผ่อนชำระได้ตามปกติ

ธนาคารพร้อมพิจารณาขยายความช่วยเหลือในรูปแบบการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้เป็นรายกรณีต่อไป ส่วนกรณีที่หน่วยงานที่มีสวัสดิการเงินกู้กับธนาคารได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ให้หน่วยงานมีหนังสือแจ้งมายังธนาคารเพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่พนักงานที่กู้เงินกับธนาคารต่อไป

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธอส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000 และ Facebook : Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์

 


#ข่าวการเงิน #ข่าวเศรษฐกิจ #ข่าวทั่วไป #ข่าวโควิด-19 #ธนาคารอาคารสงเคราะห์ #ธอส. #GH Bank #GHB All #มาตรการช่วยเหลือ ธอส. #มาตรการเยียวยา ธอส. #มาตรการช่วยเหลือ #มาตรการเยียวยา #โควิด-19 #โควิด-19 ประเทศไทย #Covid-19

ไทยเกอร์นิวส์

นำเสนออัปเดตข่าวสารบ้านเมือง ข่าวล่าสุด มั่นใจว่าคุณจะทันทุกสถานการณ์ ไม่ว่า สังคมเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง เรื่องร้อนออนไลน์ ดราม่าดารา อัปเดตบันเทิง ซีรีส์ หนัง เพลง ท่องเที่ยว กีฬา ตรวจหวย เลขเด็ด พร้อมเสิรฟ์ทุกเรื่องยาก ๆ ย่อยให้คุณเข้าใจง่าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button