ธนาคารกรุงศรี เปิดตัว Open API มุ่งหน้าสู่ยุค Digital
ธนาคารกรุงศรี ร่วมมือกับ IBM เปิดตัว Open Banking API มุ่งหน้าสู่เป้าหมายในการเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย Digital Transformation
ในวันที่ 2 พฤศจิกายน ทาง ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้ทำการเปิดตัวแพลตฟอร์ม Open API ที่ถูกพัฒนาโดย IBM เซอร์วิสเซส ที่จะนำไปสู่ประสบการณ์ Banking-as-a-service (BaaS) ที่ดี ที่ซึ่งเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา อำนวยให้ตัวกรุงศรีและระบบนิเวศทางธุรกิจของธนาคารนั้น สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างง่ายดาย และนำไปสู่แนวทางในการทำงานใหม่ ๆ มาใช้ไม่ว่าจะทั้งในทางสาขา เครือข่าย ATM บริการโมบายแบงค์กิ้งหรือบริการจากพันธมิตรภายนอก
โดยนายเซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวว่าเส้นทางของการให้บริการต่าง ๆ ต้องเป็นบริการที่อยู่บนพื้นฐานของตำแหน่งแบบไร้รอยต่อ สามารถที่ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความชอบและวิถีชีวิตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งตัวแพลตฟอร์ม Open API นับว่าเป็นหมากสำคัญต่อการสร้างระบบที่แข็งแกร่ง ปลอดภัย และเชื่อมต่อได้ง่าย
น.ส.ปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ก็ได้กล่าวร่วมว่า IBM มีความยินดีในการเป็นพันธมิตรกันในระยะยาวที่ได้รับความไว้วางใจ และให้การสนับสนุนแก่ธนาคารกรุงศรีมาต่อเนื่อง
ในการวางรากฐานเพื่อการเดินทางในอนาคตนี้แพลตฟอร์ม Open Banking API จะสร้างความยืดหยุ่นคล่องตัวให้แก่ทางกรุงศรี และด้วยความท้าทายจากสถานการณ์ Covid-19 นั้น ทำให้เห็นว่าแพลตฟอร์มนี้มีความสำคัญมากขนาดไหน
นางวรนุช เดชะไกศยะ ประธานกลุ่มสนับสนุนธุรกิจ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและปฏิบัติการ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การเป็นพันธมิตรกันระหว่าง IBM และธนาคารกรุงศรีนั้นทำให้เกิดความคล่องตัวและประสิทธิภาพที่จำเป็นต่อการทำงานที่เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งเป็นผลมาจากการลดความซับซ้อนแบบเดิมในการทำงาน และปรับเปลี่ยนกระบวนการทั้งหมดให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน โดยเทคโนโลยีแบบเปิดและตัวแพลตฟอร์ม API นี้ถือว่าเป็นรากฐานสำหรับระบบใหม่ ที่จะขับเคลื่อนอนาคตของอุตสาหกรรม และเป็นประโยชน์ต่อลูกค้านานไปอีกหลายปี
“ที่ผ่านมา สถาบันการเงินส่วนใหญ่ยังคงยึดปฏิบัติตามแนวทางแบบเดิม ซึ่งเป็นการทำงานแบบไซโล หรือแยกส่วนงานตามผลิตภัณฑ์ที่ใช้ ก่อให้เกิดเป็นภาระทางเทคนิคมากมายที่สั่งสมนานหลายปี เห็นได้ชัดจากรูปแบบโครงสร้างองค์กรที่ซับซ้อนและมีการปรับสำหรับการใช้งานที่เฉพาะตัวมากๆ รวมถึงกระบวนการและข้อมูลที่ขาดมาตรฐาน ปัจจัยเหล่านี้เป็นอุปสรรคสำคัญของการก้าวสู่การพัฒนาระบบดิจิทัลและการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ การใช้ระบบอัตโนมัติ (Automation) ที่มีความรวดเร็ว หรือการประมวลผลแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะมีผลต่อประสบการณ์การใช้บริการของลูกค้า ความเร็วในการนำผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ออกสู่ตลาด ต้นทุนการดำเนินงาน ในขณะเดียวกัน ก็เพิ่มความเสี่ยงในด้านการส่งมอบบริการและการดำเนินงาน”