ข่าวภูมิภาค

#สมรสเท่าเทียม ร่วมส่งความเห็น แต่งงานเพศเดียวกัน ผลักดันให้เป็นความจริง

#สมรสเท่าเทียม เว็บรัฐสภาเปิดรับความเห็น กฎหมายแต่งงานเพศเดียวกัน เปลี่ยนความสัมพันธ์จากสามีภริยา เป็น คู่สมรส

เว็บไซต์รัฐสภาไทย ได้เปิดพื้นที่การรับฟังข้อคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ. ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ ในร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งเสนอโดยนายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับคณะ เพื่อพัฒนากฎหมายให้คนเพศเดียวกันมีสิทธิสมรสกันในทางกฎหมาย

Advertisements

“สาระสำคัญหลักของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ การเสนอขอแก้ไขเพื่อให้บุคคลธรรมดาทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศ สามารถทำการหมั้นและสมรสกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเมื่อบุคคลธรรมดาได้หมั้นหรือสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ก็ให้มีสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องต่าง ๆ

เดิมกำหนดไว้ว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา” เป็น “ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส” ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา เป็น “ทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส” รวมถึงการแบ่งมรดกของผู้ตายที่มีคู่สมรส โดยได้ขอแก้ไขถ้อยคำในหลายมาตราที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า “สามีและภรรยา” เป็น “คู่สมรส”

ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็น

  • ควรแก้ไขให้บุคคลไม่ว่าจะเป็น “เพศเดียวกัน” และ “ต่างเพศ” สามารถทำการหมั้นกันได้หรือไม่
  • ควรแก้ไขให้บุคคลไม่ว่าจะเป็น “เพศเดียวกัน” หรือ “ต่างเพศ” สามารถสมรสกันได้ ตามกฎหมายหรือไม่
  • ควรแก้ไขอายุบุคคลที่จะทำการสมรสกันได้ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป หรือไม่
  • ควรแก้ไขให้คู่สมรสทั้งที่เป็นเพศเดียวกันและต่างเพศมีสิทธิ หน้าที่ ความสัมพันธระหว่างกันเหมือนสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาหรือไม่

การหมั้น

  • ให้บุคคลเพศเดียวกันหรือต่างเพศซึ่งมีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์ทำการกันได้ และเสนอกำหนดคำศัพท์ขึ้นใหม่เป็น “ผู้หมั้น” และ “ผู้รับหมั้น” แทนคำว่า “ชาย” และ “หญิง” และแบบของการหมั้นให้ผู้หมั้นส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้กับผู้รับหมั้น ในส่วนของเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่หมั้นยังคงตามหลักการเดิมเพียงแต่ปรับถ้อยคำเป็น “ผู้หมั้น” และ “ผู้รับหมั้น”

การสมรส

Advertisements
  • ให้บุคคลเพศเดียวกันหรือต่างเพศซึ่งมีอายุสิบแปดปีบริบูรณ์ สามารถสมรสกันได้ หรือหากมีเหตุอันสมควรศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ สำหรับเงื่อนไขการสมรสยังคงหลักการเดิม แต่มีการปรับถ้อยคำจากคำว่า “ชาย” หรือ “หญิง” เป็น “บุคคล” เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการสมรสระหว่างบุคคล เช่น
  • บุคคลซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมาจะทำการสมรสกันมิได้
  • บุคคลจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสไม่ได้
  • การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองยินยอมเป็นคู่สมรส
  • คู่สมรสต้องอยู่กินกันฉันคู่สมรสและช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูตามความสามารถและฐานะของตน
  • การจัดการทรัพย์สิน หนี้สินของคู่สมรส สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส
  • การหย่า เหตุหย่า การฟ้องหย่าระหว่างคู่สมรส สิทธิได้รับค่าทดแทน การแบ่งสินสมรส
  • การเป็นผู้อนุบาลคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งกรณีศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
  • การรับบุตรบุญธรรม

การรับมรดก

  • กรณีผู้ตายมีคู่สมรส ต้องมีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยให้นำเรื่องส่วนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส และคู่สมรสที่ร้างกันหรือแยกกันอยู่โดยยังมิได้หย่ากันตามกฎหมายยังคงมีสิทธิโดยธรรมในการสืบมรดกซึ่งกันและกัน

ร่วมแสดงความคิดเห็นการแต่งงานเพศเดียวกัน คลิก

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button