ข่าว

นายกรัฐมนตรีชู ดูแลผู้ได้รับผลกระทบทุกกลุ่ม ใช้งบหลายส่วน

นายกรัฐมนตรีแถลงขยายระยะเวลาประกาศพ.ร.ก. ฉุกเฉิน ย้ำการดูแลผู้ได้รับผลกระทบทุกกลุ่ม ทั้งจากงบประมาณปกติทั้งรายจ่ายประจำ งบประมาณกลาง และ พ.ร.ก. เงินกู้

ข่าวทำเนียบรัฐบาล รายงาน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีย้ำ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ เพิ่มอีกหนึ่งเดือน โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 – 31 พ.ค. 63 โดยหลายข้อกำหนดยังจะคงเดิม เพื่อเน้นควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่น การเดินทางของประชาชน สำหรับการผ่อนปรนมาตรการนั้น อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชนในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ประกอบด้วยหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ และกระทรวงมหาดไทย

นายกรัฐมนตรีแสดงความห่วงใยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย ยืนยันว่า รัฐบาลมีมาตรการให้ความช่วยเหลือ เยียวยา ซึ่งจะทยอยดำเนินการตามสัดส่วนของงบประมาณที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งรายจ่ายประจำ งบประมาณกลาง และงบประมาณที่มาจาก พ.ร.ก. เงินกู้ ซึ่งจะเร่งการดำเนินงานให้ทันสถานการณ์ รวมทั้ง การให้ความช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประกอบอาชีพอิสระ แรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ รวมถึงกลุ่มเปราะบางที่กำลังพิจารณามาตรการช่วยเหลือ

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังมอบแนวทาง ให้พิจารณากิจกรรมทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งบางจังหวัดก็กำหนดมาตรการของตนเองแล้วนั้น ต้องยึดข้อกำหนดจากส่วนกลาง แม้จะเห็นใจผู้ที่เดือดร้อนทั้งการหารายได้และการดำรงชีวิตประจำวัน แต่เป็นความจำเป็นที่ขยายระยะเวลาประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ เพิ่มอีกหนึ่งเดือน อย่างไรก็ตาม จะมีการผ่อนคลายข้อกำหนดบางประการ โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ ซึ่งแต่ระยะจะห่างกันประมาณ 14 วัน เพื่อให้มีการประเมินว่า หลังจากการผ่อนปรนมาตรการ มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือไม่

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังให้ภาคส่วนต่างๆ อาทิ ผู้ประกอบการรายเล็ก ผู้ประกอบการรายใหญ่ ได้มีมาตรการเพิ่มเติม ทั้งในส่วนท้องถิ่น สอดคล้องกับมาตรการทางสาธารณสุข และยึดความปลอดภัยชีวิตประชาชนเป็นหลัก โดยแบ่งสีความเสี่ยงเป็น สีขาว สีเขียว สีเหลือง และสีแดง ขอย้ำว่ารัฐบาลได้ทำงานเพื่อดูแลพี่น้องประชาชนตามแผนการใช้งบประมาณปกติที่หน่วยงานของรัฐจะต้องปฏิบัติตามขั้นพื้นฐาน และมาตรการดูแลผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งมีทั้งมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบนั้น ภาคเกษตรกร อาชีพอิสระ ลูกจ้างนอกระบบ นักศึกษา ประมาณ 16 ล้านคน และเกษตรกร 10 ล้านครัวเรือน จะเป็นหัวหน้าครอบครัว อยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูล รวมถึงลูกจ้างประกันสังคมอีก 11 ล้านคน และรัฐบาลมีการพิจารณาเพิ่มเติม ทั้งมาตรการเยียวยาผู้พิการ โดยจะมีการชี้แจงรายละเอียดในภายหลัง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button