สุขภาพและการแพทย์

แนวทางการรักษาผู้ติดเชื้อ COVID-19 แบ่งเป็นทั้งหมด 4 กรณีดังต่อไปนี้…

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบายเกี่ยวกับแนวทางการรักษาใหม่ว่า การรักษาคนติด ไวรัสโคโรนา จะแบ่งกลุ่มตามอาการเป็น 4 กรณี คือ

  • 1.ผู้ป่วยไม่มีอาการ แนะนำให้นอนโรงพยาบาลหรือในสถานที่รัฐจัดให้ 2-7 วัน เมื่อไม่มีภาวะแทรกซ้อน พิจารณาให้ไปพักต่อที่โรงพยาบาลเฉพาะหรือฮอสพิเทลหรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจโควิด-19 อย่างน้อย 14 วัน นับจากวันเริ่มป่วย หลังจากนั้นให้พักฟื้น และสวมหน้ากาอนามัย ระมัดระวังสุขอนามัยจนครบ 1 เดือนนับจากวันที่เริ่มป่วย โดยให้ดูแลรักษาตามอาการ ไม่ให้ยาต้านไวรัส เนื่องจากส่วนมากหายเองได้ รวมทั้งอาจได้รัยผลข้างเคียงจากยา
  • 2.ผู้ป่วยภาพถ่ายรังสีปอดปกติ ที่ไม่มีภาวะเสี่ยง/โรคร่วมสำคัญ แนะนำให้นอนโรงพยาบาล 2-7 วัน ดูแลรักษาตามอาการ พิจารณาให้ยา 2 ชนิด นาน 5 วัน คือ ยาต้านมาลาเรีย ร่วมกับ ยาต้านไวรัสเอชไอวี เมื่ออาการดีขึ้นและผลถ่ายภาพรังสีปอดยังคงปกติ พิจารณาพิจารณาให้ไปพักต่อที่โรงพยาบาลเฉพาะหรือฮอสพิเทลหรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจโควิด-19 อย่างน้อย 14 วัน นับจากวันเริ่มป่วย หลังจากนั้นให้พักฟื้น และสวมหน้ากาอนามัย ระมัดระวังสุขอนามัยจนครบ 1 เดือนนับจากวันที่เริ่มป่วย
  • 3.ผู้ป่วยภาพถ่ายรังสีปอดปกติ แต่มีปัจจัยเสี่ยง/โรคร่วมสำคัญ ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ อายุมากกว่า 60 ปี โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง รวมโรคปอดเรื้อรังอื่นๆ โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมโรคหัวใจแต่กำเนิด โรคปลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม้ได้ ภาวะอ้วน ตับแข็ง ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ และเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 1,000 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร แนะนำให้ใช้ยาอย่างน้อย 2 ชนิด นาน 5 วัน คือยาต้านมาลาเรีย ร่วมกับยาต้านไวรัสเอชไอวี และอาจพิจารณาให้ยาชนิดที่ 3 ร่วมด้วย หากภาพถ่ายรังสีปอดแย่ลง ให้พิจารณาเพิ่มฟาร์วิพาราเวียร์เป็นเวลา 5-10วันขึ้นกับอาการ
  • 4.ผู้ป่วยปอดอักเสบ หรือถ้าเอกซเรย์ปอดปกติ แต่มีอาการหรืออาการแสดงเข้าได้กับปอดอักเสบและระดับออกซิเจนที่ปลายนิ้วน้อยกว่า 95 % แนะนำให้ใช้ยาอย่างน้อย 3 ชนิด นาน 10 วัน คือ ฟาวิพิราเวียร์เป็นเวลา 5-10 วันขึ้นกับอาการทางคลินิก ร่วมกับยาต้านมาลาเรีย ร่วมกับ ยาต้านไวรัสเอชไอวี อาจพิจารณาให้ยาชนิดที่ 4 ร่วมด้วย และพิจารณาใช้อุปกรณ์อื่นๆตามความจำเป็น

“ผู้ป่วยทุกรายจะต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล กรณีไม่มีอาการ จะไม่ให้ยาต้านไวรัส แต่จะให้การรักษาตามอาการ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการจะให้ยาต้านมาลาเรียลาต้านไวรัสเอชไอวี ส่วนผู้ที่มีอาการปอดอักเสบ จะให้ยาต้านมาลาเรีย ยาต้านไวรัสเอชไอวี และยาฟาวิพืราเวียร์ทุกรายไม่ว่าจะปอดอักเสบมากหรือน้อย เชื่อว่าจะช่วยลดผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรงได้ดีขึ้น”นายแพทย์สมศักดิ์กล่าว

“อยากขอให้ประชาชนช่วยให้ข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้องกับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ เพราะจะช่วยให้ได้รับการรักษารวดเร็ว บางกรณีที่ผู้ป่วยไม่บอกข้อมูลทั้งหมด ทำให้แพทย์ไม่ได้สงสัย เมื่อมาตรวจพบภายหลัง ทำให้เสียโอกาสทั้งตัวผู้ป่วยเองและแพทย์ด้วย”นายแพทย์สมศักดิ์กล่าว

การพิจารณาให้ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล เมื่อมีเกณฑ์อย่างน้อยดังต่อไปนี้ ผู้ป่วยที่มีอาการดีขึ้นและผลถ่ายภาพรังสีปอดไม่แย่ลง อุณหภูมิไม่เกิน 37.8 องศาเซลเซียส ต่อเนื่อง 48 ชั่วโมง มีอัตราการหายใจไม่เกิน 20ครั้งต่อนาที และมีค่าออกซิเจนที่ปลายนิ้ว 95%ขึ้นไปขณะพัก พิจารณาให้ไปพักต่อที่โรงพยาบาลเฉพาะหรือฮอสพิเทลหรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจโควิด-19 อย่างน้อย 14 วัน นับจากวันเริ่มป่วย โดยให้สวมหน้ากากอนามัย และออกจากโรงพยาบาลได้ โดยไม่ต้องเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งซ้ำก่อนให้ออกจากโรงพยาบาล

ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการรักษานั้น หากเป็นการรักษาในโรงพยาบาลรัฐ ประชาชนไม่ต้องจ่ายเงินเป็นการใช้สิทธิ์ตามหลักประกันสุขภาพภาครัฐของผู้ป่วย ส่วนการรับบริการในโรงพยาบาลเอกชน หากผู้ป่วยมีประกันสุขภาพส่วนบุคคลที่ทำกับภาคเอกชนให้ใช้สิทธิ์นั้นก่อน กรณีไม่มีประกันสุขภาพเอกชน ให้ใช้ตามสิทธิ์ประกันสุขภาพภาครัฐของแต่ละบุคคล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button