สุขภาพและการแพทย์

ยารักษาชั้นดี! สภากาชาดไทย ขอรับบริจาคพลาสมาจากอดีตผู้ป่วย โควิด-19

สภากาชาดไทย ขอเชิญผู้ป่วยที่หายจากโรค COVID-19 บริจาคพลาสมา เพื่อนำไปใช้ในการรักษาโรคและช่วยยับยั้งไม่ให้ปอดอักเสบรุนแรง ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้ โดยต้องเป็นผู้ป่วยที่ออกจากโรงพยาบาลและกักตัวที่บ้านครบ 14 วันแล้ว จึงจะสามารถบริจาคพลาสมาได้

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ชวนผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด-19 (COVID-19) กลับมาเป็นผู้ให้พลาสมาที่มีภูมิต้านทานต่อไวรัส นำไปใช้รักษาโรค และช่วยยับยั้งไม่ให้ปอดอักเสบอย่างรุนแรง ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกขณะนี้ การรักษาผู้ป่วยยังต้องพึ่งพาการให้ยารักษาตามอาการของผู้ป่วย และการผลิตวัคซีนยังอยู่ในกระบวนการของพัฒนาและวิจัยอย่างเร่งด่วน แต่ยังมีวิธีการรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่สามารถทำได้ทันทีอีกวิธีหนึ่ง

คือการนำพลาสมาจากผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่หายแล้ว นำไปใช้รักษาผู้ป่วยอาการรุนแรงได้ ดังนั้น ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ซึ่งทำหน้าที่ในการรับบริจาคพลาสมาเพื่อรักษาผู้ป่วยด้วยโรคต่างๆ อยู่แล้ว จึงขอรับบริจาคพลาสมาจากผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่หายดีแล้ว เพื่อนำไปช่วยรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 ต่อไป โดยผู้ประสงค์จะบริจาคพลาสมา ต้องเป็นผู้ป่วยที่หายดีไม่มีอาการ ออกจากโรงพยาบาลและกักตัวที่บ้านครบ 14 วันแล้ว จึงจะสามารถมาบริจาคพลาสมาได้

https://www.facebook.com/ThaiRedCross/photos/a.693876193979380/3177457548954553/?type=3&theater

หากมีผู้ที่บริจาคพลาสมาพิเศษนี้จำนวนเพิ่มมากขึ้น จะช่วยให้ผู้ป่วยในประเทศได้มีโอกาสรักษาและรอดชีวิตจากโรค COVID-19 เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

จากผลการศึกษาการใช้พลาสมารักษาผู้ป่วยในเมืองเซี่ยงไฮ้และเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน พบว่ามีรายงานผลการรักษาที่ชัดเจนว่า พลาสมาของผู้ป่วยที่หายดีแล้วสามารถนำมารักษาผู้ป่วยและให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย

องค์การอนามัยโลก (WHO) และ องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (US-FDA) ก็อนุญาตให้ใช้พลาสมาของผู้ป่วย COVID-19 ที่หายแล้ว มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 ในสถานการณ์ฉุกเฉินขณะนี้

สอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โทร. 0 2263 9600-99

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button