ข่าวภูมิภาค

ขสมก.โต้ กรณีเครื่องดักฝุ่นบนรถเมล์ ใช้ได้ผล

ขสมก.โต้ กรณีเครื่องดักฝุ่นบนรถเมล์ ใช้ได้ผล

จากกรณีที่มีข่าวติดตั้งเครื่องฝุ่นPM2.5บนรถโดยสารสาธารณะ(ขสมก) เพื่อดักฝุ่นPM2.5 โดยให้ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้วิจัยโครงการดังกล่าว และทำให้อาจารย์ เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ได้ออกมาโต้แย้งว่า โครงการดังกล่าว ไม่ได้ผล จึงไม่ต่างกับเครื่อง GT200

อ่านข่าวก่อนหน้า : อ.เจษฎาโต้ เครื่องกรองอากาศบนรถเมล์ ไม่ต่างจากGT200

Advertisements

ศักดิ์สยาม เล็งติดเครื่องฟอกอากาศบนรถเมล์ หวังลดPM2.5

ล่าสุด ขสมก.ชี้แจงการติดตั้งเครื่องกรองอากาศบนหลังคารถโดยสาร

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ทดลองติดตั้งเครื่องกรองอากาศต้นแบบ เพื่อทดสอบแนวความคิด ในการลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ตามนโยบายเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ของกระทรวงคมนาคม

นายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เปิดเผยว่า ตามที่สื่อมวลชนได้นำเสนอข่าว กรณีที่นักวิชาการบางท่าน ได้แสดงความคิดเห็นเชิงลบเกี่ยวกับการที่ ขสมก.ติดตั้งเครื่องกรองอากาศบนหลังคารถโดยสาร ของ ขสมก.ว่า เป็นเรื่องลวงโลกเช่นเดียวกับเครื่อง GT 200 นั้น ขสมก. จึงขอชี้แจงข้อมูล ดังนี้

  1. กระทรวงคมนาคม มีนโยบายเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในเขตพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล จึงได้ทดสอบการติดตั้งเครื่องกรองอากาศต้นแบบ บนหลังคารถโดยสารของ ขสมก. เพื่อทดลองกรองอากาศในการดักจับฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ขณะรถโดยสารวิ่งให้บริการประชาชน
  2. การทำงานของเครื่องต้นแบบ ใช้หลักการกวาดอากาศที่มีฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ซึ่งเเขวนลอยอยู่บนถนน ที่มีการจราจรหนาเเน่นในกรุงเทพมหานคร ในระดับความสูงไม่เกิน 5 เมตร เมื่อรถวิ่ง อากาศจะปะทะเข้าหน้ารถ และผ่านเข้าเครื่องกรองโดยอัตโนมัติ ซึ่งวิธีการดังกล่าว สามารถกรองอากาศได้ โดยไม่สิ้นเปลืองพลังงาน เนื่องจากไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการดูดลมเข้าเครื่องกรอง ดังเช่นเครื่องกรองอากาศทั่วไป อีกทั้ง ไส้กรองอากาศที่ใช้ จะเป็นไส้กรองที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ได้ แต่มีราคาถูก สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ซึ่งหลักการนี้ เป็นหลักการเดียวกับการใช้แก้ไขปัญหาฝุ่นละออง ในเมือง เซาแธมป์ตัน ประเทศอังกฤษ
  3. รถโดยสารที่ติดตั้งเครื่องกรองอากาศที่มีหน้ากว้าง 0.5 ลูกบาศก์เมตร บนหลังคา จะสามารถกวาดอากาศเข้าเครื่องกรอง ได้ 10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อการวิ่งรถ 1 เที่ยว (เมื่อรถโดยสารวิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในระยะทางยาว 20 กิโลเมตร) ซึ่งงานวิจัยในต่างประเทศ ระบุว่า ผู้ใหญ่ 1 คน จะสูดอากาศหายใจเฉลี่ย 0.5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ดังนั้น รถโดยสาร 1 คัน จะสามารถกรองอากาศ ให้กับประชาชนที่อยู่บนถนนได้ถึง 20,000 คน
  4. จากการทดลองนำรถโดยสาร ที่ติดตั้งเครื่องกรองอากาศบนหลังคารถ มาวิ่งให้บริการประชาชน เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 ขณะที่รถวิ่ง ผลการวัดค่า PM 2.5 ในอากาศก่อนเข้าเครื่องกรอง มีค่าอยู่ในระดับ 48 – 52 (คุณภาพอากาศปานกลาง) ในขณะที่ อากาศที่ผ่านเครื่องกรองออกมาแล้ว มีค่าอยู่ในระดับ 1 – 5 (คุณภาพอากาศดีมาก)
  5. การทดลองนี้ เป็นความพยายามในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของประชาชน โดยกระทรวงคมนาคม ได้แต่งตั้งคณะทำงานจากหลายหน่วยงาน ซึ่ง ขสมก. ได้ดำเนินการทดลองนี้ ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม หากการทดลองต่อเนื่องได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงจะดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย เเละหลักเกณฑ์ของสำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบกต่อไป

อ่านรายละเอียดเพิเติม:bmta.co.th

Advertisements

kamon w.

จบสายภาษาแต่หนีไปทำงานด้านบริการเกือบ 2 ปี ตอนนี้กลับมาขีด ๆ เขียน ๆ อีกครั้ง พร้อมแพสชั่นในงานข่าวที่เต็มเปี่ยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button