สุขภาพและการแพทย์

เช็กด่วน 6 สัญญาณอันตรายของมะเร็งผิวหนัง

เช็กด่วน 6 สัญญาณอันตรายของมะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนัง – จากกรณี กอล์ฟ ธนภัทร นักแสดงหนุ่มภาพยนตร์เรื่อง “Timeline เพราะรักไม่สิ้นสุด” เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งผิวหนัง โดยเป็นเรื่องน่าเศร้าคือ กอล์ฟ เพิ่งทราบว่าตัวเองเป็นมะเร็งผิวหนังก็ระยะสุดท้ายแล้ว หลังจากประสบอุบัติเหตุถังไอกรีมชนกระแทกขา จนขาบวม

มะเร็งผิวหนังคืออะไร

มะเร็งผิวหนัง (อังกฤษ: Skin cancers) ได้รับการตั้งชื่อตามชนิดของเซลล์ผิวหนังตามที่ได้เกิดขึ้น มะเร็งผิวหนังชนิดเบซาลเซลล์เกิดจากเซลล์ชั้นฐานของหนังกำพร้า และเป็นโรคมะเร็งผิวหนังที่พบมากที่สุดแต่เป็นอันตรายน้อย ส่วนมะเร็งผิวหนังสะแควมัสเซลล์คาร์ซิโนมาเกิดขึ้นในผิวหนังชั้นกลาง และพบได้น้อยกว่าโดยทั่วไป แต่มีแนวโน้มที่จะแพร่กระจาย และหากไม่ได้รับการรักษา ก็อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

สำหรับชนิดเมลาโนมา ที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี (เมลาโนไซต์) เป็นชนิดที่พบได้น้อยที่สุด แต่เป็นอันตรายมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะแพร่กระจาย และหากไม่ได้รับการรักษา ก็อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

โดยส่วนใหญ่แล้วสาเหตุมักมาจากการถูกรังสียูวีมากเกินไปจากดวงอาทิตย์หรือเตียงอาบแดด ซึ่งการรักษาโดยทั่วไปจะใช้การผ่าตัด

เมลาโนมาจัดเป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่มีอัตราการรอดสูงสุด โดยมีกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของคนที่ได้รอดชีวิตยืนยาวกว่า 10 ปีในสหราชอาณาจักรระหว่างปี ค.ศ. 2005–2007 ทั้งนี้ ในสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 2010 ผู้คนจำนวน 12,818 รายได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา และประมาณ 100,000 คนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิดไม่ใช่เมลาโนมา โดยมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งผิวหนัง 2,746 ราย จากชนิดเมลาโนมา 2,203 ราย และจากโรคมะเร็งผิวหนังชนิดไม่ใช่เมลาโนมา 546 ราย ส่วนในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2008 ผู้คนจำนวน 59,695 รายได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา และมี 8,623 รายเสียชีวิตจากสาเหตุดังกล่าว

สัญญาณเตือนมะเร็งผิวหนัง

แล้วเราจะรู้แต่เนิ่น ๆ ได้อย่างไรว่าตัวเองมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนัง ชัวร์สุดคือไปตรวจสุขภาพกับโรงพยาบาล แต่เบื้องต้นง่ายสุดเราก็สามารถสังเกตได้ด้วยตนเองว่าเรามีสัญญาณเตือนหรือไม่ โดย กรมการแพทย์ สถาบันโรคผิวหนัง ได้ให้ความรู้เรื่อง 6 สัญญาณอันตรายของมะเร็งผิวหนัง ไว้ดังนี้

1.มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังเป็นก้อนนูนที่โตขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจปวดหรือไม่ปวดก็ได้

2.ก้อนที่ผิวหนังมีแผลกิดขึ้นหรือมีเลือดออกง่าย

3.มีแผลเรื้อรังที่รักษาไม่หาย หรือมีแผลใหม่เกิดบนแผลหรืแผลไฟไหม้เดิม

4.มีรอยโรคที่มีสีดำหรือน้ำตาลที่ขอบเขตไม่ชัดเจนและมีแผลเกิดขึ้น

5.ไฝมีรูปร่าง สีเปลี่ยนแปลงจากเดิมหรือมีแผล เลือดออก โดยเฉพาะไฝที่ตำแหน่งมือ เท้า และเล็บ

6.มีผื่นเรื้อรังที่มีการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นเนื้อนูนขึ้นมา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร 02 354 5222 หรือแอดไลน์ @skinthailand

การป้องกันมะเร็งผิวหนัง

สารกันแดดที่มีประสิทธิภาพได้รับการแนะนำใช้ป้องกันเมลาโนมา และสะแควมัสเซลล์คาร์ซิโนมา ในขณะที่มีหลักฐานเพียงเล็กน้อยที่จะใช้ป้องกันมะเร็งผิวหนังชนิดเบซาลเซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนคำแนะนำอื่นที่จะลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง ประกอบด้วย หลีกเลี่ยงการถูกแดดมากเกินไป, การสวมใส่เสื้อ, แว่นกันแดด และหมวกป้องกัน ตลอดจนพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการถูกแสงอาทิตย์ของช่วงเวลาแดดส่องสูงสุด นอกจากนี้ หน่วยบริการป้องกันเฉพาะกิจแห่งสหรัฐอเมริกายังได้แนะนำว่าผู้ที่มีอายุระหว่าง 9 ปีและ 25 ปีให้หลีกเลี่ยงรังสีอัลตราไวโอเลตด้วยเช่นกัน

ความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งผิวหนังสามารถลดจำนวนลงได้ด้วยการ: ลดการทำให้ผิวไหม้ในที่ร่ม และการถูกแสงแดดตอนกลางวัน รวมถึงการเพิ่มการใช้สารกันแดด และหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ

ในประเด็นนี้ ยังมีหลักฐานไม่เพียงพอสำหรับการสู้กับโรคมะเร็งผิวหนัง ซึ่งอาหารเสริมวิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระยังไม่ได้รับการพบว่ามีผลในการป้องกัน ส่วนหลักฐานจากการรับประทานอาหารนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด

(วิกิพีเดีย)

 

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button