ข่าวภูมิภาค

26 ธันวาคม ชมไลฟ์สดสุริยุปราคา ทั่วไทย วิธีดูไม่ให้ตาบอด

สุริยุปราคา 26 ธันวาคม ชมไลฟ์สด ดูได้ทั่วไทย วิธีดูไม่ให้ตาบอด ดูได้ที่ไหนบ้าง

สุริยุปราคา – วันที่ 26 ธันวาคม มีรายงานว่าจะเกิดสุริยุปราคาบางส่วนเหนือฟ้าเมืองไทย โดยมีคาบการเกิดตั้งแต่เวลา 10:00 – 14:00 และสามารถเห็นชัดสุดช่วง 12:00 ที่เงาจะบดบังมากสุดทั้งนี้ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page ระบุว่า สมาคมดาราศาสตร์ไทยชวนประชาชนดูสุริยุปราคาได้ที่ 4 จุดสังเกตการณ์ 4 แห่งทั่วไทย ได้แแก่

? อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
https://goo.gl/maps/w9pYU6cguzCnhu5X9
(ลงทะเบียนล่วงหน้าที่ https://bit.ly/PartialSolarEclipseTH2019)

? หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา
https://goo.gl/maps/4icKMqPfH7RErK1b6

? หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา
https://goo.gl/maps/9JFJU6GYXhB2TdaYA

? หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา
https://goo.gl/maps/LuMudj2MkiPyyUXT6

ตรวจสอบจุดสังเกตการณ์เครือข่ายในแต่ละจังหวัด
https://www.narit.or.th/index.php/77-astronomy-network

spaceth.co รายงานว่า ที่จังหวัดยะลา เห็นการบดบังอยู่ที่ประมาณ 75% กรุงเทพมหานคร เห็นการบดบังอยู่ที่ประมาณ 56% จังหวัดเชียงราย เห็นการบดบังอยู่ที่ประมาณ​ 40%

ดูไลฟ์สดสุริยุปราคาทั่วไทย

สุริยุปราคาที่สงขลา (คลิกชม)

สุริยุปราคาที่เชียงใหม่ (คลิกชม)

สุริยุปราคาที่นครราชสีมา (คลิกชม)

สุริยุปราคาที่ฉะเชิงเทรา (คลิกชม)

วิธีดูสุริยุปราคา

1.ห้ามจ้องดวงอาทิตย์โดยตรง

2..ห้ามใส่แว่นกันแดดดูดวงอาทิตย์

3.ใส่แว่นตาแบบพิเศษสามารถติดต่อขอรับได้จาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

4.สามารถดูดวงอาทิตย์ทางตรงผ่านอุปกรณ์กรองแสง และการดูดวงอาทิตย์ทางอ้อม

5.การดูดวงอาทิตย์ทางอ้อม เป็นการดูเงาของแสงอาทิตย์ผ่านฉากรับภาพหรือใช้หลักการของกล้องรูเข็ม

6. ห้ามดูดวงอาทิตย์ผ่านเลนส์กล้องโดยไม่มีการกรองแสง

สุริยุปราคาคืออะไร

สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ เมื่อสังเกตจากพื้นโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ โดยอาจบังมิดหมดทั้งดวงหรือบางส่วนก็ได้ ในแต่ละปีสามารถเกิดสุริยุปราคาบนโลกได้อย่างน้อย 2 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้ง ในจำนวนนี้อาจไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวงเลยแม้แต่ครั้งเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ครั้ง โอกาสที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงสำหรับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งบนพื้นโลกนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากสุริยุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งจะเกิดในบริเวณแคบ ๆ ภายในแถบที่เงามืดของดวงจันทร์พาดผ่านเท่านั้น

สุริยุปราคาเต็มดวงเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงาม น่าตื่นเต้น และสร้างความประทับใจแก่คนที่ได้ชม ผู้คนจำนวนมากต่างพากันเดินทางไปยังดินแดนอันห่างไกลเพื่อคอยเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์นี้ สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2542 ที่เห็นได้ในทวีปยุโรป ทำให้สาธารณชนหันมาสนใจสุริยุปราคาเพิ่มขึ้นมาก สังเกตได้จากจำนวนประชาชนที่เดินทางไปเฝ้าสังเกตสุริยุปราคาวงแหวนใน พ.ศ. 2548 และสุริยุปราคาเต็มดวงใน พ.ศ. 2549 สุริยุปราคาครั้งที่ผ่านมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ คือสุริยุปราคาวงแหวนเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552 และสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สุริยุปราคาในปีพ.ศ. 2562จะเกิดในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ชนิดของสุริยุปราคา

สุริยุปราคามี 4 ชนิด ได้แก่

สุริยุปราคาเต็มดวง (total eclipse): ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์หมดทั้งดวง

สุริยุปราคาบางส่วน (partial eclipse) : มีเพียงบางส่วนของดวงอาทิตย์เท่านั้นที่ถูกบัง

สุริยุปราคาวงแหวน (annular eclipse) : ดวงอาทิตย์มีลักษณะเป็นวงแหวน เกิดเมื่อดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ห่างไกลจากโลก ดวงจันทร์จึงปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ ( วันที่ 26 ธันวาคมนี้ สามารถดูได้ที่ เมืองอาบูดาบี และดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (90%) ประเทศสิงคโปร์ (95%))

สุริยุปราคาผสม (hybrid eclipse) : ความโค้งของโลกทำให้สุริยุปราคาคราวเดียวกันกลายเป็นแบบผสมได้ คือ บางส่วนของแนวคราสเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง ที่เหลือเห็นสุริยุปราคาวงแหวน บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงเป็นส่วนที่อยู่ใกล้ดวงจันทร์มากกว่า

หน่วยงานที่จัดงานสังเกตการณ์สุริยุปราคา

 

ภาพหน้าปกจาก: skeeze จาก Pixabay

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button