ข่าวภูมิภาคภาพยนตร์

ผู้ว่าฯ ณรงศักดิ์เสียใจ THE CAVE นางนอน มีฉากล้อเลียนข้าราชการไทย

ผู้ว่าฯ ณรงศักดิ์เสียใจ THE CAVE นางนอน มีฉากล้อเลียนข้าราชการไทยช่

เมื่อวันที่ 25 พ.ย. ที่ผ่านมา ที่โรงภาพยนตร์ SF ชั้น 3 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลำปาง นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง (ผู้ว่าหมูป่า) , ผู้กำกับชื่อดัง ทอม วอลเลอร์, และอาสาสมัครตัวจริงบางส่วนที่เคยเข้าร่วมภารกิจ นำโดย จิม วอร์นี่ นักดำน้ำชาวเบลเยี่ยม ได้มาร่วมชม และเปิดรอบปฐมทัศน์การกุศลภาพยนตร์แห่งปี เรื่อง THE CAVE นางนอน โดยเชิญร่วมบริจาคเงินเพื่อนำรายได้ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้นำสมทบช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยภิบัติต่างๆ ใน จังหวัดลำปาง

เมื่อนายณรงค์ศักดิ์มาถึงและได้พบกับทอม ได้มีการระบายความรู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ ก่อนที่จะเข้าไปในโรงภาพยนต์ว่า ในบทภาพยนตร์บางส่วนไม่ตรงกับเรื่องจริง ทอมก็บอกว่าเป็นภาพยนตร์ ซึ่งนายณรงค์ศักดิ์ ตอบว่าใช่ แต่การ present คุณใช้คำว่าสร้างจากเรื่องจริง ทำให้หลายคนรับไม่ได้ เพราะหนังเรื่องนี้จริงๆ มันน่าจะสร้างความสามัคคีให้กับคนได้ ให้กับโลกได้ เพราะมันเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับความสามัคคี แต่มุมมองมันต่างไป ซึ่งทอมได้บอกว่าเข้าใจ แต่ที่นำเสนอคืออยากให้เห็นการทำงานกู้ภัยของจิมมากกว่า

นายณรงค์ศักดิ์บอกว่า ใช่ แต่การนำเสนอหรือสื่อต้องให้เห็นว่าโฟกัสให้เห็น อยู่ที่คนๆ เดียว ซึ่งคนที่ทำงานเป็นหมื่นคนเขาก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า แล้วความสำเร็จในเรื่องอื่นๆ มันหายไปจากบท ไม่มีการพูดถึง ส่วนทอมก็บอกว่าเรื่องที่ตนทำเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ เรื่องหนึ่งเท่านั้น เพราะตอนแรกจะมีคนทำ แต่ก็ไม่ทำ สุดท้ายตนทำแล้วก็บอกว่าไม่มีนั่นไม่มีนี่ นายณรงค์ศักดิ์ตอบว่า เข้าใจแต่ควรจะนำเสนอถึงหนึ่งชีวิตที่ยากลำบาก เพื่อแสดงให้เห็นความสามัคคีในโลกนี้ยังมีอยู่ แต่เราไม่ได้พูดภาพรวม ซึ่งทอมก็พูดถึงปัญหาในการขออนุญาตกับหน่วยงานไทยมาก

เมื่อเข้าไปภายในโรงภาพยนต์ นายณรงค์ศักดิ์ ได้กล่าวก่อนที่จะฉายว่า ที่ผ่านมามีหลายที่ที่เชิญให้ตนเองไปร่วมชมภาพยนต์ด้วย แต่ตนปฎิเสธ แต่ลำปางคือบ้านก็เลยต้องมาในวันนี้ อยากบอกก่อนว่าหากเราต้องการชมภาพยนต์เรื่องนี้เป็นแบบสารคดี หรือเรื่องจริงอาจจะไม่เหมือนกับที่เราคาดคิด ตนชื่นชมคุณทอมและทีมงานเรื่องการทำโปรดักชั่นในเวลาที่จำกัด และก็อยากทำภาพยนต์เรื่องนี้ออกมาเพราะมันจะกลายเป็นประวัติศาสตร์เรื่องหนึ่ง แต่ในส่วนตัว ตนขอชื่นชมเรื่องที่เก็บรายละเอียดของจ่าแซม ซึ่งในตีมหรือความรู้สึกของตนเอง จ่าแซมคือวีรบุรุษตัวจริงของเหตุการณ์นี้ รวมถึงมีคนไปร่วมในเหตุการณ์กว่าหมื่นคน แต่เราสูญเสียจ่าแซมไปเพียงคนเดียว และหลังจากนั้นทำให้พวกเราทำงานอย่างละเอียดและรอบคอบมากขึ้น และไม่ให้เกิดการสูญเสียขึ้นอีกเลย จนทำงานสำเร็จ แต่ในฐานตนเองเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ขอเสริมความรู้เพิ่มเติมจากการดูภาพยนต์ และจะทำให้เข้าใจบริบทมากขึ้น

“หากถามว่าภาพยนต์เรื่อง THE CAVE นางนอน เป็นยังไง ก็ขอบอกว่าเป็นการนำเสนอวีรบุรุษท่านหนึ่งคือจิม วอร์นี่ นักดำน้ำชาวเบลเยี่ยม จ่าแซม และทีมงานนักดำน้ำที่เข้าไปช่วยอย่างอยากลำบาก เราชื่นชมในโปรดักชั่น ที่ได้ทำการพาตัวเด็ก และโค้ชออกมาจากถ้ำยากเย็นแค่ไหน ใครที่ไม่อยู่ในเหตุการณ์จะไม่รู้ ผมยอมรับว่าตอนแรกที่รู้เรื่องก็ไม่คิดว่าจะยากขนาดนั้น แต่พอไปอยู่หน้าถ้ำถึงรู้ว่ายาก ประกอบกับมีคนกว่าหมื่นคนที่ประสงค์มาอยู่หน้าถ้ำ บางส่วนประสงค์มาช่วยอย่างจริงใจ บางส่วนอยากมาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ โปรโมทตัวเองหรืออะไรบางอย่าง สิ่งที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้ถ่ายทอดคือ จริงๆ แล้วเราแบ่งการปฎิบัติงานออกเป็น 4 แผนคือ 1.สูบน้ำออกเท่าที่นักดำน้ำต้องการเพื่อให้นักดำน้ำเข้าไปช่วยเด็กออกมา 2.เดินทางโพลงบนยอดดอยเพื่อหาทางเข้าถ้ำ 3.หาเส้นทางของน้ำที่ไหลเข้าถ้ำ 4.หาจุดผนังถ้ำที่บางที่สุดและหาจุดที่เด็กอยู่และเจาะถ้ำ”

นายณรงค์ศักดิ์กล่าวว่า เห็นความตั้งใจของทอมที่ต้องการสร้างภาพยนต์เรื่องนี้ โดยเฉพาะโปรดักส์ชั่นต่างๆ และด้วยข้อจำกัดหลายอย่างรวมถึงข้อจำกัดของเวลา แต่ทั้งนี้อยากให้ภาพยนต์ที่ออกมาเห็นถึงความร่วมไม้ร่วมมือ การประสานงานกันของกลุ่มคนกว่าหมื่นคน ที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจในครั้งนี้ แต่ไม่ปรากฎในภาพยนต์ ซึ่งหากความสำเร็จที่เกิดขึ้น ก็ขอให้นึกถึงคนเหล่านั้นด้วยโดยเฉพาะจ่าแซม และอยากฝากเรื่องราวบางอย่างที่ปรากฎในภาพยนตร์ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่มีคนมาเล่าให้ผู้กำกับฟัง อาจจะไม่ได้เช็คและเป็นมุกที่เราไปโจมตีการทำงานของราชการไทย ซึ่งเราอาจจะคิดว่าเอาสื่อเพื่อให้คลายความเครียด คลายความกดดันลงไปได้ แต่มันเป็นมุกที่ข้าราชการอย่างตัวเอง

“เสียความรู้สึกและเสียใจเหมือนกันที่ไม่ได้ทำเหตุการณ์ตรงนั้นขึ้น แต่ถูกนำมาล้อเลียนในภาพยนตร์ที่จะนำไปฉายทั่วโลก เช่นฉากที่มีการแลกบัตร และการด่าว่าหากอยากใหญ่ก็ไปใหญ่ที่จังหวัด..ของคุณโน้น รวมถึงการติดต่องานที่เจ้าหน้าที่หญิงบอกว่าให้ไปที่ศาลากลางจังหวัด ซึ่งเรื่องจริงก็ยังไม่รู้เลยว่าเจ้าหน้าที่หญิงคนนั้นเป็นใคร และไม่เคยให้ไปติดต่องานที่ศาลากลาง ผมในฐานะทีมปฎิบัติการทั้งหมดก็ขอบ่นในจุดนี้นิดหนึ่ง แต่อยากบอกว่าเรื่องนี้ถ้าเป็นความดียังไงขอขอบคุณคุณทอม และทีมงานของผมอีกกว่าเก้าพันชีวิตซึ่งไม่นับผมเอง เพราะผมจะพูดสมอว่าผมคือจิ๊กซอว์ตัวสุดท้าย หากจิ๊กซอว์ทุกตัวที่ส่งมาถึงมือผมเองไม่ดี ไม่ทางที่ภาพจะออกมาสวยหรู ผมเองแค่ลงเม็ดตัวสุดท้ายเท่านั้น ฉะนั้นขอให้ความดีอยู่ที่คณะทำงานทุกท่านรวมถึงจ่าแซม ดังนั้นหากใครชมแล้วก็ขอให้เข้าใจว่ามันคือภาพยนตร์ ไม่ใช่สารคดี จริงๆ แล้วควรจะใช้คำว่า บทภาพยนตร์ คนจะได้เข้าใจ เพราะหากเราบอกว่าเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริง แต่หลายเรื่องมันไม่จริง แม้แต่ตัวละครหลายตัวก็ไม่สามารถบอกได้ว่าคือใคร คอสตูมต่างๆ อาจจะไม่ตรง”

ขณะที่ทอมก็บอกว่าเข้าใจผู้ว่าฯ ที่อาจจะบอกว่าตรงนั้นไม่ตรง ตรงนี้ไม่ตรง แต่อยากให้เห็นถึงการช่วยชีวิตเด็กออกจากถ้ำ จากทีมกู้ภัยใต้น้ำซึ่งก็ใช้คนที่เข้าไปช่วยจริงๆ มาแสดง ซึ่งก็คิดว่าตนเองถ่ายทอดในส่วนนี้ได้สมบูรณ์ แต่ส่วนอื่นเนื่องจากตนไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ก็อาศัยการบอกเล่าจากผู้ที่เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ประกอบด้วย และคิดว่าหนังเรื่องนี้จะไปไกลทั่วโลก ตนก็ต้องบอกว่าได้ใส่ประเด็นบางอย่างที่อยากเล่าเข้าไป เพราะไม่ได้ตามนักข่าวตลอด และก็มีการนำเสนอสารคดีไปเยอะแล้ว ก็ต้องมีที่ตนอยากเอามาใส่ในหนัง ซึ่งได้เขียนบทไว้ และรู้สึกว่าคนไทยควรจะรู้ว่ามันมีแบบนี้ด้วยนะ เช่น ความลำบากในการเข้าไปช่วย, บางคนอยากไปช่วยแต่ไม่รู้จะช่วยยังไง หรือไม่มีบัตรเข้าแบบนี้ก็ถือว่าน่าสนใจ ไม่อยากให้เห็นว่าเราไม่ได้เข้าข้างใคร เพราะเหตุการครั้งนี้มีอะไรหลายอย่างที่สามรถนำมาใส่ในหนังได้

ที่มา: ไทยโพสต์

P. Wanutch

อัพเดททุกความบันเทิง ทั้งไทย ต่างประเทศ K-pop รีวิวหนัง เพลง คอนเสิร์ต พร้อมนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจและหลากหลาย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button