ข่าว

10 ข้อดีโครงการ ชิมช้อปใช้ แจกเงิน 1000 บาท

10 ข้อดีโครงาน ชิมช้อปใช้ แจกเงิน 1000 บาท

ชิมช้อปใช้ – วันที่ 4 ตุลาคม กล่าวถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล แจกเงิน 1000 บาท แก่ประชาชน 10 ล้านคนเที่ยวชิมช้อปใช้ว่า “10 เหตุผลว่า ทำไมรัฐบาลต้องจัดทำโครงการ “ชิม ช้อป ใช้”

โครงการนี้เกิดขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก อย่างร้านโชห่วย ร้านข้างทาง รถเข็น ตลาดสด ตลาดชุมชน แม้จะมีผู้ประกอบการรายใหญ่เข้าร่วมแต่มีการกำหนดว่าจะมีได้เพียง 1 จังหวัด 20 จุดขายเท่านั้น สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นคือ เป้าหมายที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ “สังคมไร้เงินสด” ผ่านระบบจ่ายเงินผ่านแอพฯ “เป๋าตัง-ถุงเงิน” ซึ่งจะต่อยอดสู่การรับสวัสดิการภาครัฐในอนาคตค่ะ

เม็ดเงินที่เข้าในระบบเศรษฐกิจนี้จะช่วยให้เกิดการลงทุนต่อเนื่องในส่วนของผู้ประกอบการ ขณะเดียวกันยังเป็นการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนชั้นล่าง-กลาง โดยมีคน 1 ใน 7 ของประเทศได้รับประโยชน์ สำหรับฐานข้อมูลคนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ จะนำไปใช้กำหนดนโยบายสาธารณะในอนาคตเพื่อให้ตรงกับความต้องการของประชาชน

เงิน 1,000 บาทเป็นเพียงการจุดประกายให้เกิดกิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อให้มีการจ่ายเงินเข้าสู่ระบบและฐานราก โดยนอกจากส่วนนี้แล้วยังมีในส่วนของเครดิตเงินคืนที่รัฐจะจ่ายคืนให้อีก 15% ของยอดจ่ายจริงไม่เกิน 4,500 บาทต่อคน เมื่อมีการเติมเงินและใช้จ่ายผ่านแอพฯ เป๋าตังค่ะ ซึ่งทั้งหมดเป็นนวัตกรรมด้านนโยบายที่เชื่อมโยงเทคโนโลยี-ภาษี-การท่องเที่ยว-ร้านค้าขนาดเล็กค่ะ

1.กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ร้านโชห่วย ร้านข้างทาง รถเข็น ตลาดสด ตลาดชุมชนสินค้า OTOP ฯลฯ

2.ร้านรายใหญ่เข้าร่วมโครงการได้เพียง 1 จังหวัด 20 จุดขาย เพื่อเป็นทางเลือก และอำนวยความสะดวกให้ประชาชน

3.เม็ดเงินที่เข้าในระบบเศรษฐกิจ ช่วยให้เกิดการลงทุนต่อการผลิต การซื้อขาย การจ้างงาน และลดภาระค่าครองชีพของประชาชนชั้นล่าง-กลาง โดยมีคน 1 ใน 7 ของประเทศได้รับประโยชน์ในทันที

4.เกิดการเรียนรู้ “สังคมไร้เงินสด” ในไทย เหมือน ATM ที่เข้ามาใหม่ ๆ ใครก็กลัว แต่คนไทยฉลาด เรียนรู้เร็ว

5.ระบบจ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง ถุงเงิน” จะถูกต่อยอด การรับสวัสดิการภาครัฐต่อไปในอนาคต ลดค่าธรรมเนียมการโอนเงิน

6.ฐานข้อมูล “คนลงทะเบียน” นำไปใช้กำหนดนโยบายสาธารณะในอนาคตได้ตรงตามความต้องการของประชาชนมากขึ้น

7.ร้านค้าต่าง ๆ เข้าสู่ระบบภาษีมากขึ้น รายได้รัฐบาลมากขึ้น นำมาสร้างสรรค์สวัสดิการเพื่อส่วนรวมได้มากขึ้น

8.สามารถเติมเงินแล้วรัฐจะจ่ายคืน 15% ของยอดจ่ายจริงแต่ไม่เกิน 4500 บาทต่อคน

9.เป็นนวัตกรรมด้านนโยบายที่เชื่อมโยงเทคโนโลยีดิจิทัล-ภาษี-การท่องเที่ยว-ร้านค้าขนาดเล็ก

10.เงิน 1,000 บาท เป็นเพื่อการจุดประการให้เกิดกิจกรรมต่อเนื่อง ที่มีการใช้จ่ายเงินเข้าสู่ระบบบ และฐานราก โดยรัฐจะได้รับ “ผลประโยชน์” กลับมาให้หลายรูปแบบ

 

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button