ข่าว

หมอเตือน ‘เครื่องพ่นยาปลอม’ ของเด็ก ระบาด เสี่ยงพลาสติกเข้าปอด-ไฟฟ้าลัดวงจร

หมอเด็กออกเตือน ขณะนี้ ‘เครื่องพ่นยาปลอม’ ของเด็ก กำลังระบาดหนัก ใช้อุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐาน ไม่สามารถรักษาโรคได้จริง เสี่ยงพลาสติกระเหยเข้าปอด ไฟฟ้าลัดวงจร

นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่บรรดาผู้ปกครองต้องเฝ้าระวัง สำหรับการระบาดของ ‘เครื่องพ่นยาปลอม’ และยิ่งน่ากังวลอย่างยิ่งเพราะส่วนใหญ่เป็นเครื่องพ่นยาที่ใช้กับลูกเด็กเล็กแดง โดยล่าสุด (15 ตุลาคม 2567) นพ.ฒัชชณพงศ์ จงเจริญยานนท์ หมอเด็กเฉพาะทางโรคทางเดินหายใจ ได้ออกมาโพสต์คลิปให้ความรู้ในเรื่องนี้ ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว Tatchanapong Chongcharoenyanon

Advertisements

‘นพ.ฒัชชณพงศ์’ ได้อธิบายถึงรูปแบบของเครื่องพ่นยาในเด็กที่มีด้วยกัน 2 รูปแบบ แจงถึงข้อดีและข้อเสียในแต่ละรูปแบบ พร้อมแนะวิธีการเลือกซื้ออุปกรณ์ให้ได้ประสิทธิภาพ ก่อนจะทิ้งท้ายถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับการใช้เครื่องพ่นยาปลอม ซึ่งจุดประสงค์ของการทำคลิปในครั้งนี้ก็เพื่อเตือนภัยการระบาดของสินค้าปลอม และเพื่อไม่ให้ผู้ปกครองทั้งหลายตกเป็นเหยื่อ

หมอเด็ก เตือน เครื่องพ่นยาปลอม
ภาพจาก : Tatchanapong Chongcharoenyanon

เครื่องพ่นยาที่เหมาะกับเด็ก มี 2 รูปแบบ

1. เจ๊ท เนบูไลเซอร์ ใช้หลักการอดอากาศความเร็วสูงผ่านยาที่เป็นน้ำเพื่อให้ยากลายเป็นละอองฝอย

2. เมซ เนบูไลเซอร์ ใช้หลักการสั่นยาน้ำผ่านตะแกรงที่มีรูเล็กจำนวนมาก เพื่อเปลี่ยนยาให้กลายเป็นละอองฝอย

เครื่องพ่นยาทั้ง 2 รูปแบบ มีทั้งข้อดีข้อเสียที่ต่างกัน ในส่วนของ ‘เจ๊ท เนบูไลเซอร์’ ข้อดี คือ ทนทานดูแลรักษาง่ายราคาไม่สูงมาก ข้อเสีย คือ เสียดังขนาดใหญ่ต้องเสียบปลั๊ก ทำให้พกพาไม่สะดวก

Advertisements

ขณะที่ ‘เมซ เนบูไลเซอร์’ ข้อดี คือ เสียงเบา และมีขนาดเล็ก สามารถพกพาไปข้างนอกได้ แต่ข้อเสีย คือ ราคาสูง และดูแลรักษายากกว่า มีความทนทานน้อยกว่าด้วย

หมอเด็ก เตือน เครื่องพ่นยาปลอม
ภาพจาก : Tatchanapong Chongcharoenyanon

วิธีการเลือกซื้อเครื่องพ่นยา

ในทุก ๆ ครั้งที่จะเลือกซื้อเครื่องพ่นยา ทุกท่านจำเป็นต้องที่ต้องพิจารณาทั้งหม 4 ประการสำคัญ ดังนี้

1. สร้างละอองฝอยขนาด 2-5 ไมครอน ซึ่งเป็นขนาดที่ลงไปถึงหลอดลมฝอยและปอด

2. ความเร็วในการพ่นยา ต้องอยู่ในช่วง 02.-0.4 มิลลิเมตรต่อนาที ถ้าเร็วมากเกินไปจะทำให้เด็กได้รับยาน้อยเกินในแต่ละครั้งที่หายใจ และถ้าช้าไปจะทำให้ใช้เวลานานในการพ่น

3. ใช้ที่บ้านหรือพกพา ถ้าใช้ที่บ้าน ต้องใช้เจ๊ท เนบูไลเซอร์ หรือ เมซ เนบูไลเซอร์ ก็ได้ หากจะพกพา ต้องใช้เมซ เนบูไลเซอร์ เท่านั้น

4. ความน่าเชื่อถือของยี่ห้อของเครื่อง มีชื่อเสียงในวงการแพทย์ มีรับประกันหลังการขาย และมีศูนย์บริการในไทย

ทั้งนี้ แนะนำให้ซื้อของแท้ที่อยู่ในร้านค้าทางการเท่านั้น โดยวิธีสังเกตของปลอมคือ ราคาถูกเกินเหตุ โดยของปลอมราคาจะอยู่ที่ราว ๆ 100 – 400 บาท และไม่มีใบรับประกัน

หมอเด็ก เตือน เครื่องพ่นยาปลอม
ภาพจาก : Tatchanapong Chongcharoenyanon

อันตรายจาก ‘เครื่องพ่นยาปลอม’

เครื่องพ่นยาปลอมที่วางขายตามแอปฯ ออนไลน์ เกิน 80% ล้วนเป็นของปลอม บรรดาพ่อแม่ส่วนใหญ่กำลังใช้ของปลอม ซึ่งสินค้าปลอมเหล่านี้มีที่มาจากประเทศจีน ทำให้ตัวยาที่ออกมาก็ไม่รู้ว่าได้ขนาดที่ควรจะเป็นจริง ๆ ไหม และอาจมีปัญหาเรื่องพลาสติกที่คุณภาพไม่ดีด้วย ซึ่งจะส่งอันตรายเมื่อเด็กสูดเข้าปอดไป และเป็นไปได้ว่าอาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจรด้วย

การใช้เครื่องพ่นยาปลอม มีความเสี่ยงด้วยกัน 4 ข้อ ได้แก่

1. ละอองฝอยของยาไม่ได้ขนาด 2-5 ไมครอน ทำให้ยาลงไม่ถึงหลอดลมฝอย หรือปอด ทำให้เหมือนไม่ได้รับการรักษา

2. เครื่องตันได้ง่ายกว่าปกติ ทำให้เวลาพ่นยาใช้เวลานานมากกว่าปกติ

3. ไฟฟ้าลัดวงจร

4. พลาสติกไม่ได้คุณภาพ เกิดไอระเหยเข้าปอด

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Danita S.

นักเขียนบทความไลฟ์สไตล์ บันเทิง ประจำ Thaiger ติดตามทุกกระแส K-Pop และเท่าทันทุกเรื่องราวความบันเทิง ด้วยประสบการณ์มากกว่า 3 ปี จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ช่องทางติดต่อ bell@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button