กก.ธุรกรรม ชง ปปง. ยึดทรัพย์ ‘บิ๊กโจ๊ก’ 4.8 แสน พบเอี่ยวเว็บพนัน
คณะกรรมการธุรกรรม เสนอ คณะกรรมการปราบปรามการฟอกเงิน ยึดทรัพย์ บิ๊กโจ๊ก 4.8 แสน หลังพบว่าเงินดังกล่าวอาจเกี่ยวกับเว็บพนัน
พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทศโนโลยี (ผบช.สอท.) รองหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวนฯ ปฏิบัติราชการแทน หัวหน้าคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 493/2566 เซ็นลงนามเรื่องขอทราบมติการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ครั้งที่ 10/2567 เมื่อวันที่ 6 ส.ค.2567 และคำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม ถึงเลขาคณะกรรมการปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
ตามหนังสือที่อ้างถึง อ้างถึง (1) หนังสือของสน.ทุ่งมหาเมฆ ที่ ตช 0015(บกน5 )6(317)/4457 ลงวันที่ 3 ส.ค.2566 และ (2) หนังสือของสน.ทุ่งมหาเมฆ ที่ ตช 0015(บกน5 )6(317)/4458 ลงวันที่ 2 ต.ค.2566 ได้รายงานการดำเนินคดีในความผิดฟอกเงินและความผิดมูลฐาน กรณีนายณัฐวัตร พิมพ์สวัสดิ์ กับพวก ถูกกล่าวหาว่า “ร่วมกันจัดให้เล่นหรือทำอุบายล่อ ช่วยประกาศโฆษณา หรือชักชวนโดยทางตรงหรือทางอ้อมให้ผู้อื่นเข้าเล่น หรือเข้าพนันในการเล่นทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน, สมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงินและได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกันและร่วมกันฟอกเงิน”
ตามคดีอาญาที่ 468/2566 ของสน.ทุ่งมหาเมฆ ภายหลังได้โอนคดีให้กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1 (บก.สอท.1) เป็นผู้รับผิดชอบตามคดีอาที่ 724/2566 นั้น เรียนว่า สำนักงาน ป.ป.ช. ได้มีหนังสือถึงคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนคดีข้างต้น เพื่อไปให้ถ้อยคำพร้อมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในเรื่องที่กล่าวหาร้องเรียน พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล หรือ บิ๊กโจ๊ก เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รองผบ.ตร.) โดยเฉพาะพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดอาญาฐานฟอกเงิน และการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดฐานฟอกเงินในการนี้ จึงขอความอนุเคราะห์มายังท่านเพื่อได้โปรดขอมติที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรม
ในคราวการประชุมครั้งที่ 10/2567 เมื่อวันที่ 6 ส.ค.2567 และสรุปผลการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม เมื่อวันที่ 18 ก.ย.2566 รวมถึงคำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมที่ได้มีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับ พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล และพวก เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานประกอบการให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ล่าสุดหนังสือรายงานการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ครั้งที่ 10/2567 เมื่อวันที่ 6 ส.ค.2567 และมติกรรมการธุรกรรม ครั้งที่ 11/2567 เมื่อวันที่ 18 ก.ย. ถูกส่งต่อกันภายใน โดยมีรายละเอียดตามวาระที่ 6.1.1 (5) นายณัฐวัตร พิมพ์สวัสดิ์ กับพวก (รหัสคดี 00369/2566) รายคดีนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการธุรกรรมเพื่อพิจารณาอายัดทรัพย์สิน (เพิ่มเติม) ตามพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 สรุปได้ดังนี้
1.สืบเนื่องจากคณะกรรมการธุรกรรมในการประชุมครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 18 ต.ค.2566 มีมติมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ราย นายณัฐวัตร พิมพ์สวัสดิ์ กับพวก ในความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (9) และ มาตรา 5 แห่งพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ได้มอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ตามคำสั่ง ลับ ที่ ม.665/2566 ลงวันที่ 31 ต.ค.2566 และเคยมีคำสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราวแล้ว
2.จากการตรวจสอบพบทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด (เพิ่มเติม) จำนวน 3 รายการ ได้แก่ บัญชีธนาคารของภรรยา พล.ต.อ.สุรเชชษฐ ยอดเงินคงเหลือ จำนวน 3,083,100.61 บาท ( ณ วันที่ 22 ก.ค.2567) (อายัดเฉพาะเงินจำนวนด 3,655.73 บาท (ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2567)
เงินในบัญชีธนาคารชื่อบัญชีภรรยาของ พล.ต.อ.สุรเชชษฐ ยอดเงินคงเหลือ จำนวน 1,377.99 บาท (ณ วันที่ 17 ก.ค.2567) และ เงินในบัญชีธนาคาร ชื่อบัญชี พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ยอดเงินคงเหลือ จำนวน 550,159.02 บาท (ณ วันที่ 17 ก.ค.) (อายัดเฉพาะเงินจำนวน 500,00 บาท) รวมจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 505,033.72 บาท กรณีจึงมีเหตุ อันควรเชื่อได้ว่าอาจมีการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดดังกล่าว จึงเห็นควรนำเรื่องเสนอคณะกรรมการธุรกรรมพิจารณามีคำสั่งให้อายัด
นอกจากนี้ มีอีก 3 กรณี 1.พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักหาล ได้มีการถอนเงินสดจำนวน 2,000,000 บาท จากธนาคารชื่อบัญชี พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักหาล ปรากฏหลักฐาน ในการทำธุรกรรมดังกล่าว ในปี พ.ศ.2565
2.กรณีพล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ มอบเงินสดให้กับพ.ต.ท.คริษฐ์ จำนวน 500,000 บาทแล้วพ.ต.ท.คริษฐ์ ได้นำเงินสดจำนวนวนดังกล่าวไปเข้าบัญชีของตนเองก่อนแล้วจึงโอนไปยังบัญชีเงินฝากธนาคารบุคคลอื่นไม่ปรากฎหลักฐานในการทำธุรกรรม
3.กรณีพล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ มอบเงินสดให้กับพ.ต.ท.คริษฐ์ จำนวน 1,335,100 บาท เพื่อไปชำระเบี้ยประกัน ซึ่งพันตำรวจโทคริษฐ์ ได้นำเข้าบัญชีธนาคารกสิกรไทย ชื่อบัญชีบุคคลอื่นไม่ปรากฎหลักฐานในการทำธุรกรรม
พนักงานเจ้าหน้าที่ชี้แจงว่า ตามเอกสารประกอบระเบียบวาระ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้เสนอการธุรกรรมพิจารณาอายัดทรัพย์สิน จำนวน 3 รายการ ได้แก่ รายการที่ 10 รายการ รายการที่ 12 ซึ่งเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร ในรายการที่ 12 คือ เงินในบัญชีธนาคาร ชื่อบัญชี พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ยอดเงินคงเหลือ จำนวน 550,359,02 บาท (ณ วันที่ 17 ก.ค.2567) (เสนอคณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาอายัดเฉพาะยอดเงินจำนวน 500,000 บาท) โดย “เงินจำนวน 500,000 บาทดังกล่าว เป็นเงินที่รับโอนมาจากรายการที่ 9 เงินบัญชีธนาคารชื่อบัญชี พ.ต.อ. สุรเชษฐ์ ซึ่งทรัพย์สินรายการที่ 9 ซึ่งรับโอนเงินมูลค่าเวนคืนตามสัญญาประกันชีวิตมาจากทรัพย์สินรายการที่ 1 และรายการที่ 5 ถึงรายการที่ 8 รวมจำนวน 5 รายการ ซึ่งเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิต และเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ซึ่งได้มีการเวนคืนกรมธรรม์แล้ว โดยการเวนคืนไม่อาจคิดเป็นรายงวดแต่อย่างใด
บริษัทประกันได้โอนเงินมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ จำนวน 3,027,825.13 บาท โดยเป็นเบี้ยที่ชำระจากทรัพย์ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด จำนวน 476,318 บาท เข้าบัญชีธนาคารดังกล่าว เงินมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ จำนวน 3,027,825.1 บาท ย่อมเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ดังนั้น เงินในบัญชีธนาคารดังกล่าวจำนวน 500,000 จึงเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดด้วย” คณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาแล้วเห็นว่า ทรัพย์สินรายการที่ 12 คือ เงินในบัญชีธนาคารชื่อบัญชี พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ยอดเงินคงเหลือ จำนวน 550,159.02 บาท (ณ วันที่ 17 ก.ค.67) (พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอพิจารณาอายัดเฉพาะยอดเงินจำนวน 500,000 บาท) นั้น เห็นควรให้อายัดเฉพาะทรัพย์สินที่ได้มาในช่วงเวลาที่กระทำความผิดมูลฐานและได้นำมาชำระเบี้ยประกัน ซึ่งเป็นเงินจำนวนเพียง 476,338 บาท เท่านั้น รวมทรัพย์สินจำนวน 3 รายการ ได้แก่ รายการที่ 10 รายการที่ 11 และรายการที่ 12 เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 481,351.32 บาท
ทั้งนี้ คณะกรรมการธุรกรรมได้ตั้งข้อสังเกตว่า สืบเนื่องจากในการประชุมคณะกรรมการธุรกรรมครั้งที่ 5/2567 เมื่อวันที่ 1 พ.ค.2567 พนักงานเจ้าหน้าที่ได้เสนอคณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาทรัพย์สินของ พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ และภรรยา รวมจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 1,793,649 บาท จนกระทั่ง พนักงานเจ้าหน้าที่ได้เสนอคณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาอายัดทรัพย์สินของพล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล และภรรยา ในการประชุม ครั้งที่ 1 วันที่ 6 ส.ค.2567 มีทรัพย์สินคงเหลือให้ดำเนินการได้เพียงจำนวนประมาณ 481,351.72 บาท พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ และภรรยา รู้อยู่แล้วว่าสำนักงาน ปปง. อยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเพื่อให้ตกเป็นของแผ่นดิน เมื่อครั้งที่พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ ได้มีหนังสือมาร้องขอความเป็นธรรม ตั้งแต่วันที่ 23 เม.ย.2567 ซึ่งต่อมาในวันที่ 24 เม.ย.2567 พล.ต.อ.สุรชเชษฐ์ และภรรยา ก็ได้มีการเวนคืนกรมธรรม์ ได้เงินมา และได้มีการโอนออกไปและถอนเป็นเงินสด โดยละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบรายงานการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม 10/2567 เมื่อวันที่ 6 ส.ค. วาระที่ 6.6.1 (5)
มติกรรมการธุรกรรม โดยคณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาแล้ว กรณีนี้นี้ปรากฎข้อเท็จจริงว่ามีการนำเงินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานไปชำระเบี้ยประกันบางส่วนตามสัญญาประกันชีวิตของ พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ และภริยา และต่อมาผู้เอาประกันได้เวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิต ดังนั้น จึงจากการเวนคืนกรมธรรม์ดังกล่าวบางส่วนนั้น เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และกรณีมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่านายณัฐวัตร พิมพ์สวัสดิ์ กับพวก ซึ่งมีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน โดยเป็นการจัดให้มีการเล่นการพนันทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อันเข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (9) และมีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดฐานฟอกเงินตามมาตรา 5 แห่งพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 หรือเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน และกรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่านายณัฐวัตร พิมพ์สวัสดิ์ กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และอาจมีการโอนจำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ดังนั้น จึงมีมติอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด จำนวน 3 รายการ ได้แก่
1.เงินในบัญชีธนาคาร ชื่อบัญชี ภรรยา พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ ยอดเงินคงเหลือ จำนวน 3,083,100.61 บาท (ณ วันที่ 22 ก.ค.2567) (อายัดเฉพาะเงินจำนวน 3,655.73 บาท (ณ วันที่ 17 มิ.ย.2567) 2.เงินในบัญชีธนาคารชื่อบัญชี ภรรยา ยอดเงินคงเหลือ จำนวน 1,377.99บาท (ณ วันที่ 17ก.ค.2567) และ 3.เงินในบัญชีธนาคาร ของพล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ ยอดเงินคงเหลือ จำนวน 550,159.02 บาท (ณ วันที่ 17 ก.ค.2567) (อายัดเฉพาะเงินจำนวน 476,318 บาท) จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 481,351.72 บาท พร้อมดอกผล ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอไว้ชั่วคราว (เพิ่มเติม) มีกำหนดไม่เกิน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการธุรกรรมมีมติ กล่าวคือ นับตั้งแต่วันที่ 6 ส.ค.2567 ถึงวันที่ 3 พ.ย.2567 ตามมาตรา 34 (3) และมาตรา 48 วรรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปราม 2542
ทั้งนี้ ให้รวมถึงเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการจำหน่าย จ่าย โอนด้วยประการใดๆ ตลอดจนสิทธิเรียกร้องหรือผลประโยชน์ หรือดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าว และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ต่อไปด้วย ทั้งนี้ เห็นควรมอบหมายให้สำนักงาน ปปง. รับไปพิจารณาว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายเป็นความผิด ต่อพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 หรือไม่ อย่างไร และรายงานให้คณะกรรมการธุรกรรมทราบต่อไป อนึ่ง คณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาให้การรับรองมติ โดยไม่ต้องรอการรับรองรายงานการประชุม
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ศาลยกฟ้อง ‘บิ๊กเต่า’ คดีหมิ่นประมาท ‘บิ๊กโจ๊ก’ จวกทรยศตำรวจแห่งชาติ
- ลูกน้องบิ๊กโจ๊ก เปิดบัญชีโยงเส้นทางการเงินเว็บพนัน มีบิ๊กตำรวจเพียบ
- ชีวิตใหม่ “บิ๊กโจ๊ก” หลังพ้นรองผบ.ตร. “ตั้ม” เล่าคุยกัน 10 วันก่อนเป็นไง