ข่าวการเมือง

เปิดชื่อ 40 ประเทศรับรอง “สมรสเท่าเทียม” ไทยเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย

หนึ่งในสิทธิขั้นพื้นฐานที่เราสามารถเลือกเองได้คือ สิทธิที่จะเลือกคู่ชีวิตของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเพศสภาพใดก็ตาม ขณะนี้ มีการเปิดรับ LGBTQIA+ หรือกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น ส่งผลให้ต้องมีกฎหมายสมรสเท่าเทียมเพื่อรองรับสิทธิที่กลุ่มคนเหล่านี้ควรจะได้รับ เฉกเช่นเดียวกับคู่รักเพศเดียวกัน

ปัจจุบันมีหลายประเทศทั่วโลกที่มีกฎหมายรับรองการสมรสเท่าเทียม รวมทั้งสิ้น 37 ประเทศ แบ่งเป็นทวีปยุโรป 21 ประเทศ ตามด้วยทวีปอเมริกา 11 ประเทศ ทวีปโอเชียเนีย 2 ประเทศ ทวีปเอเชียจำนวน 2 ประเทศ และทวีปแอฟริกา 1 ประเทศคือ แอฟริกาใต้

1. เนเธอร์แลนด์

2. เบลเยียม

3. สเปน

4. แคนาดา

5. แอฟริกาใต้

6. นอร์เวย์

7. สวีเดน

8. โปรตุเกส

9. ไอซ์แลนด์

10. อาร์เจนตินา

11. เดนมาร์ก

12. บราซิล

13. ฝรั่งเศส

14. อุรุกวัย

15. นิวซีแลนด์

16. สหราชอาณาจักร

17. ลักเซมเบิร์ก

18. สหรัฐอเมริกา

19. ไอร์แลนด์

20. โคลอมเบีย

21. ฟินแลนด์

22. มอลตา

23. เยอรมนี

24. ออสเตรเลีย

25. ออสเตรีย

26. ไต้หวัน

27. เอกวาดอร์

28. คอสตาริกา

29. ชิลี

30. สวิตเซอร์แลนด์

31. สโลวีเนีย

32. คิวบา

33. เม็กซิโก

34. อันดอร์รา

35. มอนเตเนโกร

36. เอสโตเนีย

37. สาธารณรัฐเช็ก

38. เนปาล

39. นอร์เวย์

ทั้งนี้ ในบางประเทศอาจมีกฎหมายที่อนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันจดทะเบียนเป็นคู่ชีวิต (civil union) หรือหุ้นส่วนที่จดทะเบียน (registered partnership) ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ใกล้เคียงกับการสมรส แต่ไม่ได้ใช้คำว่า “สมรส”

กฎหมายสมรสเท่าเทียมนั้น มีจุดประสงค์เพื่อให้กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายตามหลักสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการหมั้นหมาย การจดทะเบียนสมรส การจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส การเป็นผู้จัดการแทนในทางอาญาเช่นเดียวกับคู่สมรส การรับมรดกเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิต การรับบุตรบุญธรรม และการรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม

รวมถึงได้รับสิทธิประโยชน์ในการเบิกจ่ายสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส เช่น การรับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคม และการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล รวมถึงสิทธิอื่น ๆ ทางกฎหมายที่รับรองสิทธิของคู่สมรส

ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 กฎหมายสมรสเท่าเทียมของประเทศไทยถูกบรรจุในระเบียบวาระการประชุมวุฒิสภาสมัยวิสามัญ โดยมีมติเอกฉันท์เห็นชอบร่างกฎหมายดังกล่าวแล้ว โดยผ่านวาระสุดท้ายในสภาด้วยจำนวนเสียงเห็นชอบ 130 คะแนนเสียง ไม่เห็นด้วย 4 คะแนนเสียง และงดออกเสียงอีก 18 คะแนนเสียง จากจำนวนผู้ลงมติทั้งหมด 152 คะแนนเสียง

หลังจากร่างฉบับนี้ผ่านวาระสุดท้ายในสภาแล้วจะถูกส่งไปยังคณะรัฐมนตรี เพื่อให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ในลำดับต่อไป หากร่างฉบับนี้ได้รับความเห็นชอบ จะมีผลบังคับใช้หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 120 วัน ในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม 2567

ทั้งนี้ หากกฎหมายสมรสเท่าเทียมถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประเทศไทยจะถือเป็นประเทศลำดับที่ 40 ของโลก ที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม รวมถึงเป็นประเทศอันดับที่ 3 ในเอเชียรองจาก อันดับแรกคือ ประเทศเนปาล และลำดับที่สอง คือ ไต้หวัน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

sukanlaya s.

นักเขียนบทความ SEO ประจำเว็บไซต์ The Thaiger จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชี่ยวชาญงานเขียนประเภท ข่าวกระแสสังคม และบทความไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็น รีวิวที่เที่ยว เทรนด์แฟชั่นและความงาม พร้อมแนะนำกระแสมาแรง ทันเหตุการณ์ ช่องทางติดต่อ ying@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button