นิค Wildlife ไขกระจ่าง งูเหลือมอินโดเขมือบสาว เผยความต่างงูไทย
นิค Wildlife ตอบแล้ว กรณีงูเหลือมยักษ์เขมือบสาวอินโด เผย นิสัยงูอินโด ไม่คุ้นชินกับคน ทำให้อาจทำอันตรายได้มากกว่างูไทย พร้อมไขปัญหาการกำจัดงู เพื่อลดเหตุการณ์งูกินคน เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
สืบเนื่องจาก เว็บไซต์ต่างประเทศนำเสนอข่าว คุณแม่ลูกสี่หายตัวไปจากบ้าน สามีออกตามหา สุดท้ายพบว่าถูกงูเหลือมขนาดกว่า 6 ฟุต กลืนข้าไปทั้งร่าง จนชาวบ้านต้องใช้มีดผ่าท้องเผื่อนำร่างออกมา ถือเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความตื่นตระหนกให้กับคนในหมู่บ้านเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่พบว่ามีงูยักษ์กินคน
หลังเกิดเหตุการณ์สยองที่ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 10 มิถุนายนที่ผ่านมา ‘นิค นิรุทธ์’ เจ้าของเพจเฟซบุ๊ก Wildlife มีผู้ติดตามกว่า 1.2 ล้านคน ออกมาพูดถึงประเด็นนี้ว่า มนุษย์มักจะกังวลว่า งูเหลือมจะเข้ามาทำร้ายคน แต่ความจริงลักษณะนิสัยทั่วไปของสัตว์จำพวกนี้ไม่ได้ต้องการทำอันตรายต่อมนุษย์ หากต้องเผชิญหน้ากัน งูมักจะหลบหาที่ซ่อน การที่งูจะทำร้ายคนก็ต่อเมื่อรู้สึกว่ากำลังมีอันตรายเข้ามาถึงตัวเท่านั้น
อาจจะแตกต่างจากที่อินโดนีเซียคือ งูที่นั่นมีขนาดใหญ่กว่าที่ไทย รวมถึงงูมักจะอาศัยอยู่ในธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ทำให้งูไม่คุ้นชินกับมนุษย์มากนัก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้งูในประเทศอินโดนีเซียมองว่า มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ และมองว่าถ้ามนุษย์มีขนาดเล็กกว่าตัวมัน ก็สามารถกินเป็นอาหาร ตามกฏของธรรมชาติที่ว่า สัตว์ใหญ่กินสัตว์เล็กนั่นเอง
นอกจากนี้ นิค ยังมองว่างูอินโดนีเซีย และงูไทยมีความต่างกัน เหตุมาจากถิ่นที่อยู่ต่างกัน โดยงูไทยใกล้ชิดกับคนมากกว่า ทำให้คุ้นชินและไม่ทำร้ายคน ต่างจากงูอินโดมักจะอาศัยอยู่ในป่า ไม่คุ้นชินกับคน และมีโอกาสเข้ามาทำร้ายคนได้สูงกว่า
ลักษณะนิสัยงูไทย
งูเหลือม (Python reticulatus) ในประเทศไทยคุ้นเคยกับมนุษย์ตั้งแต่เล็ก ๆ และเมื่อเห็นว่ามนุษย์มีขนาดตัวที่ใหญ่กว่า ทำให้มันรู้สึกว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่เป็นภัยคุกคามสำหรับพวกมัน และไม่ได้มองว่าเราคืออาหาร แต่จะมองว่าเราคือผู้ล่า
ลักษณะนิสัยงูเหลือมโดยทั่วไปแล้ว ต่อให้มีขนาดตัวใหญ่ขนาดไหนจะเคลื่อนไหวได้ช้ามาก และเมื่อเราเข้าไปใกล้ งูก็ไม่อยากจะยุ่งกับเรา เพราะการเคลื่อนที่แต่ละครั้งต้องใช้พลังงานมาก รวมถึงมีความเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับบาดเจ็บ
หากเกิดกรณีที่งูเหลือมเข้ามาทำอันตราย เช่น เข้ามากินหมา หรือแมวที่เลี้ยงไว้ ต้องเรียกเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญมาจับ เพราะงูเหลือมเป็นสัตว์คุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2564 ดังนั้น เมื่อจับแล้วเจ้าหน้าที่จะส่งมอบให้กรมอุทยานพิจารณาต่อไปว่าจะนำไปดูแลในสถานที่กักกัน หรือปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
การฆ่างู วิธีแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ
จากเหตุการณ์ที่น่าสะพรึงกลัวหลายครั้ง ที่เราเห็นข่าวงูกินคนจนทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวสัตว์มีพิษชนิดนี้ มีผู้ตั้งคำถามว่าหากเรากลัวภัยที่มาจาก ทำไมเราจึงไม่กำจัดงูไปซะให้สิ้นซาก
นิค ได้ออกมาตอบคำถามประเด็นนี้ว่า กรณีที่เราจับงูได้เอง แล้วนำไปปล่อยในธรรมชาติ งูจะเพาะพันธุ์ออกลูกมากขึ้น หากต้องการจะฆ่างูสามารถทำได้หรือไม่ นิค คลายข้อสงสัยว่า การที่งูจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นหรือลดลงนั้้น ขึ้นอยู่กับที่แหล่งอาศัย ไม่ใช่การลดจำนวนจากการฆ่าทิ้ง หากฆ่างูทิ้ง แล้วยังมีถิ่นอาศัยอยู่อีก เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพระางูจะไม่ลดจำนวนลงเลย
นอกจากนี้ ยังให้เหตุผลสำคัญไว้อีกว่า การลดจำนวนงูส่งผลเสียโดยตรงต่อมนุษย์ เพราะพิษงูบางชนิ สามารถนำมาทำเป็นยารักษาโรคให้มนูษย์ได้ ถ้าลดจำนวนงูลด ถือเป็นการลดการรักษาชีวิตคนไปด้วย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- คลิปสยอง หญิงอินโดถูกงูเหลือมยักษ์เขมือบทั้งเป็น ชาวบ้านเร่งนำร่างออกจากท้อง
- ผปค.แชร์อุทาหรณ์ เพื่อนลูกถูกงูเห่ากัดเสียชีวิต ถามชาวเน็ต ทำไมไม่รอด
- ครั้งแรกในชีวิต งูออกลูกในบ้าน เลื้อยยั้วเยี้ยเต็มพื้น เลขที่บ้านมาแน่งวดนี้